สสว. จับมือ มธ. ชี้โอกาสสู่ตลาดเกาหลีใต้เอสเอ็มอีไทย อุตสาหกรรมพลอยสี เครื่องประดับเทียม วัตถุดิบสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อนาคตสดใส เผยกลุ่มวัยรุ่นเป้าหมายหลัก ส่วนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลาดหลักจะอยู่ที่กลุ่มนักศึกษา คู่แต่งงานใหม่ หญิงโสด กลุ่มกอล์ฟ เชื่อเอฟทีเอ อาเชียน-เกาหลี จะช่วยขยายตลาดเอสเอ็มอีไทยได้อย่างยั่งยืน
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย เรื่อง “การเข้าสู่ตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้าสำหรับ SMEs” (กรณีศึกษา : FTA อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี) เพื่อประเมินศักยภาพ โอกาส และอุปสรรค การทำตลาดส่งออกที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–สาธารณรัฐเกาหลี
ทั้งนี้จากการศึกษาเพื่อวิเคราะห์โอกาสในการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ในแต่ละอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าของเกาหลีใต้ในลำดับที่ 17 คิดเป็นมูลค่า 21.97 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่มีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ พลอยสี นอกจากนี้ไทยยังเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องประดับเทียมในอันดับต้นๆ ของเกาหลีด้วย ขณะที่เครื่องประดับแท้ ก็เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ เพราะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
“การเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ของไทย ภายใต้ความตกลงเสรีการค้า อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี พบว่า วิธีการส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ส่วนวิธีการส่งออกทางตรง จะเป็นโอกาสที่ดีต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ ซึ่งในเกาหลีใต้มีการนำเข้าสูงที่สุด คือ ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ ใยยาวประดิษฐ์ และวัตถุสิ่งทอประดิษฐ์ สำหรับสินค้าสิ่งทอที่สร้างมูลค่าให้ไทยในการส่งออกคือ ฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์” นายภักดิ์กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้อย่างมาก ทำให้รัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีก็นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รองจาก จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับเอสเอ็มอี ในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยช่องทางที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น จะมีการที่นักท่องเที่ยวติดต่อบริษัทนำเที่ยวของไทยโดยตรงผ่านระบบอินเตอร์เนต และการที่บริษัทเกาหลีมีการตั้งสำนักงานตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทย เพื่อให้สามารถติดต่อกับบริษัททัวร์ในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย เรื่อง “การเข้าสู่ตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้าสำหรับ SMEs” (กรณีศึกษา : FTA อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี) เพื่อประเมินศักยภาพ โอกาส และอุปสรรค การทำตลาดส่งออกที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–สาธารณรัฐเกาหลี
ทั้งนี้จากการศึกษาเพื่อวิเคราะห์โอกาสในการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ในแต่ละอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าของเกาหลีใต้ในลำดับที่ 17 คิดเป็นมูลค่า 21.97 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่มีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ พลอยสี นอกจากนี้ไทยยังเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องประดับเทียมในอันดับต้นๆ ของเกาหลีด้วย ขณะที่เครื่องประดับแท้ ก็เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ เพราะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
“การเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ของไทย ภายใต้ความตกลงเสรีการค้า อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี พบว่า วิธีการส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ส่วนวิธีการส่งออกทางตรง จะเป็นโอกาสที่ดีต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ ซึ่งในเกาหลีใต้มีการนำเข้าสูงที่สุด คือ ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ ใยยาวประดิษฐ์ และวัตถุสิ่งทอประดิษฐ์ สำหรับสินค้าสิ่งทอที่สร้างมูลค่าให้ไทยในการส่งออกคือ ฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์” นายภักดิ์กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้อย่างมาก ทำให้รัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีก็นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รองจาก จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับเอสเอ็มอี ในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยช่องทางที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น จะมีการที่นักท่องเที่ยวติดต่อบริษัทนำเที่ยวของไทยโดยตรงผ่านระบบอินเตอร์เนต และการที่บริษัทเกาหลีมีการตั้งสำนักงานตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทย เพื่อให้สามารถติดต่อกับบริษัททัวร์ในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น