หอการค้าไทย-อิตาลี กระตุ้น SMEsไทยผลิตสินค้าบุกตลาดไฮเอ็นท์ ระบุโอกาสยังเปิดกว้างและสร้างมูลค่าได้สูง แนะเรียนรู้รับจ้างผลิตเพื่อพัฒนาสู่การส่งออกภายใต้แบรนด์ตัวเอง ด้านเซียนออกแบบ แนะสินค้าไทยใช้ฝีมือบวกไอเดียสร้างเอกลักษณะเฉพาะตัว
นายเอกกมน หุตะสิงห ประธานหอการค้าไทย-อิตาลี เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ แต่จากสอบถามผู้เชี่ยวชาญรวมถึงนักธุรกิจอีตาลีพบว่า สินค้ากลุ่มประเภทฟุ่มเฟือยหรือสินค้าระดับบนกว่าร้อยละ 90 ได้รับผลกระทบน้อยมาก ซึ่งจากแนวคิดนี้ จึงอยากให้ประเทศไทยซึ่งมีพื้นฐานหลายด้านใกล้เคียงกับประเทศอิตาลี ได้ใช้ประเทศอิตาลีเป็นต้นแบบให้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเจาะตลาดบนเพื่อส่งออกตลาดโลก
“ผู้ประกอบการไทยที่ไปเน้นผลิตสินค้าราคาถูก และผลิตจำนวนมากๆ เมื่อมีคนทำออกมามาก จนล้นตลาด ก็ต้องแข่งกันลดราคา อีกทั้ง เมื่อผู้สั่งสินค้าย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า อย่างเวียดนาม หรือจีน ที่สุดแล้วก็อยู่ไม่ได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มปรับตัวเน้นไปที่ตลาดกลางขึ้นไป ปัจจุบัน พบว่า ออเดอร์เริ่มกลับมาแล้ว” ประธานหอการค้าไทย-อิตาลี ระบุ
ทั้งนี้ สินค้าไทยที่มีโอกาสในตลาดอิตาลีนั้น ที่ชัดเจนในเวลานี้ คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ซึ่งเดิมจะส่งออกไปประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย กับสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก แต่ปัจจุบัน ตลาดอิตาลี และอียู กำลังให้ความนิยมอย่างสูง สั่งออเดอร์ มูลค่าครั้งละกว่า 2-3 ล้านยูโร อย่างไรก็ตาม การสั่งยังเป็นลักษณะ OEM โดยให้ผู้ประกอบการไทยผลิตตามแบบ ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรใช้เป็นโอกาสเรียนรู้ เพื่อในอนาคตจะส่งออกได้ภายใต้แบบและแบรนด์ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดต่างประเทศ เวลานี้ คือ ต้นทุนในการขนส่งสินค้าจะสูงกว่าประเทศอย่างจีน ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้ครั้งละจำนวนมากๆ
ด้านMr.Massimo Zucchi ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชาวอิตาลี ซึ่งมีผลงานการออกแบบสินค้าให้แบรนด์เนมระดับโลกมากมาย กล่าวว่า จากที่เดินทางไปหลายๆ ประเทศในเอเชีย ในแวดวงดีไซน์แล้ว ฝีมือของคนไทยใกล้เคียงกับดีไซน์ของต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากสินค้าไทยจะไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะอิตาลีหรืออียู สิ่งสำคัญต้องรักษาจุดดีของตัวเองเอาไว้ นั่นคือ ด้านฝีมือ และความประณีต ขณะเดียวกันต้องสร้างจุดยืนให้ตัวเอง อย่าผลิตสินค้าโดยลอกเลียนแบบสินค้าที่มีในตลาดอยู่แล้ว แต่ควรศึกษาวัฒนธรรมและพื้นฐานของประเทศที่ต้องการเข้าไปทำตลาด แล้วใช้ข้อดีที่ตัวเองมีอยู่มาช่วยผสมผสานหรือเสริมเข้าไป เพื่อสร้างจุดยืนของตัวเอง
นายเอกกมน หุตะสิงห ประธานหอการค้าไทย-อิตาลี เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ แต่จากสอบถามผู้เชี่ยวชาญรวมถึงนักธุรกิจอีตาลีพบว่า สินค้ากลุ่มประเภทฟุ่มเฟือยหรือสินค้าระดับบนกว่าร้อยละ 90 ได้รับผลกระทบน้อยมาก ซึ่งจากแนวคิดนี้ จึงอยากให้ประเทศไทยซึ่งมีพื้นฐานหลายด้านใกล้เคียงกับประเทศอิตาลี ได้ใช้ประเทศอิตาลีเป็นต้นแบบให้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเจาะตลาดบนเพื่อส่งออกตลาดโลก
“ผู้ประกอบการไทยที่ไปเน้นผลิตสินค้าราคาถูก และผลิตจำนวนมากๆ เมื่อมีคนทำออกมามาก จนล้นตลาด ก็ต้องแข่งกันลดราคา อีกทั้ง เมื่อผู้สั่งสินค้าย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า อย่างเวียดนาม หรือจีน ที่สุดแล้วก็อยู่ไม่ได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มปรับตัวเน้นไปที่ตลาดกลางขึ้นไป ปัจจุบัน พบว่า ออเดอร์เริ่มกลับมาแล้ว” ประธานหอการค้าไทย-อิตาลี ระบุ
ทั้งนี้ สินค้าไทยที่มีโอกาสในตลาดอิตาลีนั้น ที่ชัดเจนในเวลานี้ คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ซึ่งเดิมจะส่งออกไปประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย กับสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก แต่ปัจจุบัน ตลาดอิตาลี และอียู กำลังให้ความนิยมอย่างสูง สั่งออเดอร์ มูลค่าครั้งละกว่า 2-3 ล้านยูโร อย่างไรก็ตาม การสั่งยังเป็นลักษณะ OEM โดยให้ผู้ประกอบการไทยผลิตตามแบบ ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรใช้เป็นโอกาสเรียนรู้ เพื่อในอนาคตจะส่งออกได้ภายใต้แบบและแบรนด์ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดต่างประเทศ เวลานี้ คือ ต้นทุนในการขนส่งสินค้าจะสูงกว่าประเทศอย่างจีน ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้ครั้งละจำนวนมากๆ
ด้านMr.Massimo Zucchi ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชาวอิตาลี ซึ่งมีผลงานการออกแบบสินค้าให้แบรนด์เนมระดับโลกมากมาย กล่าวว่า จากที่เดินทางไปหลายๆ ประเทศในเอเชีย ในแวดวงดีไซน์แล้ว ฝีมือของคนไทยใกล้เคียงกับดีไซน์ของต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากสินค้าไทยจะไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะอิตาลีหรืออียู สิ่งสำคัญต้องรักษาจุดดีของตัวเองเอาไว้ นั่นคือ ด้านฝีมือ และความประณีต ขณะเดียวกันต้องสร้างจุดยืนให้ตัวเอง อย่าผลิตสินค้าโดยลอกเลียนแบบสินค้าที่มีในตลาดอยู่แล้ว แต่ควรศึกษาวัฒนธรรมและพื้นฐานของประเทศที่ต้องการเข้าไปทำตลาด แล้วใช้ข้อดีที่ตัวเองมีอยู่มาช่วยผสมผสานหรือเสริมเข้าไป เพื่อสร้างจุดยืนของตัวเอง