มาเลเซียประเทศเพื่อนใกล้ชิดไทย เรียกได้มามีสภาพทางเศรษฐกิจที่โตเติบไปในทิศทางที่ดี จึงไม่แปลกที่จะกลายเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอาหารฮาลาลที่นอกจากไทยจะมีความสามารถทางการผลิตแล้ว ยังได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบอันสมบูรณ์ แต่เมื่อมองให้ลึกมีสินค้าอีกหลายรายการที่คนไทยไม่ควรมองข้าม
งานนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จับมือ บริษัทมาเหนือเมฆ คอลซัลติ้ง เน็ตเวิร์ค จำกัด จัดโครงการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี (AEC) ภายใต้ความพร้อมของผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีการพาผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานเจรจาการค้า และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่ประเทศมาเลเซีย
มีอะไรกันบ้างมาดูมุมมองตลาดผ่าน 4 ผู้ประกอบการไทย ได้แก่ จิวเวอรี่ แบรนด์ PKL, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูป แม่ตะเพียน และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจากข้าวและผลไม้ “เก้าศิริ”
***จิวเวอร์รี่ของจิ๋ว แต่เปี่ยมศักยภาพตลาดมาเลย์***
หลายคนอาจมองสินค้าประเภท 'จิวเวอรี่' ว่าจะสามารถทำตลาดในประเทศมาเลยเซียได้จริงหรือ? เพราะดูจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม สวมเครื่องแต่งกายมิดชิดตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงสิ่งสวยงามก็ย่อมคู่กับผู้หญิง คำกล่าวนี้เป็นของกรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เค.แอล. ซิลเวอร์แอนด์โกลด์ จำกัด “นายพลภัทร พูลกำลัง” ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องตกแต่งและเครื่องประดับที่ทำจากเงิน นาก ทอง และอัญมณีอื่นๆ มองตลาดจิวเวอรี่กับตลาดมาเลเซีย ว่ามีศักยภาพมากผู้คนมีกำลังซื้อสูง ส่วนใหญ่จะนิยมเครื่องประดับที่ทำจากเงิน และทอง โดยผู้ชายมุสลิมจะไม่ใส่ทองคำตามกฎข้อห้ามศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงสวมใส่เงินเพียงได้อย่างเดียว หากออกแบบให้เหมาะสมกับเพศน่าจะเป็นโอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ได้ดีที่สุด ส่วนรูปแบบก็ต้องสื่อถึงความเป็นมุสลิม หรือมีสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับศาสนาอิสลามได้ เช่น พระจันทร์เสี้ยว ดวงดาว หรืออื่นๆ ซึ่งแหวนเป็นสินค้ายอดฮิต เพราะเป็นสิ่งเดียวที่สามารถใส่โชว์ได้โดยไม่ต้องถูกเครื่องแต่งกายปกคลุม
“ฝีมือช่างจิวเวอรี่มีศักยภาพมาก ทำให้ชาวมาเลเซียที่มีกำลังซื้อจะเลือกสินค้าไทยแทนของจากจีน แต่ขณะเดียวกันที่ชาวมาเลย์ใหญ่ก็นิยมสินค้าราคาไม่แพง โดยเฉพาะจิวเวอรี่ ซึ่งเราถือว่าได้เปรียบเพราะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเอง จากการรวบรวบช่างฝีมือที่มีประสบการณ์สูง”
***'แม่ตะเพียน' เกษตรแปรรูปบุกมาเลย์นานกว่า 4 ปี***
รายนี้ต้องบอกว่าเป็นมือเก๋าในการทำตลาดมาเลย์ เพราะ “นายสิทธิพงษ์ แสงสมัย” เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม่ตะเพียนการเกษตร เจาะตลาดนี้มานานกว่า 4 ปีแล้ว เริ่มจากกล้วยตาก ต่อมามาเลย์จ้างผลิต (OEM) มะขามจี๊ดจ๊าด และมะม่วงหยี เป็นหลัก หลังพบว่าชาวมุสลิมจะชื่นชอบผลไม้รสเปรี้ยว โดยเฉพาะช่วยเดือนรอมฏอน หรือเทศกาลถือศีลอด จะนิยมรับประทานมากเพื่อให้น้ำลายแตกฟอง ซึ่งการส่งอาหารไปขายที่มาเลเซียนั้น สิ่งสำคัญคือต้องได้รับรองมาตรฐานฮาลาล, GMP และ HACCP ด้วย ซึ่งเขาเตรียมตลาดประเทศมุสลิมให้มากขึ้นอย่าง อินโดนีเซีย โดยกำหนดราคาต้องไม่สูงจนเกินไป เน้นรสชาติ และความสะอาด เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญของแบรนด์แม่ตะเพียน ส่งผลให้ในปีๆ หนึ่ง ยอดส่งออกสูงถึง 30 ล้านบาทเลยทีเดียว
