เอสเอ็มอีแบงก์ จัดงานเปิดเมนูกู้วิกฤต SMEs เมืองภูเก็ต นำทัพแพคเกจสินเชื่อหลากหลายรูปแบบส่งตรงผู้ประกอบการ หวังฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม และรีสอร์ทที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ-การเมือง เชื่อจะช่วยแก้ปัญหาการเลิกจ้างลงไปได้มาก พร้อมลงพื้นที่วันเสาร์ที่ 25 เม.ย.นี้
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยว่า ทางเอสเอ็มอี แบงก์ เตรียมจัดงาน “เปิดเมนูกู้วิกฤต SMEs” ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 โดยเป็นการนำแพคเกจสินเชื่อต่างๆ ของธนาคารไปช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะแพคเกจสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว ที่ถือว่าเป็นรายได้หลักของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและดอนเมือง และผลกระทบจากการเมืองซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่าทุกปี
“ขณะนี้การให้ความช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวเป็นเรื่องเร่งด่วน และรัฐบาลจัดให้การให้ความช่วยธุรกิจท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ ธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินภาครัฐพร้อมเป็นกลไกหลักกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือของธนาคารมีหลายช่องทาง และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายที่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวสามารถใช้บริการสินเชื่อกับธนาคารได้ บางครั้งสินเชื่อบางตัวผู้ประกอบการมีคุณสมบัติไม่เข้าหลักเกณฑ์แต่สามารถใช้บริการสินเชื่อตัวอื่นได้ อาทิเช่น สินเชื่อชะลอการเลิกจ้าง สินเชื่อ smePower หรือสินเชื่อทั่วไป ซึ่งจัดอยู่ในแพ็กเก็จเมนูสินเชื่อทั้งสิ้น” กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าว
ทั้งนี้การนำแพ็กเก็จสินเชื่อลงไปพื้นที่ภูเก็ตคาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการธุรกิจและธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรม ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ บริษัทท่องเที่ยว ร้านอาหารภัตตาคาร ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตมีประเภทธุรกิจเหล่านี้ประมาณ 70% มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 5 ล้านคนมีความต้องการสินเชื่อวงเงินตั้งแต่ 20 -100 ล้านบาท จัดเป็นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่และค่อนข้างมีศักยภาพมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจะทำให้รายได้หดหายไป และอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในจังหวัดด้วย
สำหรับงานเปิดเมนูกู้วิกฤต SMEs ในครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการทั่วไปและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวกว่า 300 รายเข้าร่วมงาน มีกิจการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมไม่น้อยกว่า 200 กิจการ โดยธนาคารจะมีบูธสำหรับให้คำปรึกษาทางการเงินโดยสามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้ในงาน พร้อมกับนิทรรศการและนำลูกค้าของธนาคารมาจำหน่ายสินค้า
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยว่า ทางเอสเอ็มอี แบงก์ เตรียมจัดงาน “เปิดเมนูกู้วิกฤต SMEs” ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 โดยเป็นการนำแพคเกจสินเชื่อต่างๆ ของธนาคารไปช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะแพคเกจสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว ที่ถือว่าเป็นรายได้หลักของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและดอนเมือง และผลกระทบจากการเมืองซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่าทุกปี
“ขณะนี้การให้ความช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวเป็นเรื่องเร่งด่วน และรัฐบาลจัดให้การให้ความช่วยธุรกิจท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ ธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินภาครัฐพร้อมเป็นกลไกหลักกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือของธนาคารมีหลายช่องทาง และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายที่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวสามารถใช้บริการสินเชื่อกับธนาคารได้ บางครั้งสินเชื่อบางตัวผู้ประกอบการมีคุณสมบัติไม่เข้าหลักเกณฑ์แต่สามารถใช้บริการสินเชื่อตัวอื่นได้ อาทิเช่น สินเชื่อชะลอการเลิกจ้าง สินเชื่อ smePower หรือสินเชื่อทั่วไป ซึ่งจัดอยู่ในแพ็กเก็จเมนูสินเชื่อทั้งสิ้น” กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าว
ทั้งนี้การนำแพ็กเก็จสินเชื่อลงไปพื้นที่ภูเก็ตคาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการธุรกิจและธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรม ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ บริษัทท่องเที่ยว ร้านอาหารภัตตาคาร ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตมีประเภทธุรกิจเหล่านี้ประมาณ 70% มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 5 ล้านคนมีความต้องการสินเชื่อวงเงินตั้งแต่ 20 -100 ล้านบาท จัดเป็นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่และค่อนข้างมีศักยภาพมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจะทำให้รายได้หดหายไป และอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในจังหวัดด้วย
สำหรับงานเปิดเมนูกู้วิกฤต SMEs ในครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการทั่วไปและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวกว่า 300 รายเข้าร่วมงาน มีกิจการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมไม่น้อยกว่า 200 กิจการ โดยธนาคารจะมีบูธสำหรับให้คำปรึกษาทางการเงินโดยสามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้ในงาน พร้อมกับนิทรรศการและนำลูกค้าของธนาคารมาจำหน่ายสินค้า