จากโรงงานทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก สู่ผู้ผลิตชิ้นงานดีไซน์ระดับโลก นี่คือ เส้นทางความสำเร็จของ Qualy แบรนด์ไทยที่กลายเป็นคลื่นลูกใหม่ในตลาดโลก เพราะเวลาเพียง 4 ปี กับการเปิดตลาด 19 ประเทศของการส่งออก บ่งบอกศักยภาพผู้ประกอบการน้องใหม่รายนี้ถึงการความสามารถในการปั้นแบรนด์ไทยให้โกอินเตอร์ได้อย่างเต็มตัว
ทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท New Arriva จำกัด เจ้าของแบรนด์ Qualy เปิดประเด็นความสำเร็จ ด้วยการเล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจว่า เดิมทีธุรกิจของครอบครัวทำโรงงานผลิตชิ้นงานพลาสติกทั่วไปและมีธุรกิจรับออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วย จนกระทั่งเมื่อประมาณ 4 ปีก่อนได้เกิดแนวคิดอยากจะมีแบรนด์เป็นของตัวเองขึ้นมา เพราะอยากทำสินค้าให้คนไทยได้ใช้ของที่มีดีไซน์สวยในราคาที่สามารถซื้อใช้ได้ และอีหนึ่งเหตุผลสำคัญคือการทำ OEM ในเวลานั้นเริ่มเก็บเงินลูกค้ายากขึ้น จึงมองว่าการสร้างแบรนด์เพื่อส่งออกเองน่าจะเป็นการลดความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง
กระนั้นก็ใช่ว่านึกอยากทำก็ลงมือทำได้ทันที สำหรับผู้ชายคนนี้ได้เริ่มต้นธุรกิจจากการศึกษาตลาดก่อน ด้วยการตระเวนเดินสายดูงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพราะเป้าหมายครั้งนี้เขามองไปถึงตลาดโลก
"การไปเดินงานแฟร์ในต่างประเทศเพื่อดูเทรนด์โลกข้างนอกเขาทำอะไรบ้าง ไปดูก็เห็นภาพใหญ่คราวๆ จึงตกลงว่าเราจะทำงานดีไซน์ เป็นงานที่ไม่เหมือนใค โดยที่ว่าเราเริ่มทำตลาดนิช (Niche Market) ก่อน เพราะเราเป็นบริษัทเล็กๆ ถ้าทำตลาดแมส เราต้องมีโกดังที่ใหญ่ขึ้น ต้องมีคนมากขึ้น”
จากการตัดสินใจในครั้งนั้น โปรดักส์ดีไซน์ในสไตล์เฉพาะตัวภายใต้แบรนด์ Qualy จึงเกิดขึ้นพร้อมกับคำจำกัดความของคำว่า Qualy คือ การแต่งบ้านแบบใช้ชีวิตอย่างมีสไตล์
“ลูกค้าของ Qualy จะเป็นลูกค้าผู้หญิง เป็นแม่บ้านทันสมัย คนรุ่นใหม่อายุ 20 -40 ปี อย่างถังขยะ ใช้แบบธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าใช้ของ Qualy ก็จะกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์อีกชิ้นหนึ่ง เราเน้นในเรื่องของฟังก์ชั่น คือ ต้องใช้ได้จริง แต่เรามาเพิ่มดีไซน์และสีสันที่สดใสเข้าไป”
“ช่วงแรกลูกค้าเห็นก็สับสนกับอีกแบรนด์หนึ่งที่เขาดังกว่า ซึ่งแบรนด์นั้นเขามีจุดเด่นที่เน้นความขี้เล่น แต่ของ Qualy จะเป็นของแต่งบ้านที่ใช้ได้จริงและมีสีสันสวยงาม ตอนนี้คนก็สามารถแยกออกได้มากขึ้น คนจะจำชิ้นงานเป็นบางชิ้น เช่น เรามีคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Extra Large กับ Extra Small อย่างเช่น แอปเปิ้ลลูกใหญ่ หรือสกรูแขวนผนังตัวใหญ่ ทั้งหมดนี้เป็นงานดีไซน์ที่เริ่มทำเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้นมา”
สำหรับก้าวแรกของการทำตลาด ทศพล เล่าว่าในช่วง 1-2 ปีแรก จะอาศัยการออกงานแสดงสินค้า โดยเริ่มจากในประเทศ เช่นงานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน (BIG& BIH) จากนั้นก็ขยับขยายไปออกงานที่ฮ่องกงและที่เยอรมัน เริ่มทำให้มีลูกค้าต่างประเทศรู้จักมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญีปุ่น ออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงประเทศในแถบยุโรป
“เราเริ่มเจอลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าก็จะเป็นคนกำหนดตลาดให้เอาเอง เริ่มมีการถามหาว่ายูมีไอเท็มนี้ไหม คราวนี้เราก็เริ่มทำสินค้าที่ลูกค้าซื้อแน่นอนก่อน อย่างทำสินค้า A ขึ้นมาหมื่นชิ้น มีลูกค้าซื้อแน่นอน 6-7 พันชิ้น เราได้เงินกลับมาแน่นอน หลังๆก็เริ่มสร้างแบรนด์มากขึ้น เวลาเราไปงานแฟร์ต่างประเทศ เราก็ย้ายไปเรื่อยๆจนได้ไปอยู่ในดีไซน์ฮอลล์ของเยอรมัน ตอนนี้เราก็เลยได้เป็นแบรนด์ไทยที่เข้าไปอยู่ในฮอลล์นั้น ทำให้ลูกค้าเริ่มรู้จักเราในฐานะแบรนด์ไทย”
ถึงวันนี้ Qualy ถูกส่งออกไปยัง 19 ประเทศทั่วโลก มีทั้งที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งมียอดสั่งซื้อครั้งละมากๆ แต่ติดเงื่อนไขที่ต้องใช้แบรนด์ของเขา อีกส่วนเป็นกลุ่มลูกค้ารายย่อย แม้ยอดสั่งซื้อจะไม่สูงเท่า แต่มีโอกาสของการสร้างแบรนด์ได้มากกว่า ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าที่ซื้อของเราไปขายภายใต้ชื่อ Qualy เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ลูกค้าจากสแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เดนมาส์ค มาเลเซีย เป็นต้น และหากลูกค้ากลุ่มนี้ซื้อจำนวนมาก ก็จะให้ป้ายชื่อ กล่องไฟ ถุงพลาสติก และโบชัวร์ไปใช้ในการทำตลาดด้วย ส่วนหนึ่งถือเป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ ส่วนใหญ่สินค้าของ Qualy นั้นจะถูกนำไปวางขายในร้านประเภท Retail Shop, Specialist Shop หรือ Designer Shop
“หลังๆในส่วนของการซื้อแบรนด์เรามีการเติบโตขึ้นเยอะสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70% ส่วนบางตลาดที่เจาะยากก็ต้องยอมขายในแบรนด์เขา อย่างภาคพื้นยุโรปเราจะขายดีมาก อเมริกาเราเพิ่งเปิดตลาดได้ปีนี้เอง ทั้งที่ทำตลาดมาตั้งนานแล้ว พอเปิดตลาดได้ก็ได้ลูกค้ามาทันที 3-4 ราย เป็นอะไรที่สวนกระแสเหมือนกัน ผมมองว่าตอนนี้ตลาดอเมริกากำลังอยู่ในช่วงขาลง แต่คงเป็นเพราะของเราเป็นของใหม่ที่เข้าไปอยู่ในตลาดเขา จึงเป็นโอกาสของเรา”
