สสว. รายงานดัชนี TSSI SMEs ประจำเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งปัจจุบัน และคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เป็น 45.2 และ 45.6 และเป็นการเพิ่มขึ้นทุกภาคธุรกิจ โดยมีบริการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และค้าส่งสินค้าเกษตร ครองแชมป์เพิ่มขึ้นระดับสูง ปัจจัยบวกอยู่ที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 42.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทุกภาคธุรกิจ โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.0 44.8 และ 45.6 จากระดับ 42.6 41.9 และ 43.9 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตนเอง ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.7 และ 43.9 จากระดับ 34.0 และ 37.3 ตามลำดับ
“ผลการสำรวจเดือนกรกฎาคม พบว่าทั้งค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ยังคงเพิ่มขึ้นและเป็นการเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการ ปัจจัยสำคัญมาจากการที่รัฐบาลดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการต่ออายุ 5 มาตรการลดค่าครองชีพไปจนถึงสิ้นปี 2552 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 กอรปกับกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความรุนแรง รวมถึงความสำเร็จในการจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน แต่ผลจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายภักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้พบว่า ภาคการค้าส่ง กิจการค้าส่งสินค้าเกษตร มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 44.6 จากระดับ 41.8 (เพิ่มขึ้น 2.8) ซึ่งมีผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะลำใย และยางพารา ส่วนภาคการค้าปลีก กิจการร้านค้าปลีก (สมัยใหม่) มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 47.0 จากระดับ 41.7 (เพิ่มขึ้น 5.4) ผลจากการที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
ขณะที่ภาคบริการ กิจการในกลุ่มท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.7 จากระดับ 40.7 (เพิ่มขึ้น 7.0) บริการท่องเที่ยว ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.3 จากระดับ 40.1 (เพิ่มขึ้น 6.2) และโรงแรม เกสต์เฮ้าส์ บังกะโล ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.3 จากระดับ 45.5 (เพิ่มขึ้น 1.7)
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 42.9 และเป็นการเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการเช่นกัน โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 48.7 44.6 และ 45.6 จากระดับ 45.0 41.7 และ 43.2 ตามลำดับ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศ และต่อธุรกิจตนเอง ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.7 และ 44.6 จากระดับ 36.3 และ 37.0 ตามลำดับ
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 42.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทุกภาคธุรกิจ โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.0 44.8 และ 45.6 จากระดับ 42.6 41.9 และ 43.9 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตนเอง ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.7 และ 43.9 จากระดับ 34.0 และ 37.3 ตามลำดับ
“ผลการสำรวจเดือนกรกฎาคม พบว่าทั้งค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ยังคงเพิ่มขึ้นและเป็นการเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการ ปัจจัยสำคัญมาจากการที่รัฐบาลดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการต่ออายุ 5 มาตรการลดค่าครองชีพไปจนถึงสิ้นปี 2552 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 กอรปกับกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความรุนแรง รวมถึงความสำเร็จในการจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน แต่ผลจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายภักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้พบว่า ภาคการค้าส่ง กิจการค้าส่งสินค้าเกษตร มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 44.6 จากระดับ 41.8 (เพิ่มขึ้น 2.8) ซึ่งมีผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะลำใย และยางพารา ส่วนภาคการค้าปลีก กิจการร้านค้าปลีก (สมัยใหม่) มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 47.0 จากระดับ 41.7 (เพิ่มขึ้น 5.4) ผลจากการที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
ขณะที่ภาคบริการ กิจการในกลุ่มท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.7 จากระดับ 40.7 (เพิ่มขึ้น 7.0) บริการท่องเที่ยว ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.3 จากระดับ 40.1 (เพิ่มขึ้น 6.2) และโรงแรม เกสต์เฮ้าส์ บังกะโล ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.3 จากระดับ 45.5 (เพิ่มขึ้น 1.7)
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 42.9 และเป็นการเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการเช่นกัน โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 48.7 44.6 และ 45.6 จากระดับ 45.0 41.7 และ 43.2 ตามลำดับ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศ และต่อธุรกิจตนเอง ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.7 และ 44.6 จากระดับ 36.3 และ 37.0 ตามลำดับ