ASTVผู้จัดการรายวัน – กทช.ยันประมูล 4 ใบอนุญาต 3G กลางเดือนธ.ค. ไม่สนเรื่องนอมินีขอเพียงกระทรวงพาณิชย์รับรองการเป็นบริษัทสัญชาติไทยก็พอ เอไอเอสทุ่มหมดหน้าตัก เล็งช่วงกว้างความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ ลั่นเตรียมโปรโมชันใหม่ล่อใจลูกค้า 28 ล้านคนย้ายหนีสัมปทานทีโอที มาใช้บริการ 3G ด้าน ‘ศุภชัย’ ย้ำทรูมีเงินพอประมูลเอง ไม่ต้องพึ่งต่างชาติ โอ่มีมาตอม 6-7 ราย ส่วนดีแทคขอความชัดเจน 5 เรื่อง
นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวในงานประชาพิจารณ์ 3G ว่าในสัปดาห์ที่สองของเดือนธ.ค.จะเปิดประมูลใบอนุญาตหรือไลเซ่นส์ 3G แบบพร้อมกันหลายรอบ ( Simultaneous Multiple Round หรือ SMR) โดยจะจัดสรรเป็น 4 ช่วงความถี่ หรือ 4 ใบอนุญาตได้แก่ใบอนุญาตสำหรับช่วงความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบ และอีก 3 ใบสำหรับช่วงความถี่รายละ 10 เมกะเฮิรตซ์และหลังจากนั้น 2 สัปดาห์คาดว่าจะสามารถให้ไลเซ่นส์แก่ผู้ชนะการประมูล โดยที่กทช.จะทำการทดสอบการประมูลครั้งสุดท้ายในวันที่ 8-9 ต.ค.ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่เข้าจะร่วมประมูลจะมีสิทธิในการเสนอราคาประมูลได้เพียง 1 ใบอนุญาตเท่านั้น โดยก่อนเข้าร่วมการประมูลจะต้องวางเงินมัดจำ (แบงการันตี ) เท่ากับราคาเริ่มต้นประมูลหรือราคากลางของใบอนุญาต โดยที่ราคากลางใบอนุญาตขณะนี้ที่ปรึกษาได้เสนอมาแล้ว ซึ่งกทช.จะหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.ก่อนที่จะมีการประกาศหลักเกณฑ์การประมูลลงในราชกิจจานุเบกษา ส่วนการสรุปว่าผู้ทำ MVNO (Mobile Virtual Network Operator หรือผู้รับช่วงทำการตลาด) จะสามารถขอไลเซ่นส์ 3G ได้หรือไม่นั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์หลังจากนี้
อย่างไรก็ตามสำหรับการพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูลว่าเป็นต่างชาติหรือไม่นั้น กทช.จะพิจารณาหลักฐานการยืนยันจากกระทรวงพาณิชย์ของผู้ประกอบการ โดยจะไม่ดำเนินการพิจารณาลงลึกด้วยตัวเอง แต่หากภายหลังตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการจงใจปิดบังว่าเป็นต่างชาติ กทช.จะยึดไลเซ่นส์ และไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการนั้นดำเนินกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยอีก
‘กทช.ไม่มีอำนาจพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นของผู้รับใบอนุญาตอย่างละเอียดแต่จะดูตามหลักฐานยืนยันของกระทรวงพาณิชย์ สำหรับประเด็นนี้กทช.ให้ความสำคัญน้อยกว่าการฮั้วประมูล ซึ่งหากพบว่ามีการฮั้วประมูล กทช.จะตัดสิทธิการดำเนินกิจการโทรคมนาคมทุกประเภทของผู้ประกอบการรายนั้น และจะไม่มีโอกาสดำเนินกิจการด้านนี้อีก’
**** เอไอเอสเทหมดหน้าตัก
นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า เอไอเอสไม่กังวลเรื่องการประมูลไลเซ่นส์ 3G เพราะขณะนี้ได้เปิดวงเงินกู้ กับสถาบันการเงินสำหรับการเข้าร่วมประมูลไลเซ่นส์ในช่วงความถี่ 15 เมกะเฮริตช์ ซึ่งเอไอเอสตั้งใจประมูลเพียงย่านเดียวเท่านั้นโดยจะส่งบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก จำกัด หรือ AWN ประมูลและเป็นผู้ลงทุนเปิดบริการ 3G
‘เอไอเอสยอมทุ่มไม่อั้นสำหรับไลเซ่นส์ 3G ในย่าน 15 เมกะเฮิรตช์ โดยไม่มีความกังวลว่าจะมีคู่แข่งเข้าร่วมประมูลมากน้อยแค่ไหน โดยในส่วนของบริษัทได้เตรียมความพร้อมเรื่องของเงินทุน ทั้งในส่วนเงินลงทุนโครงข่าย 75,000 ล้านบาท และเงินสำหรับประมูลไลเซ่นส์ไว้ต่างหาก’