อย่างไรก็ดี ด้วยการวางตำแหน่งทางการตลาดให้อยู่ในกลุ่มนิชมาร์เก็ต ทำให้สินค้าภายใต้แบรนด์ Qualy ในสายตาของชาวโลกนั้นถูกจัดวางอยู่ในกลุ่มสินค้าระดับพรีเมี่ยมที่สามารถแข่งขันในราคาที่สูงได้ เพราะลูกค้าต่างชาติค่อนข้างชื่นชอบงานดีไซน์ที่มาจากประเทศไทย และแบรนด์ไทยเองก็เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ ทศพลยังเล่าถึงเป้าหมายในอนาคตด้วยว่า ในปี 2553-2554 นี้ มีแผนที่จะเปิดช็อป Qualy ขึ้นมาในเมืองไทยก่อนเพื่อเป็นต้นแบบ เนื่องจากมองว่าหากมีโอกาสที่ดีก็จะไปเปิดช็อปที่ต่างประเทศ ซึ่งที่คิดๆไว้ในเวลานี้ คือที่นิวยอร์ก ลอนดอน ซิดนีย์ ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการขายช็อปให้กับผู้ที่สนใจ โดยเราจะทำหน้าที่จัดส่งสินค้าใหม่ๆไปยังช็อปเหล่านี้ ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งในอนาคต แต่อาจยังไม่ใช่ในเวลาอันใกล้นี้ เพราะต้องวางระบบและรูปแบบให้พร้อมสมบูรณ์ก่อน
พร้อมกันนี้ เจ้าของแบรนด์ Qualy ยังได้ฝากเทคนิคการทำตลาดในต่างประเทศถึงผู้ที่สนใจด้วยว่า การจะออกไปทำตลาดในต่างประเทศ สิ่งสำคัญต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ไม่เสียหายมากนักหากคุณจะลองไปเดินเล่นงานแสดงสินค้าหรือไปเดินในห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ ดูว่าสินค้าที่ใกล้เคียงกับของคุณนั้นขายกันเท่าไร แล้วให้ย้อนกลับมาเพื่อจะได้ดูว่าต้นทุนคุณทำได้ไหม ได้กำไรเท่าไร แต่อย่าพยายามแข่งเรื่องราคาเพราะไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่นอน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องรู้ไว้คือตลาดต่างประเทศมีฤดูกาล ต้องศึกษาว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นนี้จะนำไปขายในโอกาสหรือฤดูกาลไหน
นี่คือเคล็ดไม่ลับสำหรับแบรนด์ไทยกับการสร้างโอกาสเติบโตในต่างแดน เพียงแต่คุณต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดเท่านั้น
****ข้อมูลจาก www.smethailandclub.com****
ทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท New Arriva จำกัด เจ้าของแบรนด์ Qualy เปิดประเด็นความสำเร็จ ด้วยการเล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจว่า เดิมทีธุรกิจของครอบครัวทำโรงงานผลิตชิ้นงานพลาสติกทั่วไปและมีธุรกิจรับออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วย จนกระทั่งเมื่อประมาณ 4 ปีก่อนได้เกิดแนวคิดอยากจะมีแบรนด์เป็นของตัวเองขึ้นมา เพราะอยากทำสินค้าให้คนไทยได้ใช้ของที่มีดีไซน์สวยในราคาที่สามารถซื้อใช้ได้ และอีหนึ่งเหตุผลสำคัญคือการทำ OEM ในเวลานั้นเริ่มเก็บเงินลูกค้ายากขึ้น จึงมองว่าการสร้างแบรนด์เพื่อส่งออกเองน่าจะเป็นการลดความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง
กระนั้นก็ใช่ว่านึกอยากทำก็ลงมือทำได้ทันที สำหรับผู้ชายคนนี้ได้เริ่มต้นธุรกิจจากการศึกษาตลาดก่อน ด้วยการตระเวนเดินสายดูงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพราะเป้าหมายครั้งนี้เขามองไปถึงตลาดโลก
"การไปเดินงานแฟร์ในต่างประเทศเพื่อดูเทรนด์โลกข้างนอกเขาทำอะไรบ้าง ไปดูก็เห็นภาพใหญ่คราวๆ จึงตกลงว่าเราจะทำงานดีไซน์ เป็นงานที่ไม่เหมือนใค โดยที่ว่าเราเริ่มทำตลาดนิช (Niche Market) ก่อน เพราะเราเป็นบริษัทเล็กๆ ถ้าทำตลาดแมส เราต้องมีโกดังที่ใหญ่ขึ้น ต้องมีคนมากขึ้น”
จากการตัดสินใจในครั้งนั้น โปรดักส์ดีไซน์ในสไตล์เฉพาะตัวภายใต้แบรนด์ Qualy จึงเกิดขึ้นพร้อมกับคำจำกัดความของคำว่า Qualy คือ การแต่งบ้านแบบใช้ชีวิตอย่างมีสไตล์
“ลูกค้าของ Qualy จะเป็นลูกค้าผู้หญิง เป็นแม่บ้านทันสมัย คนรุ่นใหม่อายุ 20 -40 ปี อย่างถังขยะ ใช้แบบธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าใช้ของ Qualy ก็จะกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์อีกชิ้นหนึ่ง เราเน้นในเรื่องของฟังก์ชั่น คือ ต้องใช้ได้จริง แต่เรามาเพิ่มดีไซน์และสีสันที่สดใสเข้าไป”
“ช่วงแรกลูกค้าเห็นก็สับสนกับอีกแบรนด์หนึ่งที่เขาดังกว่า ซึ่งแบรนด์นั้นเขามีจุดเด่นที่เน้นความขี้เล่น แต่ของ Qualy จะเป็นของแต่งบ้านที่ใช้ได้จริงและมีสีสันสวยงาม ตอนนี้คนก็สามารถแยกออกได้มากขึ้น คนจะจำชิ้นงานเป็นบางชิ้น เช่น เรามีคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Extra Large กับ Extra Small อย่างเช่น แอปเปิ้ลลูกใหญ่ หรือสกรูแขวนผนังตัวใหญ่ ทั้งหมดนี้เป็นงานดีไซน์ที่เริ่มทำเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้นมา”
สำหรับก้าวแรกของการทำตลาด ทศพล เล่าว่าในช่วง 1-2 ปีแรก จะอาศัยการออกงานแสดงสินค้า โดยเริ่มจากในประเทศ เช่นงานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน (BIG& BIH) จากนั้นก็ขยับขยายไปออกงานที่ฮ่องกงและที่เยอรมัน เริ่มทำให้มีลูกค้าต่างประเทศรู้จักมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญีปุ่น ออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงประเทศในแถบยุโรป
“เราเริ่มเจอลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าก็จะเป็นคนกำหนดตลาดให้เอาเอง เริ่มมีการถามหาว่ายูมีไอเท็มนี้ไหม คราวนี้เราก็เริ่มทำสินค้าที่ลูกค้าซื้อแน่นอนก่อน อย่างทำสินค้า A ขึ้นมาหมื่นชิ้น มีลูกค้าซื้อแน่นอน 6-7 พันชิ้น เราได้เงินกลับมาแน่นอน หลังๆก็เริ่มสร้างแบรนด์มากขึ้น เวลาเราไปงานแฟร์ต่างประเทศ เราก็ย้ายไปเรื่อยๆจนได้ไปอยู่ในดีไซน์ฮอลล์ของเยอรมัน ตอนนี้เราก็เลยได้เป็นแบรนด์ไทยที่เข้าไปอยู่ในฮอลล์นั้น ทำให้ลูกค้าเริ่มรู้จักเราในฐานะแบรนด์ไทย”
ถึงวันนี้ Qualy ถูกส่งออกไปยัง 19 ประเทศทั่วโลก มีทั้งที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งมียอดสั่งซื้อครั้งละมากๆ แต่ติดเงื่อนไขที่ต้องใช้แบรนด์ของเขา อีกส่วนเป็นกลุ่มลูกค้ารายย่อย แม้ยอดสั่งซื้อจะไม่สูงเท่า แต่มีโอกาสของการสร้างแบรนด์ได้มากกว่า ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าที่ซื้อของเราไปขายภายใต้ชื่อ Qualy เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ลูกค้าจากสแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เดนมาส์ค มาเลเซีย เป็นต้น และหากลูกค้ากลุ่มนี้ซื้อจำนวนมาก ก็จะให้ป้ายชื่อ กล่องไฟ ถุงพลาสติก และโบชัวร์ไปใช้ในการทำตลาดด้วย ส่วนหนึ่งถือเป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ ส่วนใหญ่สินค้าของ Qualy นั้นจะถูกนำไปวางขายในร้านประเภท Retail Shop, Specialist Shop หรือ Designer Shop
