สภาอุตสาหกรรมขอนแก่นเผยแรงงานบ่นอุบนายจ้างรัดเข็มขัด กระทบสวัสดิการ แถมทำงานไม่เข้าเป้าสั่งปลด ชี้การช่วยเหลือเบื้องต้นตั้งกองทุนพยุงส่วนต่าง 3 ปี
นายวุฒิไกร สุวรรณวานิช เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานหลายแห่งมีการใช้นโยบายรัดเข็มขัด ลดสวัสดิการพนักงาน และเพิ่มศักยภาพแรงงานมากขึ้น หากรายใดทำงานไม่เข้าเป้าก็จะถูกปลดออก ซึ่งแรงงานบางส่วนมองว่าเป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียด ต่างจากเมื่อก่อนที่มีการเลี้ยงข้าว นายจ้างให้ยืมเงินกรณีที่ลูกจ้างขาดสภาพคล่อง แต่ตอนนี้ไม่มีเงินให้ยืม เป็นต้น
ดังนั้นจึงมีแรงงานในโรงงานหลายแห่งได้เข้ามาเจรจากับเจ้าของโรงงานเพื่อเป็นสัญญาใจในการขอค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึงวันละ 300 บาทตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากเข้าใจสถานการณ์ของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล แต่หากเจ้าของกิจการรายใดที่สามารถปรับตัวจนธุรกิจดำเนินการได้ตามปกติแล้วก็ต้องปรับค่าจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม แนวทางเดียวที่รัฐบาลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคือ การจัดสรรงบประมาณ หรือตั้งกองทุนในการช่วยจ่ายส่วนต่างเป็นเวลา 3 ปี เพราะเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยได้ถูกจุด เนื่องจากมาตรการภาษีส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือกิจการที่มีขนาดใหญ่หรือกิจการที่มีกำไร เป็นต้น
อนึ่ง นอกจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบจากค่าแรงแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทด้วย ขณะที่ สอท.เตรียมเสนอมาตรการบรรเทาต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลือในสัปดาห์นี้
นายวุฒิไกร สุวรรณวานิช เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานหลายแห่งมีการใช้นโยบายรัดเข็มขัด ลดสวัสดิการพนักงาน และเพิ่มศักยภาพแรงงานมากขึ้น หากรายใดทำงานไม่เข้าเป้าก็จะถูกปลดออก ซึ่งแรงงานบางส่วนมองว่าเป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียด ต่างจากเมื่อก่อนที่มีการเลี้ยงข้าว นายจ้างให้ยืมเงินกรณีที่ลูกจ้างขาดสภาพคล่อง แต่ตอนนี้ไม่มีเงินให้ยืม เป็นต้น
ดังนั้นจึงมีแรงงานในโรงงานหลายแห่งได้เข้ามาเจรจากับเจ้าของโรงงานเพื่อเป็นสัญญาใจในการขอค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึงวันละ 300 บาทตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากเข้าใจสถานการณ์ของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล แต่หากเจ้าของกิจการรายใดที่สามารถปรับตัวจนธุรกิจดำเนินการได้ตามปกติแล้วก็ต้องปรับค่าจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม แนวทางเดียวที่รัฐบาลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคือ การจัดสรรงบประมาณ หรือตั้งกองทุนในการช่วยจ่ายส่วนต่างเป็นเวลา 3 ปี เพราะเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยได้ถูกจุด เนื่องจากมาตรการภาษีส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือกิจการที่มีขนาดใหญ่หรือกิจการที่มีกำไร เป็นต้น
อนึ่ง นอกจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบจากค่าแรงแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทด้วย ขณะที่ สอท.เตรียมเสนอมาตรการบรรเทาต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลือในสัปดาห์นี้