ทั้งนี้เอไอเอส มีแผนทำโปรโมชันทางการตลาดจูงใจลูกค้าจำนวน 28 ล้านรายของเอไอเอสซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ให้มาใช้บริการ 3G ของบริษัท AWN ซึ่งการโอนย้ายของลูกค้าไม่ถือว่าทำผิดสัญญาสัมปทาน เพราะเป็นความสมัครใจของลูกค้า
อย่างไรก็ตาม เอไอเอสยังอยากให้กทช.ให้ความชัดเจนกรณีการทำ MVNO ว่า หากผู้ประกอบการที่เป็น MVNO มีสิทธิขอไลเซ่นส์ 3G หรือไม่ เพราะเอไอเอสสนใจการลงทุนทั้งรูปแบบไลเซ่นส์ 3G และ MVNO ซึ่งหากกทช.สรุปออกมาว่าผู้ทำMVNO ไม่มีสิทธิขอไลเซ่นส์ 3G เอไอเอสก็จะได้วางแผนเดินหน้าขอไลเซ่นส์และลงทุน 3G มาตรฐานบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์เพียงอย่างเดียว
ส่วนกรณีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลไทย ที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น เอไอเอสยืนยันและมั่นใจว่าบริษัทเป็นของคนไทย และสัดส่วนการถือครองหุ้นก็ได้ประกาศไว้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากบริษัท ผ่านขั้นตอนพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (PQ) ของกทช.แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
****ทรูยันมีเงินพอประมูล
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าทรูจะเข้าประมูลไลเซ่นส์ด้วยตัวเองก่อน เพราะไม่จำเป็นต้องหาพันธมิตรในช่วงเวลาดังกล่าวเนื่องจากทรูมีเงินเพียงพอในการยื่นเสนอราคาในทุกย่านความถี่ ซึ่งขั้นตอนการร่วมกับพันธมิตร คาดว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อมีการลงทุนโครงข่ายหรือสร้างสถานีฐานที่จะเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2553 ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติสนใจร่วมลงทุน 3G กับทรู ราว 6-7 ราย
ทั้งนี้คาดว่ารายได้รวมของบริษัทในปีนี้อาจจะเติบโตไม่ถึง 5% จากปีก่อนที่ทำรายได้กว่า 60,000 ล้านบาท เนื่องจากตลาดรวมโทรศัพท์มือถือเติบโตได้แค่ 2.5 ล้านเลขหมาย ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ในระดับ 4-5 ล้านเลขหมาย แต่บริษัทก็ยังมีแผนจะกระตุ้นตลาดครั้งใหญ่ในช่วงปลายปีนี้ โดยส่วนหนึ่งจะมารองรับบริการ 3G ด้วย
ด้านนายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย ทรูกล่าวว่า ร่างหลักเกณฑ์ 3G ของกทช. ดังกล่าว มีช่องโหว่ให้เกิดการร่วมลงทุนของต่างชาติที่เป็นนอมินี ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้มีการจำกัดสิทธิรัฐวิสาหกิจต่างด้าวเข้ามาลงทุนอย่างกลุ่มเทมาเสก และเทเลนอร์ ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการในไทยและในการเปิดประมูล 3G ผู้ที่มีเงินลงทุนจำนวนมากก็อาจจะปั่นราคาไลเซ่นส์ได้
**** ดีแทคขอความชัดเจน 5 ข้อ
สำหรับข้อเสนอของดีแทคในการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 2.1 GHz (1920-1965/2110–2155 MHz) อาทิ 1. เสนอให้ กทช. ประกาศแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ในย่านความถี่ 2.1 GHz ก่อนการประมูล 2. เสนอให้ กทช. กำหนดในเงื่อนไขใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีและบริการใดก็ได้ (Technology and Service Neutrality) เพื่อความยืดหยุ่นในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและปรับปรุงรูปแบบบริการในอนาคต