“หลังๆในส่วนของการซื้อแบรนด์เรามีการเติบโตขึ้นเยอะสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70% ส่วนบางตลาดที่เจาะยากก็ต้องยอมขายในแบรนด์เขา อย่างภาคพื้นยุโรปเราจะขายดีมาก อเมริกาเราเพิ่งเปิดตลาดได้ปีนี้เอง ทั้งที่ทำตลาดมาตั้งนานแล้ว พอเปิดตลาดได้ก็ได้ลูกค้ามาทันที 3-4 ราย เป็นอะไรที่สวนกระแสเหมือนกัน ผมมองว่าตอนนี้ตลาดอเมริกากำลังอยู่ในช่วงขาลง แต่คงเป็นเพราะของเราเป็นของใหม่ที่เข้าไปอยู่ในตลาดเขา จึงเป็นโอกาสของเรา”
อย่างไรก็ดี ด้วยการวางตำแหน่งทางการตลาดให้อยู่ในกลุ่มนิชมาร์เก็ต ทำให้สินค้าภายใต้แบรนด์ Qualy ในสายตาของชาวโลกนั้นถูกจัดวางอยู่ในกลุ่มสินค้าระดับพรีเมี่ยมที่สามารถแข่งขันในราคาที่สูงได้ เพราะลูกค้าต่างชาติค่อนข้างชื่นชอบงานดีไซน์ที่มาจากประเทศไทย และแบรนด์ไทยเองก็เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ ทศพลยังเล่าถึงเป้าหมายในอนาคตด้วยว่า ในปี 2553-2554 นี้ มีแผนที่จะเปิดช็อป Qualy ขึ้นมาในเมืองไทยก่อนเพื่อเป็นต้นแบบ เนื่องจากมองว่าหากมีโอกาสที่ดีก็จะไปเปิดช็อปที่ต่างประเทศ ซึ่งที่คิดๆไว้ในเวลานี้ คือที่นิวยอร์ก ลอนดอน ซิดนีย์ ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการขายช็อปให้กับผู้ที่สนใจ โดยเราจะทำหน้าที่จัดส่งสินค้าใหม่ๆไปยังช็อปเหล่านี้ ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งในอนาคต แต่อาจยังไม่ใช่ในเวลาอันใกล้นี้ เพราะต้องวางระบบและรูปแบบให้พร้อมสมบูรณ์ก่อน
พร้อมกันนี้ เจ้าของแบรนด์ Qualy ยังได้ฝากเทคนิคการทำตลาดในต่างประเทศถึงผู้ที่สนใจด้วยว่า การจะออกไปทำตลาดในต่างประเทศ สิ่งสำคัญต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ไม่เสียหายมากนักหากคุณจะลองไปเดินเล่นงานแสดงสินค้าหรือไปเดินในห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ ดูว่าสินค้าที่ใกล้เคียงกับของคุณนั้นขายกันเท่าไร แล้วให้ย้อนกลับมาเพื่อจะได้ดูว่าต้นทุนคุณทำได้ไหม ได้กำไรเท่าไร แต่อย่าพยายามแข่งเรื่องราคาเพราะไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่นอน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องรู้ไว้คือตลาดต่างประเทศมีฤดูกาล ต้องศึกษาว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นนี้จะนำไปขายในโอกาสหรือฤดูกาลไหน
นี่คือเคล็ดไม่ลับสำหรับแบรนด์ไทยกับการสร้างโอกาสเติบโตในต่างแดน เพียงแต่คุณต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดเท่านั้น
****ข้อมูลจาก www.smethailandclub.com****