สถาบันสิ่งทอเผยแนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอดีขึ้น โต 35% โดยเฉพาะผ้าผืน ส่งผลมูลค่าไม่น้อยกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชี้ตลาดอาเซียน และอียูโตกว่า 50% เชื่อผ้าผืนอนาคตไกล เล็งทดแทนตลาดจีนและญี่ปุ่น
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยในงานสัมมนาสิ่งทอไทยกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่า ขณะนี้แนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยได้กลับมาเริ่มเติบโตอย่างน่าพอใจอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกปี 2552 โดยล่าสุด เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยกลับมาเติบโตสูงถึงร้อยละ 35 โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืน เติบโตสูงถึงร้อยละ 30 โดยอัตราการเติบโตดังกล่าว เชื่อว่าตลอดทั้งปี 2553 ภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอจะมีการส่งออกเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ อัตราการเติบโตของการส่งออกสิ่งทอของไทยขณะนี้ พบว่าเป็นการส่งออกที่เติบโตทั้งตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน และสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่ง 2 ตลาดนี้ คิดเป็นการเติบโตถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ซึ่งได้รับอานิสงส์จากเขตเสรีการค้าอาเซียน ทำให้การขายสินค้าระหว่างกันมีการปรับลดภาษีลง ขณะเดียวกัน แนวโน้มตลาดพบว่า การส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนนี้ เนื่องจากมีผู้ลงทุนสั่งซื้อผ้าผืนของไทยไปดำเนินการตัดเย็บในกลุ่มประเทศอาเซียน รอบ ๆ ประเทศไทย ทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม โดยมีการตั้งโรงงานในประเทศเหล่านี้ เนื่องจากมีต้นทุนค่าแรงต่ำ ขณะเดียวกัน มีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ เนื่องจากการสั่งซื้อผ้าผืนจากไทยมีต้นทุนขนส่งต่ำ และได้สินค้าคุณภาพดี ดังนั้น ทางสถาบันเห็นว่าผู้ประกอบการควรเร่งเปิดตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น
นายวิรัตน์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการสั่งซื้อผ้าผืนเข้ามาตัดเย็บในกลุ่มประเทศอาเซียน เฉลี่ยมูลค่าปีละ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขายจากประเทศไทย ไปประเทศกลุ่มประเทศอาเซียนอื่น ๆ เพียง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เห็นได้ว่า ตลาดยังมีการเปิดกว้ง เนื่องจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ยังมีการสั่งซื้อผ้าที่เป็นวัตถุดิบกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากประเทศจีน ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยมีการปรับตัวให้สามารถผลิตผ้าผืนที่มีคุณสมบัติไปทดแทนผ้าผืนจากจีนและญี่ปุ่นได้ เชื่อว่าการสั่งซื้อผ้าผืนจากไทยจะมีปริมาณสูงขึ้น เพื่อนำไปทดแทนผ้าจากจีน และญี่ปุ่น ซึ่งไทยมีความได้เปรียบต้นทุนการขนส่งอย่างมาก
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยในงานสัมมนาสิ่งทอไทยกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่า ขณะนี้แนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยได้กลับมาเริ่มเติบโตอย่างน่าพอใจอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกปี 2552 โดยล่าสุด เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยกลับมาเติบโตสูงถึงร้อยละ 35 โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืน เติบโตสูงถึงร้อยละ 30 โดยอัตราการเติบโตดังกล่าว เชื่อว่าตลอดทั้งปี 2553 ภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอจะมีการส่งออกเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ อัตราการเติบโตของการส่งออกสิ่งทอของไทยขณะนี้ พบว่าเป็นการส่งออกที่เติบโตทั้งตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน และสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่ง 2 ตลาดนี้ คิดเป็นการเติบโตถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ซึ่งได้รับอานิสงส์จากเขตเสรีการค้าอาเซียน ทำให้การขายสินค้าระหว่างกันมีการปรับลดภาษีลง ขณะเดียวกัน แนวโน้มตลาดพบว่า การส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนนี้ เนื่องจากมีผู้ลงทุนสั่งซื้อผ้าผืนของไทยไปดำเนินการตัดเย็บในกลุ่มประเทศอาเซียน รอบ ๆ ประเทศไทย ทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม โดยมีการตั้งโรงงานในประเทศเหล่านี้ เนื่องจากมีต้นทุนค่าแรงต่ำ ขณะเดียวกัน มีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ เนื่องจากการสั่งซื้อผ้าผืนจากไทยมีต้นทุนขนส่งต่ำ และได้สินค้าคุณภาพดี ดังนั้น ทางสถาบันเห็นว่าผู้ประกอบการควรเร่งเปิดตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น
นายวิรัตน์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการสั่งซื้อผ้าผืนเข้ามาตัดเย็บในกลุ่มประเทศอาเซียน เฉลี่ยมูลค่าปีละ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขายจากประเทศไทย ไปประเทศกลุ่มประเทศอาเซียนอื่น ๆ เพียง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เห็นได้ว่า ตลาดยังมีการเปิดกว้ง เนื่องจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ยังมีการสั่งซื้อผ้าที่เป็นวัตถุดิบกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากประเทศจีน ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยมีการปรับตัวให้สามารถผลิตผ้าผืนที่มีคุณสมบัติไปทดแทนผ้าผืนจากจีนและญี่ปุ่นได้ เชื่อว่าการสั่งซื้อผ้าผืนจากไทยจะมีปริมาณสูงขึ้น เพื่อนำไปทดแทนผ้าจากจีน และญี่ปุ่น ซึ่งไทยมีความได้เปรียบต้นทุนการขนส่งอย่างมาก