ภาคเอกชนประสานเสียงค้านขึ้นค่าแรง 300 บ. ระบุแนวทางปฏิบัติต้องผ่านบอร์ดไตรภาคี ชี้หากดันทุรังเอสเอ็มอีตายหมู่ แนะควรชะลอระยะเวลาไปอีก 2-3 ปี และจ่ายเฉพาะแรงงานฝีมือ
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่กำลังขึ้นมาเป็นรัฐบาล ที่จะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ในทางปฏิบัติมีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำดูแลอยู่ผ่านคณะกรรม การต่างๆ เพื่อพิจารณาและดำเนินการปรับเพิ่มค่าแรง แต่หากรัฐบาลต้องการขึ้นค่าแรงในทันที รัฐบาลต้องแก้กฎหมายดังกล่าวก่อน แล้วเขียนกฎหมายใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะดำเนินการได้ แต่หากจะใช้อำนาจสั่งการผ่านคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) คงทำได้ทันที
สำหรับการขึ้นค่าแรงดังกล่าว ควรต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปี เพราะปรับขึ้นทันที จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งต้องปิดกิจการจำนวนมาก เพราะได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จนไม่สามารถปรับตัวได้
"หากจะปรับขึ้นจริงๆ ควรทยอยปรับขึ้นดีกว่า เพราะการจะใช้เงินภาษีมาเยียวยา ก็คงไม่มีผล เพราะถ้าเราทำธุรกิจขาดทุน จะมีกำไรมาจากไหน ซึ่งในอนาคตธุรกิจเอสเอ็มอีหายไปแน่นอน และเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจมหาศาล" นายสมมาต กล่าว
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประ ธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ควรจะเป็นการเพิ่มให้แรงงานฝีมือมากกว่า แต่หากจะเพิ่มให้กับแรงงานไร้ฝีมือ คงไม่สามารถทำได้ เพราะมีคณะกรรมการไตรภาคีทำหน้าที่พิจารณาอยู่แล้ว
ขณะที่นายสมพงษ์ นครศรี รองประ ธานอาวุโส ส.อ.ท. กล่าวว่า หากรัฐบาลจะให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน เอกชนคงไม่จ่ายเงินอย่างแน่นอน เพราะเอกชนไม่มีเงินจำนวนมาก ดังนั้น รัฐบาลจะต้องหาเงินมาให้แก่ภาคเอกชนเพื่อนำไปจ่ายค่าแรงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรง ต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ว่าจะมีนโยบายอย่างไร และต้องหารือกับภาคเอกชนก่อน
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่กำลังขึ้นมาเป็นรัฐบาล ที่จะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ในทางปฏิบัติมีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำดูแลอยู่ผ่านคณะกรรม การต่างๆ เพื่อพิจารณาและดำเนินการปรับเพิ่มค่าแรง แต่หากรัฐบาลต้องการขึ้นค่าแรงในทันที รัฐบาลต้องแก้กฎหมายดังกล่าวก่อน แล้วเขียนกฎหมายใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะดำเนินการได้ แต่หากจะใช้อำนาจสั่งการผ่านคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) คงทำได้ทันที
สำหรับการขึ้นค่าแรงดังกล่าว ควรต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปี เพราะปรับขึ้นทันที จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งต้องปิดกิจการจำนวนมาก เพราะได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จนไม่สามารถปรับตัวได้
"หากจะปรับขึ้นจริงๆ ควรทยอยปรับขึ้นดีกว่า เพราะการจะใช้เงินภาษีมาเยียวยา ก็คงไม่มีผล เพราะถ้าเราทำธุรกิจขาดทุน จะมีกำไรมาจากไหน ซึ่งในอนาคตธุรกิจเอสเอ็มอีหายไปแน่นอน และเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจมหาศาล" นายสมมาต กล่าว
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประ ธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ควรจะเป็นการเพิ่มให้แรงงานฝีมือมากกว่า แต่หากจะเพิ่มให้กับแรงงานไร้ฝีมือ คงไม่สามารถทำได้ เพราะมีคณะกรรมการไตรภาคีทำหน้าที่พิจารณาอยู่แล้ว
ขณะที่นายสมพงษ์ นครศรี รองประ ธานอาวุโส ส.อ.ท. กล่าวว่า หากรัฐบาลจะให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน เอกชนคงไม่จ่ายเงินอย่างแน่นอน เพราะเอกชนไม่มีเงินจำนวนมาก ดังนั้น รัฐบาลจะต้องหาเงินมาให้แก่ภาคเอกชนเพื่อนำไปจ่ายค่าแรงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรง ต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ว่าจะมีนโยบายอย่างไร และต้องหารือกับภาคเอกชนก่อน