xs
xsm
sm
md
lg

ร้าน 0 บาท ต้นแบบการจัดการขยะรีไซเคิลในชุมชนซาเล้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นำขยะมาชั่งกิโลและได้คูปองมาแลกของ
ในภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง การปรับตัวของคนไทย มีด้วยกันในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดอดออม ลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง หรือ การหารายได้เสริม อย่างไรก็ตาม คนที่ดูเหมือนจะลำบากมากในช่วงนี้ ชุมชนที่มีรายได้น้อย ทางออกของแต่ละชุมชนแตกต่างกันออกไป
สมาชิกส่วนใหญ่กลุ่มคนขี่ซาเล้งหาของในชุมชน
แต่สำหรับกลุ่มอาชีพซาเล้ง เก็บขยะ ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้หาทางออกช่วยเหลือคนในชุมชน ด้วยการเปิดร้าน 0 บาท ร้านต้นแบบของสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE)
นายสมพงษ์ ตันเจริญผล ปธ.คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ
นายสมพงษ์ ตันเจริญผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวถึง TIPMSE ว่า เกิดขึ้นมาจากวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1.เพื่อลดภาระค่าครองชีพ โดยการใช้วัสดุรีไซเคิลแทนเงินสด 2. เพื่อให้ประชาชนมองเห็นมูลค่าของวัสดุรีไซเคิล ก่อนทิ้งเป็นขยะ และ 3. เพื่อรณรงค์ให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่คนรุ่นใหม่ร่วมกันกันคัดแยกวัสดุรีไซเคิล ซึ่งเชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่คนในชุมชน สามารถจัดการเรื่องขยะในชุมชนได้ ช่วยแก้ปัญหาขยะในชุมชนลงได้ โดยร้าน 0 บาท จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ให้คนทั่วไป รับรู้ และเข้าใจแนวคิดของร้านนี้ว่า แม้ไม่มีเงินก็สามารถซื้อสินค้าได้ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล

โดยร้าน 0 บาท ของแต่ละชุมชน จะถูกพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสภาพของชุมชน เพื่อให้เป็นร้านชุมชนอย่างแท้จริง และสมาชิกของชุมชนสามารถใช้บริการได้อย่างยั่งยืน โดยทาง TIPMSE ไม่ได้เป็นผู้จัดหาสินค้าในร้านให้ แต่จะคอยเป็นพี่เลี้ยงในด้านการวางแผนการจัดการ การเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ดำเนินการร้าน 0 บาท ได้เหมาะสมกับสภาพของตน
นางบัวรินทร์ เสนีย์วงศ์ ผู้ดูแลร้านและเจ้าของแนวคิด
ด้านนางบัวรินทร์ เสนีย์วงศ์ ผู้ดูแลกิจการร้าน 0 บาท ชุมชนซาเล้ง อ่อนนุช 14 ไร่ เล่าถึงที่มาของร้าน 0บาท ว่า เกิดมาจาก คนในชุมชนย้ายมาจากใต้สะพาน และทางกรุงเทพฯ ได้จัดพื้นที่ให้ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ให้ส่วนใหญ่มีอาชีพ ขับขี่ซาเล้งหาของเก่าขาย ซึ่งบางครั้งไม่มีเงินเพียงพอจะหาซื้ออาหาร ของใช้ โดยเฉพาะเด็ก ซึ่งจะหยิบยืมใครหรือจะไปเชื่อของที่ร้านมาก่อน ก็คงจะไม่มีใครยอมให้เชื่อ เพราะส่วนใหญ่คนในชุมชนเป็นคนยากจน หาเช้ากินขับ ซึ่งถ้าไม่ตัดสินใจเปิดร้าน คนในชุมชน โดยเฉพาะเด็กก็จะไม่มีอาหาร ก็เลยตัดสินใจเปิดร้านขึ้นมา โดยรวบรวมเงินจากสมาชิกคนในชุมชน มาได้ก้อนหนึ่ง จากสมาชิก 4 คน เริ่มครั้งแรกปี 2548
ขนมของกินที่ขายภายในร้าน
โดยให้เด็ก และผู้ใหญ่นำขยะ วัสดุรีไซเคิลมาแลกกับอาหารของใช้ภายในร้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน และผลกำไรที่ได้จากการซื้อขยะ และการขายของในร้านแบ่งผลกำไรเป็นเงินปันผลกลับไปให้สมาชิกในรูปแบบของสหกรณ์ ซึ่งผลตอบรับออกมาค่อนข้างดี เพราะหลังจากหลายคนเห็นว่า ซื้อขายวัสดุรีไซเคิลได้ในราคาท้องตลาด และซื้ออาหารของใช้ได้ในราคาปกติ แต่หลังจากผ่านไป 6 เดือน ได้เงินปันผลกลับมา แทนที่จะไปซื้อ ขาย ที่อื่นหันมาซื้อขายที่ร้าน 0 บาท ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มจาก 4 คนเป็น 83 คน จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน 150 ครัวเรือน
ชิ้นงานรีไซเคิลจากฝีมือคนในชุมชน
ทั้งนี้ สินค้าที่ขายภายในร้านประกอบไปด้วย ของกิน ของใช้ทั่วไป เหมือนกับร้านโชห่วย จะแตกต่างกันบ้าง ก็มีสินค้าที่สมาชิกทำขึ้นมาจากวัสดุรีไซเคิล ก็นำมาฝากขายภายในร้าน คนนอกชุมชนมาเห็นก็ซื้อกลับไป กลุ่มลูกค้าจะมีทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กในชุมชน เมื่อหาขยะมาได้ ก็นำมาขายแลกขนม ผู้ใหญ่ถ้าเอาขยะมาขายกับเรา ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นของใช้ของกินภายในร้านกลับไป ก็ได้ โดยจะให้เป็นคูปอง และนำคูปองมาซื้อของแทนเงินสด เหมือนเป็นธนาคารขยะ โดยร้าน 0 บาท มีรายได้ต่อวันประมาณ 3,000 - 4,000 บาท เมื่อมีการแบ่งเงินปันผลทุก 6 เดือน ซึ่งสมาชิก จะได้ 15% ผู้ดูแลกิจการได้ 20% ส่วนที่เหลือ เงินหมุนเวียนหาซื้อสินค้าบริหารจัดการ 50%

สำหรับร้าน 0 บาท เปิดให้บริการสาขาแรก ที่อ่อนนุช 14 ไร่ ซึ่งในเฟสแรกจะมีร้านต้นแบบอีก 2 ร้าน ได้แก่ ร้านชุมชนเคหะดินแดน และชุมชนวัดกลาง ในกรุงเทพมหานครก่อน ซึ่งผู้สนใจต้องการนำรูปแบบของร้าน 0 บาท สามารถติดต่อสถาบันได้โดยตรง เพื่อศึกษารูปแบบและเงื่อนไข การดำเนินการ ซึ่งทาง TIPMSE จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการขาย และให้การอบรมก่อนการดำเนินการเปิดร้าน
ขยะที่รับซื้อจากคนในชุมชน
                                         #############
โทร.0-2272-1552 ต่อ 19
บริการร้าน 0 บาทเคลื่อนที่ พร้อมสอนงานรีไซเคิล




ประวัติความเป็นมา ของสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIPMSE เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ริเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมและสมาชิกที่ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้บรรจุภัณฑ์ เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วน ช่วยกันคัดแยกขยะทั่วประเทศ ด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและเหมาะสม ภายใต้แนวคิดบรรจุภัณฑ์ไม่ใช่ขยะ
สนใจติดต่อที่ www.tipmse.or.th




แนวคิดของร้าน 0 บาท
กำลังโหลดความคิดเห็น