สสว. เผยผลสำรวจ ชี้ปัจจัยลบกระทบ SMEs ต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 3 - 5 ปี ในที่สุด จะเหลือแต่ผู้ประกอบการแกร่งตัวจริงอยู่รอด เนื่องจาก SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่ SMEs กังวลปัญหาเศรษฐกิจประเทศชะลอตัวสูงสุด สาขาการผลิตที่น่าเป็นห่วง เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ขณะที่ภาคบริการ คือ สาขาที่เชื่อมกับการท่องเที่ยว
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ โครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า ผลการสำรวจ SMEs รายภูมิภาค ไตรมาส 4/2551 ชี้ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับ SMEs ในปี 2552 คือ การรักษาสภาพ SMEs ให้มีสถานะที่สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในระยะยาว เนื่องจากปัจจัยลบ และปัญหาจะยังคงจะเกาะติด SMEs ไปจนถึงปี 2553 ถึงปี 2556 เนื่องมาจากความอ่อนแอทั้งการตลาด การดำเนินการ การผลิต เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ และการเงิน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว เชื่อว่าสถานการณ์ของ SMEs ก็จะต้องประสบกับวิกฤติไปอีกอย่างน้อย 3 - 5 ปีจนกระทั่งเหลือเพียงผู้อยู่รอดเท่านั้น และหากเป็นเช่นนั้น สัดส่วนของ SMEs ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจก็คงลดน้อยลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ในการประกอบธุรกิจของ SMEs ในปี 2552 อันดับ 1 คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย ร้อยละ 98.56 เนื่องจากความ วิตกกังวลเรื่อง การลงทุน ความเชื่อมั่น และความสามารถในการส่งออก ตลอดจนอัตราการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ ลำดับที่ 2 คือ พฤติกรรมผู้บริโภค ร้อยละ 96.21 เนื่องจาก SMEs ยังคงวิตกกังวลเรื่องอัตราการบริโภคต่อครัวเรื่อนที่ลดลง เนื่องจากความกังวลต่ออนาคตในตัวเศรษฐกิจไทย และความกังวลต่อการถูกเลิกจ้างงานจนทำให้อำนาจในการซื้อลดลง
ลำดับ 3 คือ สถานการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 95.87 ลำดับ 4 คือ เป็นเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 93.38 และลำดับ 5 คื อากรแข่งขันภายในประเทศ ร้อยละ 90.12
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้านรายได้รวม ร้อยละ 33 คาดว่า ปี 2552 น่าจะมีรายได้รวมที่ลดลงจากปีก่อน (2551) โดยเฉพาะ SMEs ในภาคเหนือและภาคใต้ อย่างไรก็ตาม SMEs กว่าร้อยละ 31 คาดการณ์ว่ารายได้รวมจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาคตะวันออก ขณะที่กว่าร้อยละ 35 คาดการณ์ว่าจะยังรักษาสภาพได้เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ที่ผ่านมา
จากการสำรวจยังพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจส่งออกนั้น คาดการณ์ว่าตนเองจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจนทำให้การส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 14 จากทั้งหมดโดยเฉพาะ SMEs ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามประมาณร้อยละ 11 ยังคาดการณ์ว่าโอกาศในการเพิ่มยอดการส่งออกยังพอจะเป็นไปได้ในปี 2552 แม้ว่าจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนก็ตาม
สำหรับการจ้างงาน ผลสำรวจระบุว่า ประมาณร้อยละ 67.37 จะไม่ลดหรือเพิ่มการจ้างงาน ประมาณกว่าร้อยละ 16 คาดการณ์ว่าจะลดอัตราการจ้างงานลงในปี 2552 โดยเฉพาะ SMEs ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ยังพบว่า SMEs ประมาณกว่าร้อยละ 16 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มอัตราการจ้างงานโดยเฉพาะภาคตะวันออก ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ปัญหาการเลิกจ้างจะเป็นเพียงเฉพาะบางสาขาและเฉพาะกิจการเท่านั้น
สำหรับธุรกิจด้านการผลิต 11 สาขาที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในปี 2552 ได้แก่
ทั้งนี้ 5 สาขาการค้าและการบริการ ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษปี 2552 ได้แก่
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ โครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า ผลการสำรวจ SMEs รายภูมิภาค ไตรมาส 4/2551 ชี้ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับ SMEs ในปี 2552 คือ การรักษาสภาพ SMEs ให้มีสถานะที่สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในระยะยาว เนื่องจากปัจจัยลบ และปัญหาจะยังคงจะเกาะติด SMEs ไปจนถึงปี 2553 ถึงปี 2556 เนื่องมาจากความอ่อนแอทั้งการตลาด การดำเนินการ การผลิต เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ และการเงิน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว เชื่อว่าสถานการณ์ของ SMEs ก็จะต้องประสบกับวิกฤติไปอีกอย่างน้อย 3 - 5 ปีจนกระทั่งเหลือเพียงผู้อยู่รอดเท่านั้น และหากเป็นเช่นนั้น สัดส่วนของ SMEs ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจก็คงลดน้อยลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ในการประกอบธุรกิจของ SMEs ในปี 2552 อันดับ 1 คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย ร้อยละ 98.56 เนื่องจากความ วิตกกังวลเรื่อง การลงทุน ความเชื่อมั่น และความสามารถในการส่งออก ตลอดจนอัตราการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ ลำดับที่ 2 คือ พฤติกรรมผู้บริโภค ร้อยละ 96.21 เนื่องจาก SMEs ยังคงวิตกกังวลเรื่องอัตราการบริโภคต่อครัวเรื่อนที่ลดลง เนื่องจากความกังวลต่ออนาคตในตัวเศรษฐกิจไทย และความกังวลต่อการถูกเลิกจ้างงานจนทำให้อำนาจในการซื้อลดลง
ลำดับ 3 คือ สถานการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 95.87 ลำดับ 4 คือ เป็นเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 93.38 และลำดับ 5 คื อากรแข่งขันภายในประเทศ ร้อยละ 90.12
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้านรายได้รวม ร้อยละ 33 คาดว่า ปี 2552 น่าจะมีรายได้รวมที่ลดลงจากปีก่อน (2551) โดยเฉพาะ SMEs ในภาคเหนือและภาคใต้ อย่างไรก็ตาม SMEs กว่าร้อยละ 31 คาดการณ์ว่ารายได้รวมจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาคตะวันออก ขณะที่กว่าร้อยละ 35 คาดการณ์ว่าจะยังรักษาสภาพได้เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ที่ผ่านมา
จากการสำรวจยังพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจส่งออกนั้น คาดการณ์ว่าตนเองจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจนทำให้การส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 14 จากทั้งหมดโดยเฉพาะ SMEs ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามประมาณร้อยละ 11 ยังคาดการณ์ว่าโอกาศในการเพิ่มยอดการส่งออกยังพอจะเป็นไปได้ในปี 2552 แม้ว่าจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนก็ตาม
สำหรับการจ้างงาน ผลสำรวจระบุว่า ประมาณร้อยละ 67.37 จะไม่ลดหรือเพิ่มการจ้างงาน ประมาณกว่าร้อยละ 16 คาดการณ์ว่าจะลดอัตราการจ้างงานลงในปี 2552 โดยเฉพาะ SMEs ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ยังพบว่า SMEs ประมาณกว่าร้อยละ 16 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มอัตราการจ้างงานโดยเฉพาะภาคตะวันออก ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ปัญหาการเลิกจ้างจะเป็นเพียงเฉพาะบางสาขาและเฉพาะกิจการเท่านั้น
สำหรับธุรกิจด้านการผลิต 11 สาขาที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในปี 2552 ได้แก่
ทั้งนี้ 5 สาขาการค้าและการบริการ ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษปี 2552 ได้แก่