สสว.ดึงภาคเอกชน สมาคมของขวัญฯ ร่วมพัฒนาด้านการออกแบบสินค้าภูมิปัญญา พร้อมค้นหาพัฒนาอัตถลักษณ์ของที่ระลึกชุมชน ในพื้นที่ทั้ง 4 ภาค ตั้งเป้าปีแรก 30 ชุมชน 150 ผลิตภัณฑ์ คาดเพิ่มรายได้ชุมชนมากกว่า 20%
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือสสว. เปิดเผยว่า ทางสสว.ได้ร่วมกับสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน จัดทำโครงการของที่ระลึกตามอัตลักษณ์ประจำเมือง ( Indentity City Souvenir) ขึ้น เพื่อพัฒนาและดึงจุดเด่นของที่ระลึกที่ขายอยู่ในแต่ละชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวใน 4 ภูมิภาค ให้มีความชัดเจน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ความเป็นมา ประวัติศาสตร์
ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว ได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการฯ ออกเป็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน เอกชน ในกลุ่มหัตถกรรมอาหารแปรรูป และของที่ระลึก จำนวน 300 ราย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในชุมชนท้องถิ่น จำนวน 100 ราย รวมทั้งสิ้น 30 ชุมชน
สาเหตุที่สสว.เลือกใ้ห้ทางสมาคมเข้ามาดำเนินการในครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นว่า ทางสมาคมฯ มีความเชี่ยวชาญและชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ และมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า การให้ทางหน่วยงานราชการเป็นผู้ดูแล
ด้านนายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ หััวหน้าโครงการฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการเข้ารับหน้าที่ในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือประเทศ เพราะเราจะรู้ความต้องการของตลาดว่าต้องการอะไร ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ซึ่งการเข้าไปช่วยพัฒนาสินค้าของชุมชนในครั้งนี้ เราจะยังคงรักษาภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ ซึ่งทางสมาคมฯคาดหวังว่าจะไปช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนประมาณ 20%
โดยกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วยการส่งทีมงานด้านการออกแบบและนักการตลาดเข้าไปสำรวจชุมชน เพื่อดึงอัตลักษณ์มาพัฒนา และเข้าไปสอนและแนะนำ รายละเอียดสินค้าต้นแบบ และอบรมหลักสูตรกลยุทธ์การตลาด ของที่ระลึกแนวใหม่ โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมการตลาดโลก
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือสสว. เปิดเผยว่า ทางสสว.ได้ร่วมกับสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน จัดทำโครงการของที่ระลึกตามอัตลักษณ์ประจำเมือง ( Indentity City Souvenir) ขึ้น เพื่อพัฒนาและดึงจุดเด่นของที่ระลึกที่ขายอยู่ในแต่ละชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวใน 4 ภูมิภาค ให้มีความชัดเจน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ความเป็นมา ประวัติศาสตร์
ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว ได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการฯ ออกเป็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน เอกชน ในกลุ่มหัตถกรรมอาหารแปรรูป และของที่ระลึก จำนวน 300 ราย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในชุมชนท้องถิ่น จำนวน 100 ราย รวมทั้งสิ้น 30 ชุมชน
สาเหตุที่สสว.เลือกใ้ห้ทางสมาคมเข้ามาดำเนินการในครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นว่า ทางสมาคมฯ มีความเชี่ยวชาญและชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ และมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า การให้ทางหน่วยงานราชการเป็นผู้ดูแล
ด้านนายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ หััวหน้าโครงการฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการเข้ารับหน้าที่ในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือประเทศ เพราะเราจะรู้ความต้องการของตลาดว่าต้องการอะไร ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ซึ่งการเข้าไปช่วยพัฒนาสินค้าของชุมชนในครั้งนี้ เราจะยังคงรักษาภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ ซึ่งทางสมาคมฯคาดหวังว่าจะไปช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนประมาณ 20%
โดยกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วยการส่งทีมงานด้านการออกแบบและนักการตลาดเข้าไปสำรวจชุมชน เพื่อดึงอัตลักษณ์มาพัฒนา และเข้าไปสอนและแนะนำ รายละเอียดสินค้าต้นแบบ และอบรมหลักสูตรกลยุทธ์การตลาด ของที่ระลึกแนวใหม่ โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมการตลาดโลก