ประเทศไทยขานรับมติที่ประชุมเอเปกเอสเอ็มอี พร้อมแถลงมาตรการรองรับผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจต่อเอสเอ็มอี เผยผลหลังประชุมรัฐมนตรีเอเปกด้านเอสเอ็มอี เตรียมตั้งศูนย์การจัดการช่วยเหลือเอสเอ็มอีกลุ่มประเทศเอเปกในช่วงวิกฤต (APEC SME Crisis Management Center) ที่ไต้หวันปีหน้า
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ตนเองพร้อมด้วยนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี (สสว.) ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเอเปกด้านเอสเอ็มอี ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปกได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอีอยู่ 3 ประเด็น คือ 1. การให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีในการวางตำแหน่งเพื่อขยายธุรกิจภายหลังวิกฤติ 2. การพัฒนาการวิจัยตลาดและขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาด และ ประเด็นสุดท้าย คือ การสนับสนุนการดำเนินการของแผนกลยุทธ์ของคณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEWG Strategic Pan)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ในประเด็นมาตรการรองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีนั้น ที่ประชุมเอเปกประกาศร่วมกันจัดตั้งศูนย์การจัดการเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีภายในกลุ่มประเทศเอเปกในช่วงวิกฤต (APEC SME Crisis Management Center) ที่ประเทศ ไต้หวัน ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยศูนย์ดังกล่าวจะมีหน้าที่วิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจและศึกษาวิกฤติของโลก ตลอดจนเสนอมาตรการที่จะช่วยจัดการความเสี่ยงสำหรับเอสเอ็มอีในกลุ่มประเทศสมาชิก พร้อมกันนี้ จะทำหน้าที่จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่เอสเอ็มอี และการจัดตั้งเว็บไซต์ของศูนย์ดังกล่าวเพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันภายในกลุ่มประเทศสมาชิก
“นอกจากนี้ ในที่ประชุมเอเปกเอสเอ็มอียังได้ออกมาตรการเพื่อที่ภาครัฐของประเทศสมาชิกกลุ่มเอเปกควรจะทำเพื่อให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ได้แก่ การขยายกรอบการค้ำประกันสินเชื่อและมีสินเชื่อประเภทใหม่ๆ สำหรับเอสเอ็มอี การขยายระยะเวลาจ่ายคืนเงินกู้ของเอสเอ็มอี การให้บริการที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงแก่เอสเอ็มอี การออกมาตรการด้านการคลัง และการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศ” นายชาญชัยกล่าว
นายชาญชัยกล่าวว่า สำหรับการพัฒนาการวิจัยตลาดและขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาดนั้น ประเทศเจ้าภาพอย่างสิงคโปร์เสนอโครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์การวิจัยตลาดและพัฒนาขีดความสามารถของเอสเอ็มอีในกลุ่มสมาชิกเอเปก (APEC Market Research & Capability Development Center: SMRC) เพื่อให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มขีดความสามารถของเอสเอ็มอีในการเข้าถึงตลาดและโอกาสในตลาดโลก
“ส่วนในประเด็นการสนับสนุนแผนกลยุทธ์ของคณะทำงานด้านวิสาหกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEWG Strategic Plan) ในที่ประชุมเอเปกได้ให้การรับรองตัวชี้วัดการส่งเสริมเอสเอ็มอีใน 6 สาขา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการและการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ การเข้าถึงตลาดและการออกสู่ตลาดโลก การพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาทางด้านการเงิน และแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศหลักในการสร้างศักยภาพด้านบริหารจัดการและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปกร่วมกับประเทศไต้หวัน” นายชาญชัยระบุ
รมต.อุตสาหกรรมกล่าวอีกว่า ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเอเปกเอสเอ็มอี คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสหารือร่วมกับ นายทาดาฮิโร่ มัทซูชิตะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปกเอสเอ็มอี ณ เมืองกีฟู ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายปี พ.ศ.2553 โดยญี่ปุ่นขอให้ไทยให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม
“นอกจากนี้ นายมัตซูชิตะ ยังให้ความมั่นใจว่าญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลใหม่ พร้อมที่จะคงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และด้านเอสเอ็มอีกับไทย ในการให้ความร่วมมือพัฒนาระบบวินิจฉัยเอสเอ็มอีให้นำมาประยุกต์ใช้กับการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินให้แก่เอสเอ็มอีอย่างกว้างขวาง ซึ่งในที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปกเอสเอ็มอี ยังได้รับรองบทบาทของไทยในการเป็นประเทศผู้นำของกลุ่มเอเปก ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและความสามารถในการบริหารจัดการของเอสเอ็มอี และที่ประชุมเอเปกขอให้ไทยมีบทบาท ในการริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปกต่อไป” นายชาญชัยกล่าวในท้ายที่สุด