นอกจากนี้ดีแทคยังขอความชัดเจนในเรื่อง 1.ขอให้ กทช. ประกาศ Reserve Price (ราคาเริ่มต้นประมูล) โดยเร็ว เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายอาจต้องใช้ระยะเวลาในการขออนุมัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความล่าช้าในการประกาศ Reserve Price อาจเป็นการสร้างอุปสรรคในการเข้าร่วมประมูลแก่ผู้รับใบอนุญาตบางราย 2. รายละเอียดวิธีการคำนวณค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม อิงวิธีการคำนวณที่สะท้อนต้นทุนแบบ Long Run Incremental Cost (LRIC) ทั้งในกรณีของค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม, ค่าโรมมิ่ง, ค่าเช่าวงจรเชื่อมโยง 3. ขอให้ กทช. กำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจน หากปรากฎว่าผู้ยื่นคำขอที่มีคุณสมบัติครบถ้วนนั้นมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต 4 ใบที่ กทช. นำออกประมูลในครั้งนี้ 4. ความชัดเจนเกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ว่าสามารถต่ออายุได้หรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร และมีการคิดค่าธรรมเนียมการต่ออายุ (Renewal Fee) หรือไม่
5. เนื่องจากผู้สนใจเข้าร่วมประมูล (เช่น บริษัทฯ) ต่างต้องจัดเตรียมแผนการลงทุนของตน ซึ่งปัจจุบันแผนการลงทุนนั้นไม่สามารถสรุปให้ชัดเจนได้เนื่องจากปัจจัยที่ไม่แน่นอนหลายประการ ซึ่งนอกเหนือจากปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนของประกาศ กทช. ว่าด้วยการร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันแล้ว ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนอื่น ๆ อีกเช่น ค่าคลื่นความถี่ (ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ กทช. ได้หยิบยกประเด็นเรื่องความเหมาะสมของราคาคลื่นความถี่ในปัจจุบัน) และค่า USO ซึ่งผู้ลงทุนย่อมต้องการความแน่นอนในด้านของต้นทุน ดังนั้น บริษัทฯ ขอให้ กทช. ช่วยสร้างความชัดเจนเพื่อทำให้ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์จำนวนเงินลงทุนที่เหมาะสมได้ก่อนการประมูล
นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวในงานประชาพิจารณ์ 3G ว่าในสัปดาห์ที่สองของเดือนธ.ค.จะเปิดประมูลใบอนุญาตหรือไลเซ่นส์ 3G แบบพร้อมกันหลายรอบ ( Simultaneous Multiple Round หรือ SMR) โดยจะจัดสรรเป็น 4 ช่วงความถี่ หรือ 4 ใบอนุญาตได้แก่ใบอนุญาตสำหรับช่วงความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบ และอีก 3 ใบสำหรับช่วงความถี่รายละ 10 เมกะเฮิรตซ์และหลังจากนั้น 2 สัปดาห์คาดว่าจะสามารถให้ไลเซ่นส์แก่ผู้ชนะการประมูล โดยที่กทช.จะทำการทดสอบการประมูลครั้งสุดท้ายในวันที่ 8-9 ต.ค.ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่เข้าจะร่วมประมูลจะมีสิทธิในการเสนอราคาประมูลได้เพียง 1 ใบอนุญาตเท่านั้น โดยก่อนเข้าร่วมการประมูลจะต้องวางเงินมัดจำ (แบงการันตี ) เท่ากับราคาเริ่มต้นประมูลหรือราคากลางของใบอนุญาต โดยที่ราคากลางใบอนุญาตขณะนี้ที่ปรึกษาได้เสนอมาแล้ว ซึ่งกทช.จะหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.ก่อนที่จะมีการประกาศหลักเกณฑ์การประมูลลงในราชกิจจานุเบกษา ส่วนการสรุปว่าผู้ทำ MVNO (Mobile Virtual Network Operator หรือผู้รับช่วงทำการตลาด) จะสามารถขอไลเซ่นส์ 3G ได้หรือไม่นั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์หลังจากนี้
