ทริสเรทติ้งเผยผลการจัดลำดับเอสเอ็มอีแบงก์ล่าสุดเหลือ A+ จากระดับ AA- สะท้อนอันดับเครดิตของธนาคารที่อ่อนแอลง เหตุมีผลประกอบการต่ำกว่าคาด การบริหารความเสี่ยงไร้ประสิทธิภาพ ขณะที่บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์สั่งปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้รวดเร็วขึ้น หวังคล่องตัวเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรองรับนโยบายรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ
เมื่อวานนี้ (26 ก.พ.) บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เป็นระดับ “A+” จากระดับ “AA-” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” สำหรับการปรับลดอันดับเครดิตครั้งนี้สะท้อนถึงอันดับเครดิตเฉพาะของธนาคารที่อ่อนแอลง แม้จะยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งจากกระทรวงการคลัง
ทริสระบุว่า เอสเอ็มอีแบงก์มีบทบาทสำคัญในเชิงนโยบายของประเทศในการเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อันดับเครดิตเฉพาะของเอสเอ็มอีแบงก์ตกต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากธนาคารมีผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์และการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอันเกิดจากการควบคุมภายในที่หละหลวมและการบริหารความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ การพิจารณาอันดับเครดิตเฉพาะของธนาคารยังคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กร แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจถดถอยยิ่งขึ้น และภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารลดลงต่อไปในระยะปานกลาง
***บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์สั่งรื้อใหญ่
วันเดียวกัน นายวิชญะ วิถีธรรม โฆษกคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยถึง คณะกรรมการธนาคารได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของธนาคารใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่สัปดาห์ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 6 สายงานหลัก คือ สายงานด้านสินเชื่อ สายงานสาขาและพัฒนาผู้ประกอบการ สายงานบริหารเงินและบัญชี สายงานปฏิบัติการ สายงานบริหารความเสี่ยง และสายงานบริหารสินทรัพย์ โดยการจัดองค์กรครั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเชิงรุกของธนาคาร
"การจัดแบ่งสายงานให้เกิดความกระชับเพื่อให้ทำงานได้คล่องตัวสามารถตอบสนองการให้บริการสู่ผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เช่นนี้ เอสเอ็มอี แบงก์ ในฐานะเป็นสถาบันการเงินและกลไกของรัฐ ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถอยู่รอดและเข้าถึงแหล่งทุนได้"
นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างครั้งนี้ โฆษกคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ธนาคาราฯ ยังยึดหลักการนำทรัพยากรบุคคลในระดับผู้บริหารของธนาคารที่มีอยู่ มาปฏิบัติหน้าที่ทุกคน เพื่อที่จะช่วยกันทำงานให้องค์กรบรรลุเป้าหมายปี 2552 ตามที่วางไว้ ทั้งในด้านการให้บริการสินเชื่อ และบทบาทสำคัญในการเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการทั้งก่อนและหลังอนุมัติสินเชื่อ โดยผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วหากไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ต่อไปนี้ธนาคารมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพ “ไม่ทอดทิ้งลูกค้า” โดยทั้งฝ่ายสินเชื่อ และสาขา จะส่งลูกค้าที่มีโครงการ/กิจการที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพสินเชื่อ แต่พร้อมจะร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อกลับมาขอกู้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น” โฆษกคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าว.
เมื่อวานนี้ (26 ก.พ.) บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เป็นระดับ “A+” จากระดับ “AA-” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” สำหรับการปรับลดอันดับเครดิตครั้งนี้สะท้อนถึงอันดับเครดิตเฉพาะของธนาคารที่อ่อนแอลง แม้จะยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งจากกระทรวงการคลัง
ทริสระบุว่า เอสเอ็มอีแบงก์มีบทบาทสำคัญในเชิงนโยบายของประเทศในการเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อันดับเครดิตเฉพาะของเอสเอ็มอีแบงก์ตกต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากธนาคารมีผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์และการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอันเกิดจากการควบคุมภายในที่หละหลวมและการบริหารความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ การพิจารณาอันดับเครดิตเฉพาะของธนาคารยังคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กร แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจถดถอยยิ่งขึ้น และภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารลดลงต่อไปในระยะปานกลาง
***บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์สั่งรื้อใหญ่
วันเดียวกัน นายวิชญะ วิถีธรรม โฆษกคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยถึง คณะกรรมการธนาคารได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของธนาคารใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่สัปดาห์ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 6 สายงานหลัก คือ สายงานด้านสินเชื่อ สายงานสาขาและพัฒนาผู้ประกอบการ สายงานบริหารเงินและบัญชี สายงานปฏิบัติการ สายงานบริหารความเสี่ยง และสายงานบริหารสินทรัพย์ โดยการจัดองค์กรครั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเชิงรุกของธนาคาร
"การจัดแบ่งสายงานให้เกิดความกระชับเพื่อให้ทำงานได้คล่องตัวสามารถตอบสนองการให้บริการสู่ผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เช่นนี้ เอสเอ็มอี แบงก์ ในฐานะเป็นสถาบันการเงินและกลไกของรัฐ ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถอยู่รอดและเข้าถึงแหล่งทุนได้"
นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างครั้งนี้ โฆษกคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ธนาคาราฯ ยังยึดหลักการนำทรัพยากรบุคคลในระดับผู้บริหารของธนาคารที่มีอยู่ มาปฏิบัติหน้าที่ทุกคน เพื่อที่จะช่วยกันทำงานให้องค์กรบรรลุเป้าหมายปี 2552 ตามที่วางไว้ ทั้งในด้านการให้บริการสินเชื่อ และบทบาทสำคัญในการเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการทั้งก่อนและหลังอนุมัติสินเชื่อ โดยผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วหากไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ต่อไปนี้ธนาคารมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพ “ไม่ทอดทิ้งลูกค้า” โดยทั้งฝ่ายสินเชื่อ และสาขา จะส่งลูกค้าที่มีโครงการ/กิจการที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพสินเชื่อ แต่พร้อมจะร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อกลับมาขอกู้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น” โฆษกคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าว.