สถาบันอาหาร แนะผู้ประกอบการส่งออกอาหารไทย ปรับตัวรับมาตรการ Food Defense ของสหรัฐอเมริกา หวังป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางอาหาร ชี้ Food Defense สร้างมาตรการป้องกันอาหารให้มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยเจตนา
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 โดยการใช้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์ และการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแอนแทรกซ์ที่ผ่านมาทางจดหมาย ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ายุทธวิธีในการก่อการร้ายได้มีการแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่เป็นการใช้อาวุธเพื่อการก่อการร้ายเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการก่อการร้ายผ่านทางอาหารและการก่อการร้ายทางชีวภาพด้วย ทำให้หลายประเทศ เตรียมรับมือและเพิ่มมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายมากขึ้น โดยให้ความสนใจกับการก่อการร้ายผ่านทางอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะมองว่าเป็นยุทธวิธีที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ไม่มีเงินหรือไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอ
สำหรับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย และเป็นประเทศคู่ค้าที่ให้ความสำคัญกับการจัดการโครงสร้างการออกกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ เรื่องการควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) ได้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอาหาร โดยออกกฎหมาย และเปลี่ยนแปลงขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เริ่มจากการออกกฎหมาย The Public Health Security and Bioterrorism Preparedness and Response Act 2002 ขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และความมั่นคงทางแหล่งอาหารของสหรัฐอเมริกา โดยให้อำนาจหน้าที่แก่ FDA และ USDA ในการตรวจสอบ และดำเนินการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าอาหารทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความปลอดภัยปราศจากอันตรายจากชีวภาพ เคมี กายภาพ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ผู้ก่อการร้ายอาจใช้เป็นอาวุธในการโจมตีสหรัฐอเมริกาได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารของไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายในการส่งออกสินค้าอาหารไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกา ยังได้พัฒนาระบบการควบคุมความปลอดภัยทางอาหารรูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อใช้เป็นการป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางอาหาร ที่เรียกว่า Food Defense ที่เป็นมาตรการป้องกัน
อาหารให้มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยเจตนา (Intentional Adulteration) ซึ่งแตกต่างจาก Food Safety เป็นการป้องกันให้อาหารปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยไม่ได้เจตนา (Unintentional Adulteration) การนำระบบ Food Defense มาใช้ เพื่อเป็นการป้องกันและตอบโตภัยคุกคามทางด้านอาหารในระบบห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่มีต่อความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร
ปัจจุบัน Food Defense ยังไม่ได้เป็นมาตรการที่กฎหมายบังคับใช้ แต่ผู้ประกอบการก็มีความสมัครใจที่จะนำมาตรการดังกล่าวนี้มาใช้ เพราะต้องการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า จากข้อมูลรายงานการประชุม APEC Food Defense Pilot Project เมื่อเดือนมีนาคม 2552 พบว่า โรงงานผลิตเนื้อสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนกว่า 5,000 แห่ง มีการจัดทำระบบ Food Defense ถึง 2,005 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 40 ของโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ทั้งหมด นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ มีมาตรการป้องกันการก่อการร้ายที่ผ่านทางอาหารด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทางสหภาพยุโรป (EU) ที่มีมาตรการที่คล้ายกัน Food Defense แต่ของ EU เรียกว่า Food Security หรือประเทศในกลุ่ม Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) ก็ให้ความสำคัญโดยการจัดตั้ง APEC Food Defense Pilot Project ขึ้น
การก่อการร้ายผ่านทางอาหาร อาจยังเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทย แต่ในอนาคตคาดว่า Food Defense อาจเป็นระบบที่สหรัฐอเมริกา จะนำมาบังคับใช้ต่อผู้ประกอบการอาหารทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหากต้องทำการค้ากับสหรัฐอเมริกาแล้ว ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการนำระบบนี้มาใช้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น นอกจากจะทำให้มีผู้ป่วยหรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมากแล้วยังส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความวิตกกังวลกับปัญหาจนขาดความเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งระบบได้ ดังนั้นหากประเทศไทยมีจุดยืนที่จะก้าวไปสู่การเป็นครัวของโลกแล้ว การผลิตอาหารเพื่อป้อนแก่ปากท้องของประชากรโลกจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุด
