สสว. ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน มุ่งบูรณาการจัดทำแผนกู้วิกฤต SMEs เร่งด่วน เน้นเพิ่มผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมรายสาขา โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและการส่งออก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิกส์ บริการก่อสร้าง ฯลฯ พร้อมยกระดับวิสาหกิจรายย่อยให้เป็น SMEs หวังให้เห็นผลภายใน 6 เดือน
นายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่มีผลมาจากการหดตัวของการบริโภคเหลือร้อยละ 2.7 การลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ลดลงจากก่อนหน้านี้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5.7 ประกอบกับตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เศรษฐกิจติดลบร้อยละ 0.2 และ 4.6 ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อลดลง ทำให้กำลังการผลิตลดลงเหลือร้อยละ 61 ซึ่งมูลเหตุดังกล่าวนี้ได้ส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทย
ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงมีนโยบายให้ สสว. เร่งจัดทำโครงการปี 2552 เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือ SMEs เป็นการเร่งด่วนโดยเฉพาะ ให้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้สภาวะวิกฤตปัจจุบัน โดยการช่วยส่งเสริมให้ขายสินค้าได้มากขึ้น และมีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ และเพื่อเป็นการบูรณาการจัดทำ แผนงาน โครงการเพิ่มเติม ดังนั้น สสว. จึงได้จัดให้มีการประชุมระดมสมองแนวทางการจัดทำโครงการส่งเสริม SMEs ปี 2552 ขึ้น
“การประชุมระดมสมองในครั้งนี้ ก็เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสรรหาโครงการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของ SMEs ได้ตรงจุด โดยจะดำเนินการ 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมรายสาขา จะเน้นในเรื่องการเพิ่มผลิตภาพการผลิต และวิสาหกิจรายย่อย จะเน้นในเรื่องการยกระดับให้เป็น SMEs ทั้งในส่วนของตัวผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ ซึ่งโครงการที่จะดำเนินการนี้ควรจะต้องเห็นผลในทางปฏิบัติภายใน 6 เดือน” นายดำริ กล่าว
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวต่อว่า แนวทางการจัดทำโครงการปี 2552 เพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs เป็นการเร่งด่วนนี้ จะมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินและการส่งออก ซึ่งต้องเร่งช่วยเหลือ แก้ปัญหา ฟื้นฟู พลิกวิกฤต และเพิ่มศักยภาพ เพื่อคงสภาพธุรกิจ ในส่วนวิสาหกิจรายย่อยจะมุ่งเน้นในด้านการรักษาให้อยู่รอดและขยายช่องทางการตลาด
สำหรับอุตสาหกรรมรายสาขาที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และเป็นกลุ่มเป้าหมายของการดำเนินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ภาคการผลิต เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เหล็กโลหะ และผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเฉพาะด้าน ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ต่อเรือ ซ่อมเรือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หนังและผลิตภัณฑ์หนัง ฯลฯ ส่วนภาคบริการ เช่น บริการก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร บริการท่องเที่ยว บริการอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
“แนวทางการดำเนินงาน จะเป็นการเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ในภาคการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบในภาคบริการ รวมทั้งจะมุ่งพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการส่งเสริมด้านการเงิน เช่น เงินทุนสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร เงินทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SMEs ไทย รวมทั้งการสร้างโอกาสและความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs” นายภักดิ์ กล่าว
ส่วนวิสาหกิจรายย่อย ซึ่งเป็นกิจการที่มีแรงงานไม่เกิน 5 คน และไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ จากตัวเลขปี 2550 วิสาหกิจรายย่อยของประเทศมีจำนวน 1,580,846 ราย คิดเป็น 66.6% ของจำนวน SMEs ทั้งหมด มีการจ้างงาน 2,547,365 คน คิดเป็น 21.8% ของการจ้างในกลุ่ม SMEs จึงนับว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และมีผลต่อมิติการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน แต่ที่ผ่านมากลับเป็นกลุ่มที่เข้าถึงบริการของภาครัฐ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก
ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อย จะเป็นไปตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อย พ.ศ. 2551-2554 โดยการส่งเสริมในภาพรวม จะมุ่งวางรากฐานการประกอบกิจการของวิสาหกิจรายย่อยอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนและสร้างผู้ประกอบการใหม่ ขณะเดียวกันจะมุ่งส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ ด้วยการสร้างเสริมศักยภาพการผลิตและมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในภาคบริการ และการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคการค้า
“การประชุมครั้งนี้จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริม SMEs สามารถจัดทำโครงการได้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด ก่อนจะนำเสนอ สสว. ซึ่งเมื่อมีการพิจารณากลั่นกรองโครงการเรียบร้อยแล้ว สสว. จะนำเสนอคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการส่งเสริม SMEs เพื่อให้ความเห็นชอบ จากนั้นแผนงาน โครงการ ดังกล่าวจะนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อส่งเสริม SMEs ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจต่อไป” รักษาการ ผอ.สสว. กล่าว
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อนุมัติให้ สสว. ดำเนินโครงการส่งเสริม SMEs เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในวงเงิน 287 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง สามารถเข้า
ประมูลงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ เพื่อขยายฐานการค้าในตลาดอาเซียนและสร้างพันธมิตรธุรกิจด้านการค้าและการลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่มในการเป็นผู้นำสาขาสิ่งพิมพ์ในตลาดอาเซียน สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์สาขาพิมพ์สกรีน พัฒนาตราสินค้าไทยในสาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนในสาขาเฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม และพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อขยายสู่ตลาดอาเซียน เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้นับเป็นอีกหนึ่งมาตรการในการส่งเสริม SMEs ในภาวะวิกฤต
นายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่มีผลมาจากการหดตัวของการบริโภคเหลือร้อยละ 2.7 การลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ลดลงจากก่อนหน้านี้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5.7 ประกอบกับตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เศรษฐกิจติดลบร้อยละ 0.2 และ 4.6 ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อลดลง ทำให้กำลังการผลิตลดลงเหลือร้อยละ 61 ซึ่งมูลเหตุดังกล่าวนี้ได้ส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทย
ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงมีนโยบายให้ สสว. เร่งจัดทำโครงการปี 2552 เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือ SMEs เป็นการเร่งด่วนโดยเฉพาะ ให้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้สภาวะวิกฤตปัจจุบัน โดยการช่วยส่งเสริมให้ขายสินค้าได้มากขึ้น และมีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ และเพื่อเป็นการบูรณาการจัดทำ แผนงาน โครงการเพิ่มเติม ดังนั้น สสว. จึงได้จัดให้มีการประชุมระดมสมองแนวทางการจัดทำโครงการส่งเสริม SMEs ปี 2552 ขึ้น
“การประชุมระดมสมองในครั้งนี้ ก็เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสรรหาโครงการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของ SMEs ได้ตรงจุด โดยจะดำเนินการ 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมรายสาขา จะเน้นในเรื่องการเพิ่มผลิตภาพการผลิต และวิสาหกิจรายย่อย จะเน้นในเรื่องการยกระดับให้เป็น SMEs ทั้งในส่วนของตัวผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ ซึ่งโครงการที่จะดำเนินการนี้ควรจะต้องเห็นผลในทางปฏิบัติภายใน 6 เดือน” นายดำริ กล่าว
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวต่อว่า แนวทางการจัดทำโครงการปี 2552 เพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs เป็นการเร่งด่วนนี้ จะมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินและการส่งออก ซึ่งต้องเร่งช่วยเหลือ แก้ปัญหา ฟื้นฟู พลิกวิกฤต และเพิ่มศักยภาพ เพื่อคงสภาพธุรกิจ ในส่วนวิสาหกิจรายย่อยจะมุ่งเน้นในด้านการรักษาให้อยู่รอดและขยายช่องทางการตลาด
สำหรับอุตสาหกรรมรายสาขาที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และเป็นกลุ่มเป้าหมายของการดำเนินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ภาคการผลิต เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เหล็กโลหะ และผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเฉพาะด้าน ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ต่อเรือ ซ่อมเรือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หนังและผลิตภัณฑ์หนัง ฯลฯ ส่วนภาคบริการ เช่น บริการก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร บริการท่องเที่ยว บริการอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
“แนวทางการดำเนินงาน จะเป็นการเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ในภาคการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบในภาคบริการ รวมทั้งจะมุ่งพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการส่งเสริมด้านการเงิน เช่น เงินทุนสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร เงินทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SMEs ไทย รวมทั้งการสร้างโอกาสและความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs” นายภักดิ์ กล่าว
ส่วนวิสาหกิจรายย่อย ซึ่งเป็นกิจการที่มีแรงงานไม่เกิน 5 คน และไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ จากตัวเลขปี 2550 วิสาหกิจรายย่อยของประเทศมีจำนวน 1,580,846 ราย คิดเป็น 66.6% ของจำนวน SMEs ทั้งหมด มีการจ้างงาน 2,547,365 คน คิดเป็น 21.8% ของการจ้างในกลุ่ม SMEs จึงนับว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และมีผลต่อมิติการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน แต่ที่ผ่านมากลับเป็นกลุ่มที่เข้าถึงบริการของภาครัฐ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก
ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อย จะเป็นไปตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อย พ.ศ. 2551-2554 โดยการส่งเสริมในภาพรวม จะมุ่งวางรากฐานการประกอบกิจการของวิสาหกิจรายย่อยอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนและสร้างผู้ประกอบการใหม่ ขณะเดียวกันจะมุ่งส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ ด้วยการสร้างเสริมศักยภาพการผลิตและมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในภาคบริการ และการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคการค้า
“การประชุมครั้งนี้จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริม SMEs สามารถจัดทำโครงการได้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด ก่อนจะนำเสนอ สสว. ซึ่งเมื่อมีการพิจารณากลั่นกรองโครงการเรียบร้อยแล้ว สสว. จะนำเสนอคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการส่งเสริม SMEs เพื่อให้ความเห็นชอบ จากนั้นแผนงาน โครงการ ดังกล่าวจะนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อส่งเสริม SMEs ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจต่อไป” รักษาการ ผอ.สสว. กล่าว
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อนุมัติให้ สสว. ดำเนินโครงการส่งเสริม SMEs เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในวงเงิน 287 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง สามารถเข้า
ประมูลงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ เพื่อขยายฐานการค้าในตลาดอาเซียนและสร้างพันธมิตรธุรกิจด้านการค้าและการลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่มในการเป็นผู้นำสาขาสิ่งพิมพ์ในตลาดอาเซียน สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์สาขาพิมพ์สกรีน พัฒนาตราสินค้าไทยในสาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนในสาขาเฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม และพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อขยายสู่ตลาดอาเซียน เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้นับเป็นอีกหนึ่งมาตรการในการส่งเสริม SMEs ในภาวะวิกฤต