เอสเอ็มอี แบงก์ ปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้รวดเร็วขึ้น มีผลตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป
นายวิชญะ วิถีธรรม โฆษกคณะกรรมการ ธพว. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยถึง คณะกรรมการธนาคารได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของธนาคารใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2552 โดยแบ่งเป็น 6 สายงานหลัก คือ สายงานด้านสินเชื่อ สายงานสาขาและพัฒนาผู้ประกอบการ สายงานบริหารเงินและบัญชี สายงานปฏิบัติการ สายงานบริหารความเสี่ยง และสายงานบริหารสินทรัพย์
ทั้งนี้การจัดองค์กรในครั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเชิงรุกของธนาคาร โดยจัดแบ่งสายงานให้เกิดความกระชับเพื่อให้ทำงานได้คล่องตัวสามารถตอบสนองการให้บริการสู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทางเอสเอ็มอี แบงก์ ในฐานะเป็นสถาบันการเงินและกลไกของรัฐ ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถอยู่รอดและเข้าถึงแหล่งทุนได้
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างครั้งนี้ ยังยึดหลักการนำทรัพยากรบุคคลในระดับผู้บริหารของธนาคารที่มีอยู่ มาปฏิบัติหน้าที่ทุกคน เพื่อที่จะช่วยกันทำงานให้องค์กรบรรลุเป้าหมายปี 2552 ตามที่วางไว้ ทั้งในด้านการให้บริการสินเชื่อ และบทบาทสำคัญในการเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการทั้งก่อนและหลังอนุมัติสินเชื่อ โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วหากไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งต่อไปทางธนาคารมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพ “ไม่ทอดทิ้งลูกค้า” โดยทั้งฝ่ายสินเชื่อ และสาขา จะส่งลูกค้าที่มีโครงการ/กิจการที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพสินเชื่อ แต่พร้อมจะร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อกลับมาขอกู้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น” โฆษกคณะกรรมการ ธพว. กล่าวในที่สุด
นายวิชญะ วิถีธรรม โฆษกคณะกรรมการ ธพว. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยถึง คณะกรรมการธนาคารได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของธนาคารใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2552 โดยแบ่งเป็น 6 สายงานหลัก คือ สายงานด้านสินเชื่อ สายงานสาขาและพัฒนาผู้ประกอบการ สายงานบริหารเงินและบัญชี สายงานปฏิบัติการ สายงานบริหารความเสี่ยง และสายงานบริหารสินทรัพย์
ทั้งนี้การจัดองค์กรในครั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเชิงรุกของธนาคาร โดยจัดแบ่งสายงานให้เกิดความกระชับเพื่อให้ทำงานได้คล่องตัวสามารถตอบสนองการให้บริการสู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทางเอสเอ็มอี แบงก์ ในฐานะเป็นสถาบันการเงินและกลไกของรัฐ ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถอยู่รอดและเข้าถึงแหล่งทุนได้
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างครั้งนี้ ยังยึดหลักการนำทรัพยากรบุคคลในระดับผู้บริหารของธนาคารที่มีอยู่ มาปฏิบัติหน้าที่ทุกคน เพื่อที่จะช่วยกันทำงานให้องค์กรบรรลุเป้าหมายปี 2552 ตามที่วางไว้ ทั้งในด้านการให้บริการสินเชื่อ และบทบาทสำคัญในการเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการทั้งก่อนและหลังอนุมัติสินเชื่อ โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วหากไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งต่อไปทางธนาคารมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพ “ไม่ทอดทิ้งลูกค้า” โดยทั้งฝ่ายสินเชื่อ และสาขา จะส่งลูกค้าที่มีโครงการ/กิจการที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพสินเชื่อ แต่พร้อมจะร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อกลับมาขอกู้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น” โฆษกคณะกรรมการ ธพว. กล่าวในที่สุด