xs
xsm
sm
md
lg

สกสว.เผยโรดแมปวิจัยบริหารจัดการน้ำสู้ภัยแล้งปี 63

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.
รายงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ถึงการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 คาดว่ามีจังหวัดได้รับผลกระทบ 43 จังหวัด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยล่าสุดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 16 จังหวัด ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งขึ้น เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค




สกสว.ได้สนับสนุน “การจัดทำโรดแมปการวิจัยประเด็นวิจัยยุทธศาสตร์ เรื่อง การจัดการน้ำเพื่อรองรับยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ” โดย ผศ.ดร.สุภัทรา วิเศษศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ ที่ศึกษา รวบรวมข้อมูล 1. ภาพรวมของประเด็นการวิจัยในระดับโลก ทั่วโลก 2. ภาพรวมของประเด็นการวิจัยในระดับชาติ ได้แก่ การจัดการน้ำเพื่อชุมชน บทบาทการจัดการน้ำในเขตเมือง การจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาและการเพิ่มผลิตภาพของการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม การจัดระบบการจัดการน้ำในภาวะวิกฤต การจัดการบริหารน้ำเชิงลุ่มน้ำอย่างมีธรรมาภิบาล 3. สถานการณ์น้ำในประเทศไทย สรุปการใช้น้ำโดยรวม การจัดหาน้ำ ความต้องการใช้น้ำ ภัยพิบัติทางน้ำ และคุณภาพน้ำ 4. ข้อเสนอแนะต่องานวิจัยด้านน้ำที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เช่น การศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น) ของพื้นที่ป่าต่อปริมาณน้ำท่าและตะกอน เป็นต้น


สกสว. และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) งานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคมแผนงานการบริหารจัดการน้ำสำนักประสานงานวิจัยการจัดการน้ำเชิงยุทธศาสตร์ ที่มี รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีกรอบวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ : กรอบการพัฒนาระยะยาว (.. 2560-2579) ที่ตอบโจทย์ประเทศ 3 กลุ่ม1. พัฒนาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี เพื่อให้เกิดความสมดุล ลดความขัดแย้ง พัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม ศึกษาศักยภาพในการเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และสระแก้ว 2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานภาคกลางตอนบน ทั้งการบริหารเขื่อน การใช้น้ำอุปโภคบริโภค เกณฑ์ควบคุมการปล่อยน้ำเขื่อน การพัฒนาระบบการส่งน้ำ การกระจายน้ำ ติดตั้งเซ็นเซอร์ในระบบชลประทานเพื่อโยงเข้ากับศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ และติดตั้งเซ็นเซอร์ในแปลงนา การเชื่อมโยงระบบข้อมูลน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเพื่อจัดการน้ำร่วมกันระหว่างน้ำบาดาลกับน้ำผิวดิน 3.กา รบริหารจัดการน้ำแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี การพัฒนาเซ็นเซอร์และระบบน้ำอัจฉริยะเพื่อการชลประทาน การส่งข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการจัดการน้ำอัจฉริยะ และการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อสร้างวัฒนธรรมรักษ์น้ำเพื่อการประหยัดน้ำ


ทั้งนี้ พบว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ควรปรับพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยมีเป้าหมายที่จะลดค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้น้ำลดลงร้อยละ 15 และปริมาณน้ำที่นำไปใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85 ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยนำร่องในพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และโครงการท่อส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง สำนักชลประทานที่ 4 จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้งานวิจัยการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์และเทคโนโลยีอัจฉริยะเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวให้ข้อมูลในการประชุมหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม หรือพีเอ็มยู ครั้งล่าสุดว่า ภัยแล้งถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในปี 2563 หลังจากนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ถือเป็นหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม หรือพีเอ็มยู ที่เป็นเจ้าภาพบริหารจัดการทุนวิจัยประเด็น “บริหารจัดการน้ำ” โดยต้องเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหลายๆ หน่วยงาน เพื่อเชื่อมปลั๊กการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
www.facebook.com/SMEs.manager">


SMEs manager




กำลังโหลดความคิดเห็น