“เอสเอ็มอีแบงก์” เผยยอดปล่อยกู้โครงการแปลงสมองเป็นทุนปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 113 ราย วงเงินเกือบ 80 ลบ. เกิดเป็นหนี้เน่าเพียง 10% ลั่นเดินหน้าปล่อยกู้ต่อ กรมทรัพย์สินฯ ระบุพร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการที่มีเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นำมาใช้ขอกู้เงินจากเอสเอ็มอีแบงก์ได้โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์อื่นค้ำประกัน
นายจักรกริช จักราบาตร ผู้จัดการส่วนวิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กล่าวว่า หลังดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มาตั้งแต่ปี 2547 ตอนนี้มีผู้ได้รับเงินกู้ไปแล้ว 113 ราย เป็นวงเงินรวม 78.9 ล้านบาท ในขณะที่เกิดเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอลเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งถือยอมรับได้ แม้ว่าสินเชื่อประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ซึ่งจากผลสำเร็จดังกล่าว ธนาคารได้เตรียมขยายการปล่อยกู้เพิ่มโดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้ที่จะขอกู้ต้องมีทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้รับหนังสือรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญามายืนยัน และต้องเป็นผู้ที่มีความชัดเจนด้านรายได้ที่ให้ธนาคารตรวจสอบได้ แต่ถ้าหากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่เคยประกอบการมีรายได้มาก่อน จะต้องมีแผนธุรกิจที่มีความเป็นไปได้มาแสดงด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดแผนธุรกิจได้ที่เว็บไซต์ www.smebank.co.th
ด้านนายสมศักดิ์ พณิชยกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมฯ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินการจดสิทธิบัตรได้ ไปจนถึงการออกหนังสือรับรอง เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีปัญหาการเงิน มีแหล่งเงินกู้ในระบบ อย่างเช่น ส้มตำน้อยโพธิ์งาม ซึ่งสามารถนำไปจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ และจากการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ผ่านมา พบว่าหลายรายกิจการเดินหน้าได้ด้วยดี เช่น ธุรกิจปุ๋ยวัยจ๊าบ ที่สามารถชำระเงินกู้คืน 500,000 บาทในเวลาอันรวดเร็ว โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่แผนการตลาดเป็นหลัก
นายจักรกริช จักราบาตร ผู้จัดการส่วนวิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กล่าวว่า หลังดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มาตั้งแต่ปี 2547 ตอนนี้มีผู้ได้รับเงินกู้ไปแล้ว 113 ราย เป็นวงเงินรวม 78.9 ล้านบาท ในขณะที่เกิดเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอลเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งถือยอมรับได้ แม้ว่าสินเชื่อประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ซึ่งจากผลสำเร็จดังกล่าว ธนาคารได้เตรียมขยายการปล่อยกู้เพิ่มโดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้ที่จะขอกู้ต้องมีทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้รับหนังสือรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญามายืนยัน และต้องเป็นผู้ที่มีความชัดเจนด้านรายได้ที่ให้ธนาคารตรวจสอบได้ แต่ถ้าหากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่เคยประกอบการมีรายได้มาก่อน จะต้องมีแผนธุรกิจที่มีความเป็นไปได้มาแสดงด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดแผนธุรกิจได้ที่เว็บไซต์ www.smebank.co.th
ด้านนายสมศักดิ์ พณิชยกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมฯ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินการจดสิทธิบัตรได้ ไปจนถึงการออกหนังสือรับรอง เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีปัญหาการเงิน มีแหล่งเงินกู้ในระบบ อย่างเช่น ส้มตำน้อยโพธิ์งาม ซึ่งสามารถนำไปจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ และจากการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ผ่านมา พบว่าหลายรายกิจการเดินหน้าได้ด้วยดี เช่น ธุรกิจปุ๋ยวัยจ๊าบ ที่สามารถชำระเงินกู้คืน 500,000 บาทในเวลาอันรวดเร็ว โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่แผนการตลาดเป็นหลัก