คลัง จับมือเอกชน 15 แห่ง ช่วยเอสเอ็มอี เล็งปล่อยสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงาน ชูดอกเบี้ยเพียง 5% วงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท ด้านเอสเอ็มอี แบงก์ พร้อมช่วยเหลือเอสเอ็มอีทุกรายเรื่องสินเชื่อ และคำปรึกษาด้านธุรกิจ โปรยยาหอม คลังหากได้เงินเพิ่มอีก 2,000 ล้านบาท จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องปล่อยสินเชื่อมากกว่านี้
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน “เมนูกู้วิกฤติ SMEs” โดยธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 15 แห่ง ผนึกกำลังให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการปล่อยสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงาน ที่อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 5 วงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท สินเชื่อ SME POWER อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท และสินเชื่อทั่วไปวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อปลอ่ยสินเชื่อภายในปี 52
นายประดิษฐ์ ย้ำว่า เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปต้องระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะต้องระวังความเสี่ยงจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น เอสเอ็มอีแบงก์จึงต้องเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้ปรับโครงสร้างผู้บริหารชุดใหม่ มีกรรมการผู้จัดการคนใหม่ จึงเชื่อมั่นว่าจะมีศักยภาพปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อของเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 2.4 ล้านราย และยังแยกบัญชีสำหรับโครงการที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และบัญชีสำหรับการปล่อยสินเชื่อทั่วไป
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตามนโยบายของรัฐบาลจะเข้าช่วยเหลือทุกราย จะไม่มีการปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อ จะเปิดรับปรึกษาเอสเอ็มอีทุกรายที่เดินเข้ามา ซึ่งหากรายใดมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ จะส่งไปให้ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ เมื่อเริ่มดีขึ้นจะนำมาพิจาณาปล่อยสินเชื่อให้ เนื่องจากเห็นว่าเอสเอ็มอีดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว หากมีเงินเข้าไปช่วยเหลือจะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับเงินกองทุนของธนาคารที่มีอยู่ 9,100 ล้านบาท ยังเพียงพอต่อการปล่อยสินเชื่อตามโครงการที่ดำเนินการ แต่หากมีแหล่งทุนในการเพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์อีก 2,000 ล้านบาท จากกระทรวงการคลัง จะทำให้เอสเอ็มอีแบงก์มีสภาพคล่องปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน “เมนูกู้วิกฤติ SMEs” โดยธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 15 แห่ง ผนึกกำลังให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการปล่อยสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงาน ที่อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 5 วงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท สินเชื่อ SME POWER อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท และสินเชื่อทั่วไปวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อปลอ่ยสินเชื่อภายในปี 52
นายประดิษฐ์ ย้ำว่า เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปต้องระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะต้องระวังความเสี่ยงจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น เอสเอ็มอีแบงก์จึงต้องเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้ปรับโครงสร้างผู้บริหารชุดใหม่ มีกรรมการผู้จัดการคนใหม่ จึงเชื่อมั่นว่าจะมีศักยภาพปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อของเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 2.4 ล้านราย และยังแยกบัญชีสำหรับโครงการที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และบัญชีสำหรับการปล่อยสินเชื่อทั่วไป
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตามนโยบายของรัฐบาลจะเข้าช่วยเหลือทุกราย จะไม่มีการปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อ จะเปิดรับปรึกษาเอสเอ็มอีทุกรายที่เดินเข้ามา ซึ่งหากรายใดมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ จะส่งไปให้ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ เมื่อเริ่มดีขึ้นจะนำมาพิจาณาปล่อยสินเชื่อให้ เนื่องจากเห็นว่าเอสเอ็มอีดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว หากมีเงินเข้าไปช่วยเหลือจะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับเงินกองทุนของธนาคารที่มีอยู่ 9,100 ล้านบาท ยังเพียงพอต่อการปล่อยสินเชื่อตามโครงการที่ดำเนินการ แต่หากมีแหล่งทุนในการเพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์อีก 2,000 ล้านบาท จากกระทรวงการคลัง จะทำให้เอสเอ็มอีแบงก์มีสภาพคล่องปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก