xs
xsm
sm
md
lg

กสอ.เปิดตัวหัวเรือ แจงทุ่ม 1,400 ลบ. ปั้นเอสเอ็มอีสายพันธุ์ใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กสอ. ต้อนรับอธิบดีคนใหม่ “ดร.สมชาย หาญหิรัญ” แถลงนโยบายเร่งด่วนหลายโครงการ สนองนโยบายรัฐ ดันเอสเอ็มอีวาระแห่งชาติ เผยปี 59 รับงบประมาณกว่า 1,400 ล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนาสถานประกอบการ 5,000 กิจการ ผู้ประกอบการกว่า 10,000 ราย ชี้เอสเอ็มอีไทย ยุคใหม่ต้องเป็น “อินเทลเลเจนท์ เอสเอ็มอี”

ดร.สมชาย หาญหิรัญ. อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเข้ารับตำแหน่ง ว่า ในส่วนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยงบประมาณ 2559 ได้รับงบประมาณ 2559 มีจำนวน 1,400 ล้านบาท ตั้งเป้าที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการมากกว่า 10,000 ราย และช่วยเหลือสถานประกอบการมากกว่า 5,000 ราย

โดยงบประมาณที่ได้รับจะนำมาใช้กับโครงการต่างๆ เป็นนโยบายเร่งด่วน ประกอบด้วย การสร้างความพร้อมเอสเอ็มอี โดยให้สอดคล้องกับการตลาดและนวัตกรรม โดยมุ่งไปที่สาขา แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ อาหาร และการเชื่อมโยงภาคการเกษตร รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้เข้าถึง ด้านนวัตกรรมดิจิตอล
ถ่ายภาพร่วมกับคณะทำงานในวันแถลงนโยบาย
นอกจากนี้ มีแผนที่จะเร่งให้SME เข้าถึงมาตรการต่างของรัฐ โดยร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BAnk) ผ่านโครงการต่างในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเร็วขึ้น โดยมีแผนที่จะทำ MOU กับธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ และมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมฯทั่วประเทศ หารือกับธนาคารในการทำความเข้าใจช่วยเหลือเอสเอ็มอีทั่วประเทศ และนโยบายเร่งด่วนอีกประการหนึ่ง คือ ขยายความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยกสอ. ได้ร่วมกับจังหวัดต่างๆในญี่ปุ่น รวมถึง ในต้นปีหน้า มีแผนที่จะร่าง MOUกับฮ่องกง และ ปีหน้า ยังมีแผน เร่งเปิด BSC 11ศูนย์ภาค เพื่อเป็นศูนย์รับบริการ เอสเอ็มอี

ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลประกาศนโยบายให้เอสเอ็มอีเป็นวาระแห่งชาติ กรมฯในฐานะหน่วยงานหลัก ในการส่งเสริมเอสเอ็มอี ได้มีการกำหนดคุณลักษณะอุตสาหกรรมไทย และเอสเอ็มอี ว่าต้องมีคุณลักษณะ อินเทลลิเจนท์ เอสเอ็มอี (SMEs – Intelligent SMEs ) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SME ในยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งความเป็นอินเทลลิเจนท์ ครั้งนี้ จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ไอซัพพลายเชน ความชาญฉลาดในการบริหารจัดการ แบบห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ กระบวนการผลิต การจัดการวัตถุดิบ การสั่งซื้อ โลจิสติกส์ ซึ่งห่วงโซ่อุปทานนี้ มีส่วนช่วยในการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ ไอโปรดักส์ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและระดับสากล

และไอโพรเซส สามารถวางแผนและบริหารจัดการกระบวนการผลิต ได้อย่างชาญฉลาด เพื่อศักยภาพการผลิตที่สมบูรณ์ที่สุด สามารถลดต้นทุนในทุกๆ ด้าน ไอเน็ตเวิร์ค การสร้างเครือข่ายธุรกิจ ซึ่ง กสอ.มีโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster) รองรับการรวมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ และ ไอเอ็นเทอร์พอลเนอร์ (Enterpreneur) การสร้างนักรบสายพันธุ์ใหม่ ให้มีความเข้าใจในการเป็นผู้ประกอบการ และสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์ เอสเอ็มอี ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2558 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า เอสเอ็มอีไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ส่งออกเพิ่มร้อยละ 17.5 สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ส่วนประเทศญี่ปุ่น สัดส่วนการส่งออกลดลงเล็กน้อย ส่วนสถานการณ์ เอสเอ็มอี ในช่วงครึ่งปีหลัง คาดการณ์ว่า น่าจะปรับตัวได้ดีขึ้น เพราะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น