xs
xsm
sm
md
lg

GET สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทย ด้านร้านอาหารกลุ่มมิลเลนเนียม ชี้ ยอดสั่งเดลิเวอรี่พุ่ง 80% หลังธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่แข่งเดือด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก GET (เก็ท) แอพพลิเคชั่นให้บริการเรียกรถ ส่งของ และบริการอื่นๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากการที่มีร้านอาหารจากทั่วกรุงเทพฯ เข้าร่วม เป็นจำนวนมาก และ การสร้างอาชีพให้กับคนไทยในการส่งอาหาร จำนวนมากเช่นกัน และที่สำคัญ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทย ให้หันมาสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่จนดันยอดขาย ร้านอาหารที่เข้าร่วม เก็ทยอดขายพุ่ง 80%

สำหรับเก็ท (GET) แอพพลิเคชั่น เรียกรถ ส่งของและบริการอื่นๆ เป็นแอพพลิเคชั่นของ ประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาเปิดในประเทศไทยโดย ทีมงานที่ก่อตั้งขึ้นเป็นคนไทย และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระดับโลกจาก โกเจ็ก (GO-JEK) ซึ่ง “เก็ท” เริ่มต้นด้วยการให้บริการเรียกรถวินมอเตอร์ไซค์ และบริการรับส่งของ ก่อนจะขยายไปสู่บริการอื่นๆ ที่เหมาะกับความต้องการและไลฟสไตล์ของคนเมือง

ทั้งนี้ จุดขายของเก็ท คือ โมเดลธุรกิจในช่วงเริ่มเปิดตัว ครั้งแรก เปิดตัวด้วยยอดค่าธรรมเนียม ที่เรียกเก็บจากร้านอาหารในสัดส่วนที่จูงใจร้านอาหารเหล่านั้น ประกอบกับ เก็ท ยังได้ลบภาพค่าบริการจัดส่งที่แสนแพง ด้วยค่าจัดส่งเริ่มต้นเพียง 10 บาท สำหรับพื้นที่การให้บริการ 5 กิโลเมตร ทำให้คนที่ไม่เคยใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ยังต้องหันกลับมามอง และกลายเป็นลูกค้าของเก็ทไปในที่สุด ซึ่งด้วยค่าจัดส่งที่ถูกมาก ทำให้แอพพลิชั่นของเก็ท มียอดผู้เข้าใช้บริการครบ 1 ล้านทริป ภายในระยะเพียงไม่กี่ เดือน และได้ขึ้นเป็นแอพพลิเคชั่น สั่งอาหารอันดับต้นๆของคนกรุงเทพฯ




วิเคราะห์พฤติกรรมคนไทย ช่วยเอสเอ็มอีพัฒนาร้านค้า

นางสาววงศ์ทิพพา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการฝ่ายแพลตฟอร์โอเปอเรชั่น GET กล่าวว่า ในขณะนี้ GET FOOD ดำเนินกิจการมาได้ 9 เดือน มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านอาหาร ที่สนใจเข้าร่วมกับ GET มากกว่า 20,000 ร้านค้า ทั่วกรุงเทพฯ และมีพนักงานที่ให้บริการส่งอาหารกว่า 30,000 คน โดยพื้นที่การให้บริการอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก และมีแผนที่จะขยายพื้นที่การให้บริการออกไปยังตลาดต่างจังหวัดในเร็วๆ นี้

สำหรับ กลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ คนที่อยู่ในกลุ่มระหว่าง GEN Z และ GEN Y ช่วงอายุระหว่าง 23-38 ปี และเป็นกลุ่มที่เติบโตมาในช่วงของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ที่ครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น และในขณะที่ครอบครัวขยายลดลง และที่สำคัญ คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทย เปลี่ยนไป โดยจากเก็บข้อมุูลพฤติกรรมการใช้ของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาช่วยให้ร้านค้าสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้ตอบโจทย์ และตรงใจคนสั่งอาหาร

จากการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า หลังจากเปิดมาได้ 9 เดือน พบว่าคนส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมสั่งอาหารแบบ Order for One หรือ สั่งรับประทานคนเดียว โดยสั่งแค่ 1 หรือ 2 เมนูต่อหนึ่งออเดอร์ ซึ่งเป็นผลมาจาก คนโสดเพิ่มมากขึ้น และ ครอบครัวเดี่ยวมีจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงชอบสั่งเดลิเวอรี่ มากกว่า ผู้ชาย ในขณะที่มื้ออาหารที่คนนิยมสั่งมากที่สุด คือ มื้อเย็น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ช่วยให้ร้านอาหารสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า กลุ่มนี้ได้มากขึ้น


นอกจากนี้ ใน หนึ่งเดือนที่ผ่านมา พบว่า GET มียอดสั่งชานมไข่มุก กว่า 3 แสนแก้ว ซึ่งตอกย้ำกระแสชานมไข่มุกที่ยังแรงไม่ตก ในขณะเดียวกัน นอกจากมื้ออาหารหลัก และเครื่องดื่มแล้ว คนกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมการสั่งอาหารตลอดทั้งวัน โดยมีการสั่งอาหารว่างทั้งมื้อเช้า มื้อบ่าย และมื้อดึก คิดเป็นยอดประมาณ 28% ของยอดสั่งตลอดวัน เช่น ขนมปังไส้ต่างๆ ที่เป็นของกินเล่นนั้น มียอดขายต่อเดือนกว่า 190,000 ชิ้นในเดือนตุลาคม





เปิดมุมมองผปก.กลุ่มมิลเลนเนียล
พูดถึงการเป็นพาร์ทเนอร์กับ GET

นางสาวนปภัสสร ต่อเทียนชัย (อายุ 26 ปี) จากร้าน Veganerie เล่าว่า เป็นร้านอาหารVegan เพื่อสุขภาพ ที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ โดยเมนูของทางร้าน ประกอบด้วย เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และอาหารทั่วไป ซึ่งหลังจากเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย จากเดิมมีเพียงสาขาเดียว ตอนนี้ เปิดถึง 5 สาขา และบวกกับการที่มีธุรกิจเดลิเวอรี่ เข้ามาก็ช่วยตอบโจทย์คนเมืองได้มาก ทำให้คนสามารถสั่งอาหารของเราได้ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้เรามีลูกค้าที่มากขึ้น ซึ่งหลังจากร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง GET ยอดขายของเราเพิ่มแบบก้าวกระโดด

นายอรรณพ จันทร์น้อย (อายุ 28 ปี) จากร้านวัวล้วน ๆ ไม่มีความผสม เล่าว่า เป็นร้านเครื่องดื่มที่มีส่วนของนมวัว เป็นหลัก เจาะกลุ่มมิลเลนเนียมโดยเฉพาะ และหลังจากมีบริการธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ช่วยเพิ่มยอดขายของเราได้มาก โดยเฉพาะในเมืองสำคัญ และในช่วงที่เราออกสินค้าใหม่ แอพพลิเคชั่นของเก็ท ช่วยได้มาก เพราะอาศัยการร่วมจัดโปรโมชั่นกับทาง เก็ท ช่วยเพิ่มยอดขายได้มากถึง 10 เท่า และทำให้เมนูเครื่องดื่มตัวใหม่ ที่เราคิดว่า ไม่น่าจะแจ้งเกิดได้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจ ก็สามารถแจ้งเกิดได้

นายพรภวิศย์ อบสุวรรณ (อายุ 29 ปี) จากร้านปังเด็ด เล่าว่า เป็นร้านขนมปังไส้เยิ้มกรอบนอกนุ่มใน ซึ่งจุดขายของเราคือ รสชาติที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง ตอนนี้ปังเด็ด เรามี 4 สาขา ซึ่งการเกิดขึ้นของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เป็นโชคดีที่เราเกิดมาในช่วงเริ่มธุรกิจ มีบริการฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามา ทำให้ร้านเล็กๆ ของเรามียอดขายมากขึ้น เพิ่มจากการขายหน้าร้าน โดยเฉพาะที่ขายกับทางGET มียอดเดือนละหลักล้านบาท


นายธีรนัย จินดานุภาจิตต์ (อายุ 26 ปี
) จากร้านติดลมหมูทอดปลาร้า เล่าว่า เดิมทำร้านข้าวต้ม แต่หลังจากเทรนด์ของ ฟู้ดเดลิเวอรี่ กำลังเริ่มโต เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ผมมองว่า เทรนด์ อาหารเดลิเวอรี่จะต้องมาแรง ผมตัดสินใจ เปิดร้านติดลมหมูทอดปลาร้า และเน้นขายแบบเดลิเวอรี่ 80% ปัจจุบัน สามารถสร้างแฟรนไชส์ได้ถึง 12 สาขา และบางสาขา อย่างสาขาลาดพร้าว ที่มีวิกฤต จากการสร้างรถไฟฟ้า ทำให้เกิดการจราจรที่ติดขัด ยิ่งเสริมให้ ยอดขายพุ่งไปถึงเดือนละ 9 แสนบาท ต่อสาขา และ จากการที่เข้าร่วมกับ GET และธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ครั้งนี้ ช่วยดันยอดขายของเราเพิ่มขึ้นมากถึง 50%



นางสาววงศ์ทิพพา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการฝ่ายแพลตฟอร์โอเปอเรชั่น GET
ผอ.ฝ่ายแพลตฟอร์มโอเปอเรชั่น กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียม เป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน และมีกำลังซื้อ ในขณะเดียวกัน ก็มีไลฟสไตล์ที่ใช้เวลากับการออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น การสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ จึงเข้ามตอบโจทย์ของคนกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคนในกลุ่มวัยอื่นที่ถือเป็น Early Adopter ที่หันมาใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย เช่นกัน จึงถือเป็นโอกาสของผุ้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ ทีหันมาใช้ประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจนี้ในการช่วยเพิ่มยอดขายของตนเอง





การแข่งขันธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่

สำหรับการแข่งขัน ในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เวอรี่ ปัจจุบัน มีการแข่งขันกันดุเดือด รายหลักในขณะนี้ ประกอบด้วย Grab Food ส่วน Line Man , Food Panda เปิดตัวในประเทศไทย ปี 2012 ก่อตั้งโดย Lazada และ Ensogo ประเทศเยอรมันนี และ ต่อมาในปี 2016 ขายกิจการให้ กับ Delivery Hero ร้านค้าที่เข้าร่วมประมาณ 1,000 แห่ง โดยค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 40 บาท

นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิชั่นเคชั่น ที่ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่เกิดใหม่อีก หลายราย ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น Now Food Delivery เปิดตัวปี 2018 คิดค่าบริการขนส่งที่ราคาเริ่มต้น 10 บาท เช่นกัน Happy Fresh เป็นแอพพลิเคชั่น ที่ส่งอาหารจากซุปเปอมาร์เก็ต เป็นหลัก แต่ปัจจุบันขยายการให้บริการมาส่งอาหาร จากร้านอาหารในกรุงเทพฯ ค่าบริการจัดส่งเริ่มต้นที่ 60 บาท และรายนี้น่าสนใจ เพราะเป็นสตาร์ทอัพคนไทย ชื่อว่า SKOOTAR Beyond เกิดขึ้นในปี 2014 ได้รับรางวัลการันตีหลายรางวัล และยังได้ทุนสนับสนุนจากกองทุนร่วมทุนระดับโลก 500Startups และ Galaxy Ventures มีการเชื่อมโยงเครือข่ายแมสเซนเจอร์รายใหญ่หลายราย ส่วนค่าบริการจัดส่งเริ่มต้นที่ 70 บาท


ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้เปิดเผยข้อมูลแอพพลิเคชั่นสั่งอาหาร (Food Delivery Application) มีผลทำให้ธุรกิจฟู้ด เดลิเวอรี่ เติบโต 10% ในช่วงปี 2557-2561 ส่วนธุรกิจร้านอาหาร มีการขยายตัว 3.4% โดยในปี 2562 ธุรกิจจัดส่งอาหารจะมีมูลค่ารวม 30,000-35,000 ล้านบาท เติบโต 14% จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 8% ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารไทย ประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท ในปี 2562 ทั้งนี้แอพพลิเคชั่นสั่งอาหารที่มีการเติบโตมีผลให้ธุรกิจร้านอาหารของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กขยายตัวดีตามไปด้วย






* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *

SMEs manager



กำลังโหลดความคิดเห็น