***ข้าวแปรรูป อาหารสุขภาพกำลังมาแรง***
แม้ “สริตารัญชน์ เจริญภักดี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เก้าศิริ จำกัด จะเพิ่งเคยนำสินค้ามาออกตลาดมาเลเซียเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่เธอก็เชื่อมั่นว่าอาหารเพื่อสุขภาพ จะได้รับการตอบรับดีจากชาวมาเลย์ไม่น้อย จากการนำข้าวดอยออร์แกนิก หรือที่รู้จักกันดีในนามของ 'ข้าวลืมผัว' ของดี จ.น่าน มาเพิ่มมูลค่าด้วยการนำธัญพืชและผลไม้อื่นๆ มาผสมรวมอัดเป็นก้อน เช่น มะไฟจีน (ผลไม้ประจำ จ.น่าน) กีวี่ กล้วย และลูกเกด นำมาอบเพื่อให้ข้าวพองตัว กลายเป็นสแนคเพื่อสุขภาพเปี่ยมไปด้วยวิตามินจากข้าว และธัญพืช 100%
“จากเทรนด์คนรักสุขภาพที่กำลังมาแรงและเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก เราขอเพียงยอดขาย 1% จากชาวมุสลิมในมาเลเซียกว่า 2,000 ล้านบาท ก็ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ แล้ว ต่อไปเราจะบุกตลาดเวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ ที่คิดว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ และผู้บริโภคน่าจะตอบรับดีเช่นกันกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่ประเทศอาเซียนคุ้นเคยเป็นอย่างดี”
ตลาดมาเลย์ดูเหมือนจะเจาะตลาดไม่ยาก แต่อย่าลืมว่าราคาเป็นสิ่งสำคัญ 'อย่าแพง' เน้น 'คุณภาพ' และสิ่งที่ขาดไม่ได้กับธุรกิจอาหารคือ 'มาตรฐานฮาลาล' ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SME ผู้จัดการออนไลน์" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
งานนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จับมือ บริษัทมาเหนือเมฆ คอลซัลติ้ง เน็ตเวิร์ค จำกัด จัดโครงการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี (AEC) ภายใต้ความพร้อมของผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีการพาผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานเจรจาการค้า และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่ประเทศมาเลเซีย
มีอะไรกันบ้างมาดูมุมมองตลาดผ่าน 4 ผู้ประกอบการไทย ได้แก่ จิวเวอรี่ แบรนด์ PKL, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูป แม่ตะเพียน และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจากข้าวและผลไม้ “เก้าศิริ”
***จิวเวอร์รี่ของจิ๋ว แต่เปี่ยมศักยภาพตลาดมาเลย์***
หลายคนอาจมองสินค้าประเภท 'จิวเวอรี่' ว่าจะสามารถทำตลาดในประเทศมาเลยเซียได้จริงหรือ? เพราะดูจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม สวมเครื่องแต่งกายมิดชิดตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงสิ่งสวยงามก็ย่อมคู่กับผู้หญิง คำกล่าวนี้เป็นของกรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เค.