กรมส่งออก เตรียม 5 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และกระตุ้นภาคส่งออก ทั้งพัฒนาคุณภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้า ลดต้นทุน หนุนภาคเกษตร และจัดตั้งสถาบันธุรกิจบริการ
นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวในงานสัมมนา “ร่วมกันค้าฝ่าฟันวิกฤติโลก” ว่า ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกช่วงนี้อยู่ในภาวะถดถอย แต่จะรุนแรงขึ้นขั้นติดลบมากเหมือนที่มีการประมาณการถึงร้อยละ 13 หรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องคาดการณ์ยาก
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้เตรียมมาตรการเพื่อกระตุ้นภาคการส่งออกและให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ 5 ข้อ เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.มาตรการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการให้มีการพัฒนาคุณภาพของสินค้า เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งพัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และ 2. การเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่มีให้สูงขึ้น 3.แผนลดต้นทุนในการดำเนินการ เช่น ต้นทุนด้านโลจิสติกส์และประกันความเสี่ยงของการส่งสินค้า ซึ่งสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ก็จะเข้ามาช่วยดูแล
4.จะมีการดูแลเรื่องราคาสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีการออกมาตรการดูแล เพื่อไม่ให้ช่วงสินค้าออกสู่ตลาดจำนวนมากราคาตกต่ำ รวมทั้ง 5. การจัดตั้งสถาบันธุรกิจบริการ ซึ่งถือว่าจะเป็นภาคธุรกิจสำคัญที่ชดเชยรายได้จากการส่งออกที่ลดลง โดยกรมฯ ตั้งเป้าหมายว่ายอดรายได้จากธุรกิจบริการปีนี้จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากมูลค่ารวม 998,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาจะต้องมีมูลค่ารวม 1.1 ล้านบาทในปีนี้ สำหรับเป้าหมายส่งออกปีนี้ กรมฯ ยังมองเป้าหมายเชิงบวก คือ ขยายตัวร้อยละ 0-3 หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออก 170,000-180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวในงานสัมมนา “ร่วมกันค้าฝ่าฟันวิกฤติโลก” ว่า ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกช่วงนี้อยู่ในภาวะถดถอย แต่จะรุนแรงขึ้นขั้นติดลบมากเหมือนที่มีการประมาณการถึงร้อยละ 13 หรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องคาดการณ์ยาก
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้เตรียมมาตรการเพื่อกระตุ้นภาคการส่งออกและให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ 5 ข้อ เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.มาตรการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการให้มีการพัฒนาคุณภาพของสินค้า เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งพัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และ 2. การเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่มีให้สูงขึ้น 3.แผนลดต้นทุนในการดำเนินการ เช่น ต้นทุนด้านโลจิสติกส์และประกันความเสี่ยงของการส่งสินค้า ซึ่งสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ก็จะเข้ามาช่วยดูแล
4.จะมีการดูแลเรื่องราคาสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีการออกมาตรการดูแล เพื่อไม่ให้ช่วงสินค้าออกสู่ตลาดจำนวนมากราคาตกต่ำ รวมทั้ง 5. การจัดตั้งสถาบันธุรกิจบริการ ซึ่งถือว่าจะเป็นภาคธุรกิจสำคัญที่ชดเชยรายได้จากการส่งออกที่ลดลง โดยกรมฯ ตั้งเป้าหมายว่ายอดรายได้จากธุรกิจบริการปีนี้จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากมูลค่ารวม 998,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาจะต้องมีมูลค่ารวม 1.1 ล้านบาทในปีนี้ สำหรับเป้าหมายส่งออกปีนี้ กรมฯ ยังมองเป้าหมายเชิงบวก คือ ขยายตัวร้อยละ 0-3 หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออก 170,000-180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