ASTVผู้จัดการรายวัน - กทช. เดินหน้าประชาพิจารณ์ไวแม็กซ์ คาดประมูลใบอนุญาตไล่หลัง 3G เผยระหว่างนี้เดินหน้าเจรจาผู้ใช้คลื่นความถี่เดิมย้ายไปใช้คลื่นความถี่ใหม่ พร้อมเปิดทางทีโอทีสามารถเจรจาขอความถี่ไว้ในมือครึ่งหนึ่งเพื่อให้บริการไวแมกซ์ จากปัจจุบันที่มีความถี่อยู่จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์
นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องการอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย หรือ บรอดแบนด์ ไวร์เลส แอ็คเซ็ส ในส่วนของคลื่นความถี่ที่ให้บริการไวแม็กซ์ (อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง) เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมาว่าการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อต้องการรับฟังข้อคิดเห็นสาธารณะเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการอนุญาตในการใช้คลื่นไวแม็กซ์ว่าควรให้ใบอนุญาตครอบคลุมการให้บริการทั่วประเทศ หรือครอบคลุมเพียงระดับภูมิภาค รวมถึงจำนวนและอายุของใบอนุญาตซึ่งเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ 10 ปี
นอกจากนี้ยังรับฟังความเห็นในเรื่องแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่านความถี่ 2.3-2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีอยู่ 100 เมกะเฮิรตซ์ ว่าจะให้ผู้ประกอบการได้รับการจัดสรรไปประกอบกิจการรายละเท่าไหร่ โดยหลังจากทำประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นแล้ว คณะทำงานจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเพื่อหาข้อสรุป และคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลใบอนุญาตไวแม็กซ์ได้หลังจากประมูลใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ประมาณ 1 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามในระหว่างที่คณะทำงานกำลังรวบรวมข้อมูลหลังรับฟังความคิดเห็น ก็จะเร่งเจรจากับผู้ประกอบการจำนวน 11 รายที่ยังใช้งานในย่านความถี่ 2.3-2.4 กิกะเฮิรตซ์ ให้โอนย้ายไปดำเนินงานในย่านความถี่ใหม่ที่กทช.จะเป็นผู้จัดสรรให้ โดยวิธีนี้เรียกว่าการทำ “รี-ฟาร์มมิ่ง” ซึ่งเป็นการเรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อจัดสรรต่อไป
ทั้งนี้ความถี่ในย่าน 2.3 กิกะเฮิร์ตซ ปัจจุบันบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถือครองช่วงคลื่นความถี่อยู่ จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นคณะทำงานต้องเจรจาขอให้ทีโอทีย้ายบริการที่มีอยู่ไปใช้คลื่นความถี่ใหม่ แต่หากทีโอทีต้องการเก็บช่วงคลื่นความถี่ไว้ให้บริการไวแม็กซ์ก็สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับการเจรจากับคณะทำงานกทช. ซึ่งทีโอทีอาจเก็บคลื่นความถี่ไว้ครึ่งหนึ่งและคืนให้กทช.จัดสรรใหม่อีกครึ่งหนึ่งก็ได้ เบื้องต้นกทช.จะนำย่านความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ จำนวนประมาณ 100 เมกะเฮิรตซ์ (รวมในส่วนที่ทีโอทีถือครองทั้งหมด) มาจัดสรรสำหรับเปิดให้ใบอนุญาตไวแม็กซ์
สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นที่ยังใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว หากต้องการเรียกเก็บค่าชดเชย ผู้ประมูลไลเซ่นส์ใหม่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยราคากลางไลเซ่นส์จะเริ่มต้นที่ราคาชดเชยที่ผู้ประกอบการรายเดิมเรียก เบื้องต้นคาดว่าราคาใบอนุญาตประกอบกิจการไวแม็กซ์ อาจจะมีราคาใกล้เคียงกับการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ 3G เพราะถือว่าเป็นความถี่ที่มีอยู่น้อยเช่นเดียวกัน
นายเศรษฐพรกล่าวว่าย่านความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์จะสามารถเปิดประมูลเพื่อให้บริการไวแม็กซ์ได้ก่อน เนื่องจากกทช.สามารถเจรจาขอให้ผู้ให้บริการย้ายไปให้บริการบนคลื่นความถี่ใหม่ได้ทันที ต่างจากย่านความถี่ 2.5-2.6 กิกะเฮิรตซ์ ที่มีการจัดสรรให้หน่วยงานของรัฐเพื่อใช้ในระบบสื่อสารแบบมัลติมีเดีย (มัลติมีเดีย ดิสทรีบิวชั่น ซิสเต็ม หรือ เอ็มเอ็มดีเอส)ซึ่งถือเป็นใบอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์ดังนั้นจึงต้องรอกสทช.มาดำเนินการ
นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องการอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย หรือ บรอดแบนด์ ไวร์เลส แอ็คเซ็ส ในส่วนของคลื่นความถี่ที่ให้บริการไวแม็กซ์ (อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง) เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมาว่าการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อต้องการรับฟังข้อคิดเห็นสาธารณะเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการอนุญาตในการใช้คลื่นไวแม็กซ์ว่าควรให้ใบอนุญาตครอบคลุมการให้บริการทั่วประเทศ หรือครอบคลุมเพียงระดับภูมิภาค รวมถึงจำนวนและอายุของใบอนุญาตซึ่งเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ 10 ปี
นอกจากนี้ยังรับฟังความเห็นในเรื่องแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่านความถี่ 2.3-2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีอยู่ 100 เมกะเฮิรตซ์ ว่าจะให้ผู้ประกอบการได้รับการจัดสรรไปประกอบกิจการรายละเท่าไหร่ โดยหลังจากทำประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นแล้ว คณะทำงานจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเพื่อหาข้อสรุป และคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลใบอนุญาตไวแม็กซ์ได้หลังจากประมูลใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ประมาณ 1 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามในระหว่างที่คณะทำงานกำลังรวบรวมข้อมูลหลังรับฟังความคิดเห็น ก็จะเร่งเจรจากับผู้ประกอบการจำนวน 11 รายที่ยังใช้งานในย่านความถี่ 2.3-2.4 กิกะเฮิรตซ์ ให้โอนย้ายไปดำเนินงานในย่านความถี่ใหม่ที่กทช.จะเป็นผู้จัดสรรให้ โดยวิธีนี้เรียกว่าการทำ “รี-ฟาร์มมิ่ง” ซึ่งเป็นการเรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อจัดสรรต่อไป
ทั้งนี้ความถี่ในย่าน 2.3 กิกะเฮิร์ตซ ปัจจุบันบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถือครองช่วงคลื่นความถี่อยู่ จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นคณะทำงานต้องเจรจาขอให้ทีโอทีย้ายบริการที่มีอยู่ไปใช้คลื่นความถี่ใหม่ แต่หากทีโอทีต้องการเก็บช่วงคลื่นความถี่ไว้ให้บริการไวแม็กซ์ก็สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับการเจรจากับคณะทำงานกทช. ซึ่งทีโอทีอาจเก็บคลื่นความถี่ไว้ครึ่งหนึ่งและคืนให้กทช.จัดสรรใหม่อีกครึ่งหนึ่งก็ได้ เบื้องต้นกทช.จะนำย่านความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ จำนวนประมาณ 100 เมกะเฮิรตซ์ (รวมในส่วนที่ทีโอทีถือครองทั้งหมด) มาจัดสรรสำหรับเปิดให้ใบอนุญาตไวแม็กซ์
สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นที่ยังใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว หากต้องการเรียกเก็บค่าชดเชย ผู้ประมูลไลเซ่นส์ใหม่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยราคากลางไลเซ่นส์จะเริ่มต้นที่ราคาชดเชยที่ผู้ประกอบการรายเดิมเรียก เบื้องต้นคาดว่าราคาใบอนุญาตประกอบกิจการไวแม็กซ์ อาจจะมีราคาใกล้เคียงกับการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ 3G เพราะถือว่าเป็นความถี่ที่มีอยู่น้อยเช่นเดียวกัน
นายเศรษฐพรกล่าวว่าย่านความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์จะสามารถเปิดประมูลเพื่อให้บริการไวแม็กซ์ได้ก่อน เนื่องจากกทช.สามารถเจรจาขอให้ผู้ให้บริการย้ายไปให้บริการบนคลื่นความถี่ใหม่ได้ทันที ต่างจากย่านความถี่ 2.5-2.6 กิกะเฮิรตซ์ ที่มีการจัดสรรให้หน่วยงานของรัฐเพื่อใช้ในระบบสื่อสารแบบมัลติมีเดีย (มัลติมีเดีย ดิสทรีบิวชั่น ซิสเต็ม หรือ เอ็มเอ็มดีเอส)ซึ่งถือเป็นใบอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์ดังนั้นจึงต้องรอกสทช.มาดำเนินการ