บอร์ดบีโอไอ เห็นชอบนโยบายส่งเสริมเอสเอ็มอี จากเดิม 10 ประเภท เป็น 57 ประเภท เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น และลดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมนำเครื่องจักรเก่ามาขอรวมกับเครื่องจักรใหม่ได้ ในมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ไม่น้อยกว่า1ใน 4 ของเครื่องจักรที่ใช้แล้ว และได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้ปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนกิจการเอสเอ็มอี โดยให้มีการเพิ่มประเภทกิจการที่สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุน จากเดิม 10 ประเภท เป็น 57 ประเภท เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนสามารถเข้าถึงผู้ผลิตเอสเอ็มอีไทยได้มากยิ่งขึ้น
“ที่ผ่านมา เอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 146 โครงการ รวมเงินลงทุน 8,414 ล้านบาท ซึ่งเกือบทุกรายเป็นกิจการ 2 ประเภท คือ การผลิตหรือถนอมอาหาร และกิจการคัดคุณภาพ บรรจุ เก็บรักษาพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เพราะเปิดให้ส่งเสริมเพียง 10 ประเภท ดังนั้น หากเพิ่มประเภทกิจการเป็น 57 ประเภท ก็จะทำให้เอสเอ็มอีไทยสามารถขอรับส่งเสริมได้มากขึ้น” นางอรรชกา กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้มีการยกเลิกเงื่อนไขเดิม ที่กำหนดให้อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ต้องได้รับการคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หรือเป็นผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคแก่กิจการเอสเอ็มอี และที่ประชุมยังเห็นชอบอนุญาตให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริมภายใต้นโยบายนี้ สามารถนำเครื่องจักรใช้แล้วภายในประเทศมาขอรับการส่งเสริมรวมกับเครื่องจักรใหม่ได้ แต่มูลค่าเครื่องจักรใช้แล้วจะต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท และจะต้องลงทุนในเครื่องจักรใหม่เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าเครื่องจักรใช้แล้ว โดยเมื่อรวมขนาดการลงทุนแล้ว (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนของโครงการ) ต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท เพื่อให้เป็นนโยบายการส่งเสริมกิจการเอสเอ็มอีอย่างแท้จริง
และแม้ที่ประชุมจะเห็นชอบให้มาตรการนี้เป็นมาตรการชั่วคราว เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยมีผลไปจนถึงสิ้นปี 2554 แต่กิจการเอสเอ็มอีที่ลงทุนตั้งแต่ 500,000 บาท และได้รับส่งเสริมการลงทุนภายใต้นโยบายนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี ไม่จำกัดวงเงินที่ได้รับยกเว้น และสามารถตั้งกิจการในเขตที่ตั้งใดก็ได้
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้ปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนกิจการเอสเอ็มอี โดยให้มีการเพิ่มประเภทกิจการที่สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุน จากเดิม 10 ประเภท เป็น 57 ประเภท เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนสามารถเข้าถึงผู้ผลิตเอสเอ็มอีไทยได้มากยิ่งขึ้น
“ที่ผ่านมา เอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 146 โครงการ รวมเงินลงทุน 8,414 ล้านบาท ซึ่งเกือบทุกรายเป็นกิจการ 2 ประเภท คือ การผลิตหรือถนอมอาหาร และกิจการคัดคุณภาพ บรรจุ เก็บรักษาพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เพราะเปิดให้ส่งเสริมเพียง 10 ประเภท ดังนั้น หากเพิ่มประเภทกิจการเป็น 57 ประเภท ก็จะทำให้เอสเอ็มอีไทยสามารถขอรับส่งเสริมได้มากขึ้น” นางอรรชกา กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้มีการยกเลิกเงื่อนไขเดิม ที่กำหนดให้อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ต้องได้รับการคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หรือเป็นผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคแก่กิจการเอสเอ็มอี และที่ประชุมยังเห็นชอบอนุญาตให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริมภายใต้นโยบายนี้ สามารถนำเครื่องจักรใช้แล้วภายในประเทศมาขอรับการส่งเสริมรวมกับเครื่องจักรใหม่ได้ แต่มูลค่าเครื่องจักรใช้แล้วจะต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท และจะต้องลงทุนในเครื่องจักรใหม่เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าเครื่องจักรใช้แล้ว โดยเมื่อรวมขนาดการลงทุนแล้ว (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนของโครงการ) ต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท เพื่อให้เป็นนโยบายการส่งเสริมกิจการเอสเอ็มอีอย่างแท้จริง
และแม้ที่ประชุมจะเห็นชอบให้มาตรการนี้เป็นมาตรการชั่วคราว เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยมีผลไปจนถึงสิ้นปี 2554 แต่กิจการเอสเอ็มอีที่ลงทุนตั้งแต่ 500,000 บาท และได้รับส่งเสริมการลงทุนภายใต้นโยบายนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี ไม่จำกัดวงเงินที่ได้รับยกเว้น และสามารถตั้งกิจการในเขตที่ตั้งใดก็ได้