รมช.พาณิชย์ เผยแผนเร่งด่วนดันเอสเอ็มอีรวมพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ตั้งเป้ารายได้ขั้นต่ำ 10% หรือประมาณ 73,000 ล้านบาทต่อปี ชี้นโยบายเร่งด่วน 3 ประการ เพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี ดันผู้ประกอบการรวมตั้งพันธมิตรทางธุรกิจ และดันพันธมิตรธุรกิจโลจิสติกส์เป็นแกนขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนเวทีโลก
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายในงานสัมมนาเรื่อง “ชี้ช่องรวยด้วยการค้าบริการและการลงทุน" ว่า ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายเร่งด่วนปี 2552 สนับสนุนแผนงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการภาคเอกชนไทย ให้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “ บริษัทโลจิสติกส์” เพื่อสามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร
สำหรับที่ผ่านมาตลาดโลจิสติกส์ไทย มีส่วนแบ่งประมาณ 1% จากมูลค่าการตลาดที่มีมากถึง 7.3 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เราต้องเสียโอกาสในการลงทุน และปล่อยให้เงินหลุดมือหายไปจำนวนมาก และเพื่อผลักดันให้เกิดธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย เพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าต้องดึงรายได้มาเป็นของกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ ให้ได้ขั้นต่ำ 10% หรือ ประมาณ 73,000 ล้านบาท ต่อปี
ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายเร่งด่วน ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ประการแรก สร้างมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องขานรับกระแสการค้าโลก โดยการให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์และธุรกิจเกี่ยวข้อง ประการที่สอง เร่งส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มขีดคววามสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทย และบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประการที่สาม สร้างพันธกิจโลจิสติกส์ด้วยยุทธศาสตร์เชิงนโยบาย โดยการผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันตั้งกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ และ สุดท้าย เร่งผลักดันให้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจโลจิสติกส์เป็นแกนหลักขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยในเวทีโลก
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายในงานสัมมนาเรื่อง “ชี้ช่องรวยด้วยการค้าบริการและการลงทุน" ว่า ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายเร่งด่วนปี 2552 สนับสนุนแผนงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการภาคเอกชนไทย ให้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “ บริษัทโลจิสติกส์” เพื่อสามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร
สำหรับที่ผ่านมาตลาดโลจิสติกส์ไทย มีส่วนแบ่งประมาณ 1% จากมูลค่าการตลาดที่มีมากถึง 7.3 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เราต้องเสียโอกาสในการลงทุน และปล่อยให้เงินหลุดมือหายไปจำนวนมาก และเพื่อผลักดันให้เกิดธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย เพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าต้องดึงรายได้มาเป็นของกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ ให้ได้ขั้นต่ำ 10% หรือ ประมาณ 73,000 ล้านบาท ต่อปี
ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายเร่งด่วน ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ประการแรก สร้างมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องขานรับกระแสการค้าโลก โดยการให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์และธุรกิจเกี่ยวข้อง ประการที่สอง เร่งส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มขีดคววามสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทย และบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประการที่สาม สร้างพันธกิจโลจิสติกส์ด้วยยุทธศาสตร์เชิงนโยบาย โดยการผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันตั้งกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ และ สุดท้าย เร่งผลักดันให้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจโลจิสติกส์เป็นแกนหลักขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยในเวทีโลก