เมื่อธนาคารพลิกบทบาท ก้าวออกจากสถานะของการเป็นเพียงผู้ให้บริการทางด้านการเงิน ออกมาเป็น “โค้ช” ผู้ช่วยเหลือให้ SME ก้าวหน้า เติบโต และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในกระแสธุรกิจอันเชี่ยวกราก อะไรจะเกิดขึ้น?
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าในกระแสธุรกิจทั้งภายในและภายนอกที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถที่จะเป็นเพียงผู้ให้บริการด้านการเงินได้อีกต่อไป แต่ยังต้องเพิ่มการสนับสนุนธุรกิจ ทั้งในเชิงให้ความสนับสนุนองค์ความรู้ ต่อยอดไอเดียธุรกิจ ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ รวมไปถึง การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) อีกด้วย
ปัจจุบันกิจการประเภท SME ของไทย มีจำนวนกว่า 2 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 95 ของธุรกิจที่มีทั้งหมด ทั้งยังมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 50 ของธุรกิจทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง SME จึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาคของทั้งประเทศ*
อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรของ SMEs ทั้งในจำนวนบุคลากร เงินทุน และเครือข่าย ทำให้ K SME โดยธนาคารกสิกรไทย เล็งเห็นโอกาส ในการเข้าช่วยเหลือและเชื่อมโยงบรรดาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมหาศาลเข้าด้วยกัน ให้กลายเป็นเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็ง ด้วยแนวคิด และความเชื่อมั่นที่ว่า ในการทำธุรกิจไม่มีใครที่จะสามารถอยู่ได้เพียงลำพัง การมีเครือข่ายจะช่วยเหลือและเกื้อหนุนกันให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในเบื้องหน้า คนส่วนใหญ่อาจเคยเห็นรายการ SME ตีแตก รายการเกมโชว์ธุรกิจ ที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME ไทย, นิตยสาร K SME Inspired หรือ SME Webinar สัมมนาออนไลน์ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจยุคใหม่ สำหรับเอสเอ็มอีหรือผู้สนใจ ขณะที่ในเบื้องหลัง ทีมงาน K SME ยังเป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจของลูกค้าให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และก้าวหน้าไปไกลได้กว่าที่คาด อย่างเช่น การให้คำปรึกษารายธุรกิจ (One–on–One) จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ช่วยปรับปรุงและให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และ การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเพิ่มยอดขายและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการขายขนาดใหญ่ รวมถึงการเพิ่มคู่ค้าใหม่ให้กับธุรกิจ SME ทั้งในเชิงการจับคู่เอสเอ็มอีกับช่องทางการจัดจำหน่าย และการจับคู่ธุรกิจระหว่างเอสเอ็มอีด้วยกันเอง โดยมีธุรกิจที่เข้าร่วมและสร้างปาฏิหาริย์ทางธุรกิจได้แล้วเช่น บริษัทผลิตและออกแบบชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์แบรนด์ดัง ตู่ปากน้ำ เรสซิ่ง ที่ธนาคารแนะให้นำระบบต่างๆ เข้ามาใช้ในธุรกิจ ทั้งการจัดทำระบบฐานข้อมูล การคำนวณต้นทุน การควบคุมสต๊อกสินค้าและการวางแผนการผลิต ทำให้ประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายรวมแล้วกว่า ร้อยละ 30-40 เป็นต้น หรือ ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเลแบบ Dried seafood snack แบรนด์ นายประมง ซึ่งธนาคารช่วยให้ลูกค้าได้มีโอกาสเข้าถึงช่องทางการจำหน่าย จนปัจจุบันสามารถนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายใน Supermarket ยักษ์ใหญ่อย่าง Tops Supermarket และ www.7-eleven.com ได้
ด้วยเหตุนี้ K SME จึงกลายเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย SME ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่ร่วมผลักดันให้ SME ไทยร่วมสร้างปาฏิหาริย์ธุรกิจ และพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้สดใสกว่าเดิม
สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย K SME คลิก >> https://goo.gl/C7yBxO
อ้างอิง :
*สถิติจำนวน SMEs ในประเทศไทย จาก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.); http://www.tcg.or.th/TH/news-event-activity-detail.php?smid=93&ID=283