แอล. ซิลเวอร์แอนด์โกลด์ จำกัด “นายพลภัทร พูลกำลัง” ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องตกแต่งและเครื่องประดับที่ทำจากเงิน นาก ทอง และอัญมณีอื่นๆ มองตลาดจิวเวอรี่กับตลาดมาเลเซีย ว่ามีศักยภาพมากผู้คนมีกำลังซื้อสูง ส่วนใหญ่จะนิยมเครื่องประดับที่ทำจากเงิน และทอง โดยผู้ชายมุสลิมจะไม่ใส่ทองคำตามกฎข้อห้ามศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงสวมใส่เงินเพียงได้อย่างเดียว หากออกแบบให้เหมาะสมกับเพศน่าจะเป็นโอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ได้ดีที่สุด ส่วนรูปแบบก็ต้องสื่อถึงความเป็นมุสลิม หรือมีสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับศาสนาอิสลามได้ เช่น พระจันทร์เสี้ยว ดวงดาว หรืออื่นๆ ซึ่งแหวนเป็นสินค้ายอดฮิต เพราะเป็นสิ่งเดียวที่สามารถใส่โชว์ได้โดยไม่ต้องถูกเครื่องแต่งกายปกคลุม
“ฝีมือช่างจิวเวอรี่มีศักยภาพมาก ทำให้ชาวมาเลเซียที่มีกำลังซื้อจะเลือกสินค้าไทยแทนของจากจีน แต่ขณะเดียวกันที่ชาวมาเลย์ใหญ่ก็นิยมสินค้าราคาไม่แพง โดยเฉพาะจิวเวอรี่ ซึ่งเราถือว่าได้เปรียบเพราะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเอง จากการรวบรวบช่างฝีมือที่มีประสบการณ์สูง”
***'แม่ตะเพียน' เกษตรแปรรูปบุกมาเลย์นานกว่า 4 ปี***
รายนี้ต้องบอกว่าเป็นมือเก๋าในการทำตลาดมาเลย์ เพราะ “นายสิทธิพงษ์ แสงสมัย” เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม่ตะเพียนการเกษตร เจาะตลาดนี้มานานกว่า 4 ปีแล้ว เริ่มจากกล้วยตาก ต่อมามาเลย์จ้างผลิต (OEM) มะขามจี๊ดจ๊าด และมะม่วงหยี เป็นหลัก หลังพบว่าชาวมุสลิมจะชื่นชอบผลไม้รสเปรี้ยว โดยเฉพาะช่วยเดือนรอมฏอน หรือเทศกาลถือศีลอด จะนิยมรับประทานมากเพื่อให้น้ำลายแตกฟอง ซึ่งการส่งอาหารไปขายที่มาเลเซียนั้น สิ่งสำคัญคือต้องได้รับรองมาตรฐานฮาลาล, GMP และ HACCP ด้วย ซึ่งเขาเตรียมตลาดประเทศมุสลิมให้มากขึ้นอย่าง อินโดนีเซีย โดยกำหนดราคาต้องไม่สูงจนเกินไป เน้นรสชาติ และความสะอาด เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญของแบรนด์แม่ตะเพียน ส่งผลให้ในปีๆ หนึ่ง ยอดส่งออกสูงถึง 30 ล้านบาทเลยทีเดียว
***ข้าวแปรรูป อาหารสุขภาพกำลังมาแรง***
แม้ “สริตารัญชน์ เจริญภักดี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เก้าศิริ จำกัด จะเพิ่งเคยนำสินค้ามาออกตลาดมาเลเซียเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่เธอก็เชื่อมั่นว่าอาหารเพื่อสุขภาพ จะได้รับการตอบรับดีจากชาวมาเลย์ไม่น้อย จากการนำข้าวดอยออร์แกนิก หรือที่รู้จักกันดีในนามของ 'ข้าวลืมผัว' ของดี จ.น่าน มาเพิ่มมูลค่าด้วยการนำธัญพืชและผลไม้อื่นๆ มาผสมรวมอัดเป็นก้อน เช่น มะไฟจีน (ผลไม้ประจำ จ.น่าน) กีวี่ กล้วย และลูกเกด นำมาอบเพื่อให้ข้าวพองตัว กลายเป็นสแนคเพื่อสุขภาพเปี่ยมไปด้วยวิตามินจากข้าว และธัญพืช 100%
“จากเทรนด์คนรักสุขภาพที่กำลังมาแรงและเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก เราขอเพียงยอดขาย 1% จากชาวมุสลิมในมาเลเซียกว่า 2,000 ล้านบาท ก็ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ แล้ว ต่อไปเราจะบุกตลาดเวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ ที่คิดว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ และผู้บริโภคน่าจะตอบรับดีเช่นกันกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่ประเทศอาเซียนคุ้นเคยเป็นอย่างดี”
ตลาดมาเลย์ดูเหมือนจะเจาะตลาดไม่ยาก แต่อย่าลืมว่าราคาเป็นสิ่งสำคัญ 'อย่าแพง' เน้น 'คุณภาพ' และสิ่งที่ขาดไม่ได้กับธุรกิจอาหารคือ 'มาตรฐานฮาลาล' ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SME ผู้จัดการออนไลน์" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *