xs
xsm
sm
md
lg

GOSOCIAL ..โรงเรียนยุคดิจิตอลแห่งแรกในไทย ไขปริศนา SMEs เข้าถึง.. Social Media

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


การทำตลาดบนโซเซียลเน็ตเวิร์กกลายเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการไม่สามารถมองข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าเก่า หรือหน้าใหม่ เพราะการเติบโตของวงการโซเซียลเน็ตเวิร์กได้เข้าไปแชร์หลายช่องทางการตลาดแล้ว ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ประกอบการไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็มุ่งเข้าสู่ Social Media Marketing ….

ทั้งนี้ จึงได้เป็นที่มาของ โรงเรียนผู้ประกอบการยุคดิจิตอล GOSOCIAL.. ASIA ( NEW WAVE ECOMMERCE) สถานที่ ที่เปิดสอนเรื่องราวของการทำการตลาดบนโซเชียลเน็ตเวิร์กแห่งแรก เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งหน้าเก่า และหน้าใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ Social Media Marketing แบบเข้าถึงลูกค้า แต่ขาดเทคนิคและไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิตอลได้มาเรียนรู้ก่อนลุยเดินหน้าเต็มที่ พร้อมทำตลาดยุคดิจิตอลแบบไม่พลาดโอกาส
จักรกฤษณ์ ทัฬหชาติโยธิน เจ้าของ
นายจักรกฤษณ์ ทัฬหชาติโยธิน ผู้บริหาร และผู้ก่อตั้งโรงเรียนผู้ประกอบการยุคดิจิตอล GOSOCIAL ..ASIA เล่าถึง GOSOCIAL.. ASIA ว่า เดิมตนเองเคยรับหน้าที่ดูแลด้าน SOCIAL MEDIA MARKETING ให้แก่สินค้าแบรนด์ดังและประสบความสำเร็จมาแล้วหลายราย และมองว่า ถ้าอย่างนั้นเราน่าจะนำประสบการณ์ตรงนี้มาถ่ายทอดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในบ้านเราให้ประสบความสำเร็จ และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจในประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ

โดยได้ร่วมกับเพื่อน “อรรถพร ชาญประโคน” ที่ปรึกษาด้านธุรกิจดิจิตอล มีประสบการณ์ด้านการตลาดออนไลน์ ในการสร้างความเชื่อมั่น เหมาะกับธุรกิจเอสเอ็มอี และ “ธนโชติ วิสุทธิสมาน” ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารอินโฟกราฟิกส์ไทยแลนด์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญ และมีความเข้าใจอันลึกซึ้งในด้านการใช้สื่ออินโฟกราฟิก โดยสามารถนำทักษะมาเสริมประสิทธิภาพให้แก่คนที่มองเห็นศักยภาพของโซเชียลมีเดียได้
บรรยากาศภายในห้องเรียน
สำหรับหลักสูตรการสอนจะเน้นเนื้อหาที่โดนใจ เพื่อให้เกิดการบอกต่อ และการทำ Content Marketing ในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจริง พร้อมกับเทคนิคพิเศษ เคล็ดลับวิชา 5 ธีม รวมถึงการออกแบบแผนการตลาด และวางแผนการตลาดที่ใช้กับ Social Media อย่างครบวงจร พร้อมทั้งสอนให้ทุกคนได้รู้จักการเช็กสุขภาพ Social Media แบบง่ายด้วยตัวเอง และแชร์ประสบการณ์จริง ในส่วนของค่าเรียน คิดค่าเรียน 4,900 บาทต่อการเรียน 1 คอร์ส หรือ 1 วัน ตามหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้น

จักรกฤษณ์เล่าว่า ได้เปิดโรงเรียนแห่งนี้มาได้ประมาณ 1 ปี มีผู้สนใจสมัครเรียน และนำไปใช้จริงแล้วกว่า 300 คน โดยมีการวัดผลความสำเร็จหลังจากเรียน ซึ่งทุกคนที่เรียนไปประสบความสำเร็จในระดับพึงพอใจ ซึ่งการเปิดสอนแต่ละครั้งเราจะเปิดรับคอร์สละ 50 คนไม่เกิน 70 คน ที่ผ่านมาผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่เพิ่งเริ่มทำกิจการ และต้องการขายผ่าน Social Media แต่ขาดความรู้เรื่องเทคนิค และเข้าถึงสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ก

สำหรับ Social Media หลักที่เราใช้คือ Facebook ที่เลือกเพราะมองเห็นถึงการเติบโตของตลาด Facebook ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคนใช้ Facebook มากถึง 18 ล้านคน และยังเติบโตได้อีก ดังนั้น การที่จะประสบความสำเร็จ กับการทำตลาด Facebook น่าจะไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนโซเชียลอื่นๆ ได้แก่ ยูทิวบ์ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ฯลฯ เราก็สอนด้วยเช่นกัน แต่ละช่องทางมีเคล็ดลับเทคนิคการทำตลาดแตกต่างกันออกไป และเหมาะสมกับสินค้าไม่เหมือนกัน”

จักรกฤษณ์บอกถึงเทคนิค เคล็ดลับ วิชาพื้นฐานการทำ Social Media Marketing ให้ประสบความสำเร็จ ขั้นตอนสำคัญคือ การสร้างเนื้อหาให้สามารถสื่อถึงแบรนด์ได้ ต้องคิดให้แปลก คิดให้ตลก (คิดให้เพี้ยน) และที่สำคัญต้องคิดให้ตรงกับสินค้า ซึ่งเหล่านี้เป็นลูกเล่นที่เล่นได้ตลอด เพราะเป็นสิ่งแรกที่คนเห็นและอยากนำไปแชร์ต่อ ซึ่งเกิดการบอกต่อๆ กัน หัวใจของสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์กคือการนำไปแชร์ต่อ หรือบอกต่อกันนั่นเอง (ไม่แนะเรื่องของการแจกของ เพราะคนสนใจแต่ของแจกไม่สนใจตัวสินค้า)

ทั้งนี้ การเติบโตของ Social Media ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นถือเป็นโอกาสของผู้ที่มองเห็นโอกาสเท่านั้น หลายคนไม่กล้าเพราะติดปัญหาเรื่องของเทคนิค ความเข้าใจ ทำให้พลาดโอกาสดีๆ ไป ที่ผ่านมาเอสเอ็มอีหน้าใหม่ ประสบความสำเร็จจากการเปิดตลาดบน Social Media หลายรายไม่ได้ทำตลาดได้เฉพาะในประเทศ แต่สามารถเปิดตลาดต่างประเทศได้ในระยะเวลาสั้นเพียงไม่กี่เดือน และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากๆ เหมือนในอดีต เพราะได้ Social Media Marketing มาเป็นตัวช่วย
 
สนใจ ติดต่อ www.gosocial.asia

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SME ผู้จัดการออนไลน์” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น