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ตนเองพร้อมด้วยนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี (สสว.) ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเอเปกด้านเอสเอ็มอี ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปกได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอีอยู่ 3 ประเด็น คือ 1. การให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีในการวางตำแหน่งเพื่อขยายธุรกิจภายหลังวิกฤติ 2. การพัฒนาการวิจัยตลาดและขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาด และ ประเด็นสุดท้าย คือ การสนับสนุนการดำเนินการของแผนกลยุทธ์ของคณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEWG Strategic Pan)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ในประเด็นมาตรการรองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีนั้น ที่ประชุมเอเปกประกาศร่วมกันจัดตั้งศูนย์การจัดการเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีภายในกลุ่มประเทศเอเปกในช่วงวิกฤต (APEC SME Crisis Management Center) ที่ประเทศ ไต้หวัน ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยศูนย์ดังกล่าวจะมีหน้าที่วิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจและศึกษาวิกฤติของโลก ตลอดจนเสนอมาตรการที่จะช่วยจัดการความเสี่ยงสำหรับเอสเอ็มอีในกลุ่มประเทศสมาชิก พร้อมกันนี้ จะทำหน้าที่จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่เอสเอ็มอี และการจัดตั้งเว็บไซต์ของศูนย์ดังกล่าวเพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันภายในกลุ่มประเทศสมาชิก
“นอกจากนี้ ในที่ประชุมเอเปกเอสเอ็มอียังได้ออกมาตรการเพื่อที่ภาครัฐของประเทศสมาชิกกลุ่มเอเปกควรจะทำเพื่อให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ได้แก่ การขยายกรอบการค้ำประกันสินเชื่อและมีสินเชื่อประเภทใหม่ๆ สำหรับเอสเอ็มอี การขยายระยะเวลาจ่ายคืนเงินกู้ของเอสเอ็มอี การให้บริการที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงแก่เอสเอ็มอี การออกมาตรการด้านการคลัง และการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศ” นายชาญชัยกล่าว
นายชาญชัยกล่าวว่า สำหรับการพัฒนาการวิจัยตลาดและขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาดนั้น ประเทศเจ้าภาพอย่างสิงคโปร์เสนอโครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์การวิจัยตลาดและพัฒนาขีดความสามารถของเอสเอ็มอีในกลุ่มสมาชิกเอเปก (APEC Market Research & Capability Development Center: SMRC) เพื่อให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มขีดความสามารถของเอสเอ็มอีในการเข้าถึงตลาดและโอกาสในตลาดโลก
“ส่วนในประเด็นการสนับสนุนแผนกลยุทธ์ของคณะทำงานด้านวิสาหกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEWG Strategic Plan) ในที่ประชุมเอเปกได้ให้การรับรองตัวชี้วัดการส่งเสริมเอสเอ็มอีใน 6 สาขา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการและการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ การเข้าถึงตลาดและการออกสู่ตลาดโลก การพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาทางด้านการเงิน และแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศหลักในการสร้างศักยภาพด้านบริหารจัดการและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปกร่วมกับประเทศไต้หวัน” นายชาญชัยระบุ
รมต.อุตสาหกรรมกล่าวอีกว่า ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเอเปกเอสเอ็มอี คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสหารือร่วมกับ นายทาดาฮิโร่ มัทซูชิตะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปกเอสเอ็มอี ณ เมืองกีฟู ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายปี พ.ศ.2553 โดยญี่ปุ่นขอให้ไทยให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม
“นอกจากนี้ นายมัตซูชิตะ ยังให้ความมั่นใจว่าญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลใหม่ พร้อมที่จะคงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และด้านเอสเอ็มอีกับไทย ในการให้ความร่วมมือพัฒนาระบบวินิจฉัยเอสเอ็มอีให้นำมาประยุกต์ใช้กับการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินให้แก่เอสเอ็มอีอย่างกว้างขวาง ซึ่งในที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปกเอสเอ็มอี ยังได้รับรองบทบาทของไทยในการเป็นประเทศผู้นำของกลุ่มเอเปก ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและความสามารถในการบริหารจัดการของเอสเอ็มอี และที่ประชุมเอเปกขอให้ไทยมีบทบาท ในการริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปกต่อไป” นายชาญชัยกล่าวในท้ายที่สุด