สสว.ร่วมกับสสวท.และสอท.เชียงใหม่ จัดงาน “การจับคู่นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ 2551 (Inno-Matching 2008)” หวังสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่มีความสามารถในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในด้านต่างๆ ได้นำเสนอผลงาน ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม เพื่อนำผลงานพัฒนาสู่การเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในอนาคต
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สสวท.) จัดให้มีกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่าง Supply Side ได้แก่ หน่วยงานผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่มีศักยภาพด้านนวัตกรรม และ Demand Side ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่ต้องการนวัตกรรม ภายใต้ชื่องาน “การจับคู่นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ 2551 (Inno-Matching 2008)”
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัย และนวัตกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานวิจัยต่างๆ มานำเสนอให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนและนำความรู้ที่ได้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ กิจการ และผลิตภัณฑ์ของตน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และผลัก ดันการจับคู่ธุรกิจนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สสว. ได้ร่วมกับ สสวท. จัดให้มีกิจกรรมเชื่อมโยงผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ จังหวัด ขอนแก่น โดยมีผู้ประกอบการสนใจคู่ธุรกิจ จำนวน 17 ราย และ กรุงเทพฯ มีผู้ประกอบการสนใจจับคู่ธุรกิจ จำนวน 69 ราย
นายภักดิ์ กล่าวเพิ่มอีกว่า นอกจากการจัดงานดังกล่าวแล้ว สสว. ยังได้ร่วมกับ สสวท. จัดให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม SMEs ไทย เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมกับหน่วยงานวิจัยต่างๆ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3.มหาวิทยาลัยพายัพ 4.มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 5.มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 6.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ และ 7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สสวท.) จัดให้มีกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่าง Supply Side ได้แก่ หน่วยงานผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่มีศักยภาพด้านนวัตกรรม และ Demand Side ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่ต้องการนวัตกรรม ภายใต้ชื่องาน “การจับคู่นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ 2551 (Inno-Matching 2008)”
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัย และนวัตกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานวิจัยต่างๆ มานำเสนอให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนและนำความรู้ที่ได้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ กิจการ และผลิตภัณฑ์ของตน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และผลัก ดันการจับคู่ธุรกิจนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สสว. ได้ร่วมกับ สสวท. จัดให้มีกิจกรรมเชื่อมโยงผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ จังหวัด ขอนแก่น โดยมีผู้ประกอบการสนใจคู่ธุรกิจ จำนวน 17 ราย และ กรุงเทพฯ มีผู้ประกอบการสนใจจับคู่ธุรกิจ จำนวน 69 ราย
นายภักดิ์ กล่าวเพิ่มอีกว่า นอกจากการจัดงานดังกล่าวแล้ว สสว. ยังได้ร่วมกับ สสวท. จัดให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม SMEs ไทย เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมกับหน่วยงานวิจัยต่างๆ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3.มหาวิทยาลัยพายัพ 4.มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 5.มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 6.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ และ 7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