สสว.เตรียมแผนผลักดันเอสเอ็มอีรายย่อยเข้าสู่ระบบให้ได้ถึง 3.5 ล้านกิจการหรือเพิ่มขึ้นอีก 7 แสนราย ในปี 2553 มั่นใจทำได้อย่างแน่นอน หลังได้ 5 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ลงพื้นที่ศึกษาตัวตนของเอสเอ็มอี พบยังมีรายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในระบบมากกว่า ครึ่งหนึ่ง รวมถึงแผนผลักดันโอทอปขึ้นทะเบียนเป็นเอสเอ็มอี
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมี เอสเอ็มอีทั่วประเทศ ที่มีการสำรวจ ในภาพรวมประมาณ 2.82 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.7 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีเอสเอ็มอีรายย่อยที่เล็กๆ มากๆ เช่น แผงลอย และที่ตกสำรวจ คาดว่าน่าจะมีอีกเท่าตัว หรือ คิดเป็นเอสเอ็มอีทั้งหมดของประเทศไทยกว่า 5 ล้านราย
ทั้งนี้ ทางสสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมเอสเอ็มอี จึงมีแนวคิดว่าน่าจะเข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริมเอสเอ็มอีในภาพรวมได้ทุกระดับ รวมถึงรายย่อยที่ไม่ได้มีการสำรวจในครั้งนี้ด้วย ด้วยการผลักดันเอสเอ็มอีเหล่านี้มาเข้าสู่ระบบและขึ้นทะเบียน โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2553 นี้ ตั้งเป้าไว้ว่าเพิ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระบบให้ได้ถึง 3.5 ล้านกิจการ หรือเพิ่มขึ้น 7 แสนราย
“ส่วนหนึ่งที่เรามั่นใจว่าจะผลักดันผู้ประกอบการรายย่อยมาเข้าสู่ระบบได้ เพราะจากโครงการ“ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ SMEs ประเทศไทย : บทบาทเชิงเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม” ที่ทาง สสว.จะทำงานร่วมกับ 5 สถาบันการศึกษา ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ทำให้เราได้รู้จักตัวตน ชุมชน สังคมของผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้นจากการลงพื้นที่ของ 5 สถาบันการศึกษาทั่วไป ดังนั้น โอกาสที่ชักจูงรายย่อยเหล่านี้ มาเข้าสู่ระบบก็เป็นไปได้มาก และยังมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนผู้ประกอบการโอทอปให้มาเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้จะช่วยทำให้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระบบเพิ่มอีก 7 แสนรายในปี 2553 ได้ไม่ยาก”
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มาลงทะเบียนเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ จะไม่มีผลต่อเรื่องการเก็บภาษี หรือมีหน่วยงานของสรรพากรเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เพราะวัตถุประสงค์ของสสว. คือ เราต้องการให้ผู้ประกอบการรายรายย่อยได้รับโอกาสการช่วยเหลือที่หน่วยงานภาครัฐมอบให้ เช่นเดียวกับ เอสเอ็มอีในระบบ และสสว.สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างทั่วถึง
สำหรับประเทศไทยมี SMEs ในภาพรวมประมาณ 2.82 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ มีการจ้างงานจำนวน 8.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 76 ก่อให้เกิดมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 3.44 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.8 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ มูลค่าส่งออก 1.69 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งประเทศ
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมี เอสเอ็มอีทั่วประเทศ ที่มีการสำรวจ ในภาพรวมประมาณ 2.82 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.7 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีเอสเอ็มอีรายย่อยที่เล็กๆ มากๆ เช่น แผงลอย และที่ตกสำรวจ คาดว่าน่าจะมีอีกเท่าตัว หรือ คิดเป็นเอสเอ็มอีทั้งหมดของประเทศไทยกว่า 5 ล้านราย
ทั้งนี้ ทางสสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมเอสเอ็มอี จึงมีแนวคิดว่าน่าจะเข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริมเอสเอ็มอีในภาพรวมได้ทุกระดับ รวมถึงรายย่อยที่ไม่ได้มีการสำรวจในครั้งนี้ด้วย ด้วยการผลักดันเอสเอ็มอีเหล่านี้มาเข้าสู่ระบบและขึ้นทะเบียน โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2553 นี้ ตั้งเป้าไว้ว่าเพิ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระบบให้ได้ถึง 3.5 ล้านกิจการ หรือเพิ่มขึ้น 7 แสนราย
“ส่วนหนึ่งที่เรามั่นใจว่าจะผลักดันผู้ประกอบการรายย่อยมาเข้าสู่ระบบได้ เพราะจากโครงการ“ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ SMEs ประเทศไทย : บทบาทเชิงเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม” ที่ทาง สสว.จะทำงานร่วมกับ 5 สถาบันการศึกษา ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ทำให้เราได้รู้จักตัวตน ชุมชน สังคมของผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้นจากการลงพื้นที่ของ 5 สถาบันการศึกษาทั่วไป ดังนั้น โอกาสที่ชักจูงรายย่อยเหล่านี้ มาเข้าสู่ระบบก็เป็นไปได้มาก และยังมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนผู้ประกอบการโอทอปให้มาเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้จะช่วยทำให้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระบบเพิ่มอีก 7 แสนรายในปี 2553 ได้ไม่ยาก”
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มาลงทะเบียนเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ จะไม่มีผลต่อเรื่องการเก็บภาษี หรือมีหน่วยงานของสรรพากรเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เพราะวัตถุประสงค์ของสสว. คือ เราต้องการให้ผู้ประกอบการรายรายย่อยได้รับโอกาสการช่วยเหลือที่หน่วยงานภาครัฐมอบให้ เช่นเดียวกับ เอสเอ็มอีในระบบ และสสว.สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างทั่วถึง
สำหรับประเทศไทยมี SMEs ในภาพรวมประมาณ 2.82 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ มีการจ้างงานจำนวน 8.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 76 ก่อให้เกิดมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 3.44 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.8 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ มูลค่าส่งออก 1.69 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งประเทศ