กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยผลการจดทะเบียนธุรกิจ ประจำเดือนธันวาคม 2562 / ประจำปี 2562 สำหรับ ธุรกิจจัดตั้งใหม่ ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ธ.ค. 62 มีจำนวน 71,485 ราย มีมูลค่าทุน จดทะเบียน 327,464 ล้านบาท ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร ตามลำดับ
นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนธันวาคม 2562 และประจำปี 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• ธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนธันวาคม 2562 จำนวน 3,158 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 21,451 ล้านบาท
• ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 287 ราย คิดเป็น ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 236 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร /ร้านอาหาร จำนวน 104 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
• ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 2,048 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.85 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,021 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.33 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.00 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.82 ตามลำดับ
• ธุรกิจจัดตั้งใหม่ ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ธ.ค. 62 มีจำนวน 71,485 ราย มีมูลค่าทุน จดทะเบียน 327,464 ล้านบาท
• ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 6,436 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 4,170 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 2,113 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
• ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 51,239 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.68 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 18,912 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.45 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 1,127 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.58 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 207 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.29 ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนธันวาคม
• ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนธันวาคมมีธุรกิจเลิกประกอบกิจการจำนวน 5,666 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 21,729 ล้านบาท
• ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 496 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 296 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
• ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 3,973 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.12 รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 1,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.08 ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 251 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.43 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.37 ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการประจำปี 2562• ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ธุรกิจเลิกประกอบกิจการสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ธ.ค. 62 มีจำนวน 22,129 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 112,097 ล้านบาท
• ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 2,052 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,311 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 574 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
• ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 15,478 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.89 รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 5,534 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.98 ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 1,020 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.67 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.46 ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนธันวาคม
• ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน746,298 ราย มูลค่าทุน 18.37 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 183,953 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.65 บริษัทจำกัด จำนวน 561,087 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.18 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,258 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17 ตามลำดับ
• ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 440,315 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.00 รวมมูลค่าทุน 0.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.12 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 219,519 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.42 รวมมูลค่าทุน 0.72 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.92 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 70,919 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.50 รวมมูลค่าทุน 1.93 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.51 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,545 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.08 รวมมูลค่าทุน 15.33 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.45 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจย้อนหลัง (2559-2562) พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.52% รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยประมาณจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในปี 2563 ที่ 71,000 – 73,000 ราย แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ตลอดทั้งปีด้วยไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในปี 2563
• เดือนธันวาคม 2562 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 47 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจำนวน 24 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจจำนวน 23 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,512 ล้านบาท
• นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 10 ราย เงินลงทุน 252 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 8 ราย เงินลงทุน 173 ล้านบาท และเนเธอร์แลนด์ 4 ราย เงินลงทุน 139 ล้านบาท
• เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 608 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 192,341 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 72,247 ล้านบาท (60%) เนื่องจากใน ปี 62 มีต่างชาติลงทุนประกอบธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง อาทิ บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการออกแบบทางวิศวกรรมและบริหารจัดการโครงการรื้อถอนแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเล บริการออกแบบติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ และบริหารจัดการโครงการประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง บริการออกแบบ ติดตั้ง ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิศวกรรม และการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้า เป็นต้น
e-Secured จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือผ่านระบบ mobile application (iOs และAndroid) บนสมาร์ทโฟน
โดยระหว่าง 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 473,689 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 7,566,956 ล้านบาท มีการทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
สำหรับเดือนธันวาคม 2562 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 8,353 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 121,982 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง คิดเป็นร้อยละ 55.95 (มูลค่า 68,250 ล้านบาท) รองลงมาคือ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 43.81 (มูลค่า 53,444 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.21 (มูลค่า 258 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.02 (มูลค่า 29 ล้านบาท) และ ไม้ยืนต้น เป็นประเภทไม้ยางพารา คิดเป็นร้อยละ 0.0002 (มูลค่า 220,000 บาท) และมีผู้รับหลักประกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 230 ราย
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *SMEs manager