อย่างไรก็ตามสำหรับการพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูลว่าเป็นต่างชาติหรือไม่นั้น กทช.จะพิจารณาหลักฐานการยืนยันจากกระทรวงพาณิชย์ของผู้ประกอบการ โดยจะไม่ดำเนินการพิจารณาลงลึกด้วยตัวเอง แต่หากภายหลังตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการจงใจปิดบังว่าเป็นต่างชาติ กทช.จะยึดไลเซ่นส์ และไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการนั้นดำเนินกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยอีก
‘กทช.ไม่มีอำนาจพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นของผู้รับใบอนุญาตอย่างละเอียดแต่จะดูตามหลักฐานยืนยันของกระทรวงพาณิชย์ สำหรับประเด็นนี้กทช.ให้ความสำคัญน้อยกว่าการฮั้วประมูล ซึ่งหากพบว่ามีการฮั้วประมูล กทช.จะตัดสิทธิการดำเนินกิจการโทรคมนาคมทุกประเภทของผู้ประกอบการรายนั้น และจะไม่มีโอกาสดำเนินกิจการด้านนี้อีก’
**** เอไอเอสเทหมดหน้าตัก
นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า เอไอเอสไม่กังวลเรื่องการประมูลไลเซ่นส์ 3G เพราะขณะนี้ได้เปิดวงเงินกู้ กับสถาบันการเงินสำหรับการเข้าร่วมประมูลไลเซ่นส์ในช่วงความถี่ 15 เมกะเฮริตช์ ซึ่งเอไอเอสตั้งใจประมูลเพียงย่านเดียวเท่านั้นโดยจะส่งบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก จำกัด หรือ AWN ประมูลและเป็นผู้ลงทุนเปิดบริการ 3G
‘เอไอเอสยอมทุ่มไม่อั้นสำหรับไลเซ่นส์ 3G ในย่าน 15 เมกะเฮิรตช์ โดยไม่มีความกังวลว่าจะมีคู่แข่งเข้าร่วมประมูลมากน้อยแค่ไหน โดยในส่วนของบริษัทได้เตรียมความพร้อมเรื่องของเงินทุน ทั้งในส่วนเงินลงทุนโครงข่าย 75,000 ล้านบาท และเงินสำหรับประมูลไลเซ่นส์ไว้ต่างหาก’
ทั้งนี้เอไอเอส มีแผนทำโปรโมชันทางการตลาดจูงใจลูกค้าจำนวน 28 ล้านรายของเอไอเอสซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ให้มาใช้บริการ 3G ของบริษัท AWN ซึ่งการโอนย้ายของลูกค้าไม่ถือว่าทำผิดสัญญาสัมปทาน เพราะเป็นความสมัครใจของลูกค้า
อย่างไรก็ตาม เอไอเอสยังอยากให้กทช.ให้ความชัดเจนกรณีการทำ MVNO ว่า หากผู้ประกอบการที่เป็น MVNO มีสิทธิขอไลเซ่นส์ 3G หรือไม่ เพราะเอไอเอสสนใจการลงทุนทั้งรูปแบบไลเซ่นส์ 3G และ MVNO ซึ่งหากกทช.สรุปออกมาว่าผู้ทำMVNO ไม่มีสิทธิขอไลเซ่นส์ 3G เอไอเอสก็จะได้วางแผนเดินหน้าขอไลเซ่นส์และลงทุน 3G มาตรฐานบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์เพียงอย่างเดียว
ส่วนกรณีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลไทย ที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น เอไอเอสยืนยันและมั่นใจว่าบริษัทเป็นของคนไทย และสัดส่วนการถือครองหุ้นก็ได้ประกาศไว้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากบริษัท ผ่านขั้นตอนพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (PQ) ของกทช.แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
****ทรูยันมีเงินพอประมูล
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าทรูจะเข้าประมูลไลเซ่นส์ด้วยตัวเองก่อน เพราะไม่จำเป็นต้องหาพันธมิตรในช่วงเวลาดังกล่าวเนื่องจากทรูมีเงินเพียงพอในการยื่นเสนอราคาในทุกย่านความถี่ ซึ่งขั้นตอนการร่วมกับพันธมิตร คาดว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อมีการลงทุนโครงข่ายหรือสร้างสถานีฐานที่จะเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2553 ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติสนใจร่วมลงทุน 3G กับทรู ราว 6-7 ราย
ทั้งนี้คาดว่ารายได้รวมของบริษัทในปีนี้อาจจะเติบโตไม่ถึง 5% จากปีก่อนที่ทำรายได้กว่า 60,000 ล้านบาท เนื่องจากตลาดรวมโทรศัพท์มือถือเติบโตได้แค่ 2.5 ล้านเลขหมาย ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ในระดับ 4-5 ล้านเลขหมาย แต่บริษัทก็ยังมีแผนจะกระตุ้นตลาดครั้งใหญ่ในช่วงปลายปีนี้ โดยส่วนหนึ่งจะมารองรับบริการ 3G ด้วย
ด้านนายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย ทรูกล่าวว่า ร่างหลักเกณฑ์ 3G ของกทช. ดังกล่าว มีช่องโหว่ให้เกิดการร่วมลงทุนของต่างชาติที่เป็นนอมินี ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้มีการจำกัดสิทธิรัฐวิสาหกิจต่างด้าวเข้ามาลงทุนอย่างกลุ่มเทมาเสก และเทเลนอร์ ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการในไทยและในการเปิดประมูล 3G ผู้ที่มีเงินลงทุนจำนวนมากก็อาจจะปั่นราคาไลเซ่นส์ได้
**** ดีแทคขอความชัดเจน 5 ข้อ
สำหรับข้อเสนอของดีแทคในการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 2.1 GHz (1920-1965/2110–2155 MHz) อาทิ 1. เสนอให้ กทช. ประกาศแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ในย่านความถี่ 2.1 GHz ก่อนการประมูล 2. เสนอให้ กทช. กำหนดในเงื่อนไขใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีและบริการใดก็ได้ (Technology and Service Neutrality) เพื่อความยืดหยุ่นในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและปรับปรุงรูปแบบบริการในอนาคต
นอกจากนี้ดีแทคยังขอความชัดเจนในเรื่อง 1.ขอให้ กทช. ประกาศ Reserve Price (ราคาเริ่มต้นประมูล) โดยเร็ว เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายอาจต้องใช้ระยะเวลาในการขออนุมัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความล่าช้าในการประกาศ Reserve Price อาจเป็นการสร้างอุปสรรคในการเข้าร่วมประมูลแก่ผู้รับใบอนุญาตบางราย 2. รายละเอียดวิธีการคำนวณค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม อิงวิธีการคำนวณที่สะท้อนต้นทุนแบบ Long Run Incremental Cost (LRIC) ทั้งในกรณีของค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม, ค่าโรมมิ่ง, ค่าเช่าวงจรเชื่อมโยง 3. ขอให้ กทช. กำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจน หากปรากฎว่าผู้ยื่นคำขอที่มีคุณสมบัติครบถ้วนนั้นมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต 4 ใบที่ กทช. นำออกประมูลในครั้งนี้ 4. ความชัดเจนเกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ว่าสามารถต่ออายุได้หรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร และมีการคิดค่าธรรมเนียมการต่ออายุ (Renewal Fee) หรือไม่
5. เนื่องจากผู้สนใจเข้าร่วมประมูล (เช่น บริษัทฯ) ต่างต้องจัดเตรียมแผนการลงทุนของตน ซึ่งปัจจุบันแผนการลงทุนนั้นไม่สามารถสรุปให้ชัดเจนได้เนื่องจากปัจจัยที่ไม่แน่นอนหลายประการ ซึ่งนอกเหนือจากปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนของประกาศ กทช. ว่าด้วยการร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันแล้ว ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนอื่น ๆ อีกเช่น ค่าคลื่นความถี่ (ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ กทช. ได้หยิบยกประเด็นเรื่องความเหมาะสมของราคาคลื่นความถี่ในปัจจุบัน) และค่า USO ซึ่งผู้ลงทุนย่อมต้องการความแน่นอนในด้านของต้นทุน ดังนั้น บริษัทฯ ขอให้ กทช. ช่วยสร้างความชัดเจนเพื่อทำให้ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์จำนวนเงินลงทุนที่เหมาะสมได้ก่อนการประมูล