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 โดยการใช้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์ และการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแอนแทรกซ์ที่ผ่านมาทางจดหมาย ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ายุทธวิธีในการก่อการร้ายได้มีการแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่เป็นการใช้อาวุธเพื่อการก่อการร้ายเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการก่อการร้ายผ่านทางอาหารและการก่อการร้ายทางชีวภาพด้วย ทำให้หลายประเทศ เตรียมรับมือและเพิ่มมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายมากขึ้น โดยให้ความสนใจกับการก่อการร้ายผ่านทางอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะมองว่าเป็นยุทธวิธีที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ไม่มีเงินหรือไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอ
สำหรับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย และเป็นประเทศคู่ค้าที่ให้ความสำคัญกับการจัดการโครงสร้างการออกกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ เรื่องการควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) ได้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอาหาร โดยออกกฎหมาย และเปลี่ยนแปลงขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เริ่มจากการออกกฎหมาย The Public Health Security and Bioterrorism Preparedness and Response Act 2002 ขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และความมั่นคงทางแหล่งอาหารของสหรัฐอเมริกา โดยให้อำนาจหน้าที่แก่ FDA และ USDA ในการตรวจสอบ และดำเนินการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าอาหารทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความปลอดภัยปราศจากอันตรายจากชีวภาพ เคมี กายภาพ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ผู้ก่อการร้ายอาจใช้เป็นอาวุธในการโจมตีสหรัฐอเมริกาได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารของไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายในการส่งออกสินค้าอาหารไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกา ยังได้พัฒนาระบบการควบคุมความปลอดภัยทางอาหารรูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อใช้เป็นการป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางอาหาร ที่เรียกว่า Food Defense ที่เป็นมาตรการป้องกัน
อาหารให้มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยเจตนา (Intentional Adulteration) ซึ่งแตกต่างจาก Food Safety เป็นการป้องกันให้อาหารปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยไม่ได้เจตนา (Unintentional Adulteration) การนำระบบ Food Defense มาใช้ เพื่อเป็นการป้องกันและตอบโตภัยคุกคามทางด้านอาหารในระบบห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่มีต่อความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร
ปัจจุบัน Food Defense ยังไม่ได้เป็นมาตรการที่กฎหมายบังคับใช้ แต่ผู้ประกอบการก็มีความสมัครใจที่จะนำมาตรการดังกล่าวนี้มาใช้ เพราะต้องการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า จากข้อมูลรายงานการประชุม APEC Food Defense Pilot Project เมื่อเดือนมีนาคม 2552 พบว่า โรงงานผลิตเนื้อสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนกว่า 5,000 แห่ง มีการจัดทำระบบ Food Defense ถึง 2,005 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 40 ของโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ทั้งหมด นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ มีมาตรการป้องกันการก่อการร้ายที่ผ่านทางอาหารด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทางสหภาพยุโรป (EU) ที่มีมาตรการที่คล้ายกัน Food Defense แต่ของ EU เรียกว่า Food Security หรือประเทศในกลุ่ม Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) ก็ให้ความสำคัญโดยการจัดตั้ง APEC Food Defense Pilot Project ขึ้น
การก่อการร้ายผ่านทางอาหาร อาจยังเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทย แต่ในอนาคตคาดว่า Food Defense อาจเป็นระบบที่สหรัฐอเมริกา จะนำมาบังคับใช้ต่อผู้ประกอบการอาหารทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหากต้องทำการค้ากับสหรัฐอเมริกาแล้ว ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการนำระบบนี้มาใช้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น นอกจากจะทำให้มีผู้ป่วยหรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมากแล้วยังส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความวิตกกังวลกับปัญหาจนขาดความเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งระบบได้ ดังนั้นหากประเทศไทยมีจุดยืนที่จะก้าวไปสู่การเป็นครัวของโลกแล้ว การผลิตอาหารเพื่อป้อนแก่ปากท้องของประชากรโลกจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุด