อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพมาแรง ผู้บริโภคทั่วโลกแห่ตอบรับ ตลาดกลุ่ม “Functional Food” มาแรงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ทั้งญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร แนะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทย เร่งศึกษาตลาดจริงจัง ดึงเกาหลีใต้เป็นต้นแบบ หวังให้ผู้ผลิตไทยใช้ต่อยอดอุตสาหกรรม Functional Food ไทยให้เติบโตในอนาคต
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากกระแสรักสุขภาพและแนวคิดในการป้องกันโรคด้วยการบริโภคอาหารแทนยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่ม “Functional Food” ซึ่งตลาดที่มาแรงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค นอกเหนือจากญี่ปุ่น และจีนแล้วนั้น ตลาดที่สำคัญและกำลังเติบโตไม่แพ้กัน คือ ตลาดเกาหลีใต้”
“ในปี 2550 มูลค่าตลาด Functional Food ในเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงถึง 7,235 ร้อยล้านวอน หรือ 20,258 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ที่ขายดี 10 อันดับแรก ได้แก่ โสมแดง, ผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้, ผลิตภัณฑ์ประเภทสารอาหาร, โสม, ผลิตภัณฑ์กลูโคซามีน, ผลิตภัณฑ์ประเภทเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย, ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายคลอเรล่า, ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแลคโตบาซิลัสเป็นส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์ประเภท EPA/DHA และ ผลิตภัณฑ์ประเภท Gamma Linolenic Acid ซึ่งผลิตภัณฑ์ 3 อันดับแรกมีมูลค่าการขายคิดเป็นร้อยละ 67 ของยอดขายทั้งหมด” ผอ.สถาบันอาหาร กล่าว
ผอ. สถาบันอาหาร กล่าวด้วยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรม Functional Food ในเกาหลีใต้คาดว่าจะเติบโตต่อไป เพราะผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้นเป็นลำดับ โดยมุ่งไปในผลิตภัณฑ์เพื่อการป้องกันโรคและการควบคุมน้ำหนักเป็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยนั้น Functional Food ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ผลิตและผู้บริโภคและวงจรชีวิตอุตสาหกรรมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ดังนั้น การศึกษาต้นแบบจากประเทศ ชั้นนำในตลาดโลก เช่น เกาหลีใต้ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดให้กับอุตสาหกรรม Functional Food ของไทยต่อไป
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากกระแสรักสุขภาพและแนวคิดในการป้องกันโรคด้วยการบริโภคอาหารแทนยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่ม “Functional Food” ซึ่งตลาดที่มาแรงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค นอกเหนือจากญี่ปุ่น และจีนแล้วนั้น ตลาดที่สำคัญและกำลังเติบโตไม่แพ้กัน คือ ตลาดเกาหลีใต้”
“ในปี 2550 มูลค่าตลาด Functional Food ในเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงถึง 7,235 ร้อยล้านวอน หรือ 20,258 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ที่ขายดี 10 อันดับแรก ได้แก่ โสมแดง, ผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้, ผลิตภัณฑ์ประเภทสารอาหาร, โสม, ผลิตภัณฑ์กลูโคซามีน, ผลิตภัณฑ์ประเภทเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย, ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายคลอเรล่า, ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแลคโตบาซิลัสเป็นส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์ประเภท EPA/DHA และ ผลิตภัณฑ์ประเภท Gamma Linolenic Acid ซึ่งผลิตภัณฑ์ 3 อันดับแรกมีมูลค่าการขายคิดเป็นร้อยละ 67 ของยอดขายทั้งหมด” ผอ.สถาบันอาหาร กล่าว
ผอ. สถาบันอาหาร กล่าวด้วยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรม Functional Food ในเกาหลีใต้คาดว่าจะเติบโตต่อไป เพราะผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้นเป็นลำดับ โดยมุ่งไปในผลิตภัณฑ์เพื่อการป้องกันโรคและการควบคุมน้ำหนักเป็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยนั้น Functional Food ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ผลิตและผู้บริโภคและวงจรชีวิตอุตสาหกรรมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ดังนั้น การศึกษาต้นแบบจากประเทศ ชั้นนำในตลาดโลก เช่น เกาหลีใต้ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดให้กับอุตสาหกรรม Functional Food ของไทยต่อไป