ก.อุตฯ จับมือสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พลิกโฉมผ้าทอพื้นเมืองอีสาน สร้างความแตกต่างทั้งรูปแบบและสีสัน พร้อมเปิดตัวแบรนด์ “คลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุบล” ดันส่งออกยุโรป
นายวิโรฐ มีแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ผ่านการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน
ด้านนายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า การจัดทำโครงการพัฒนาคลัสเตอร์สิ่งทอในส่วนภูมิภาคขึ้น ในส่วนภาคอีสานใช้จังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานีเป็นจังหวัดนำร่องในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เน้นนำผลิตภัณฑ์หรือผ้าทอพื้นเมืองที่มีอยู่อย่างมากมาย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น มาพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตรงกับความต้องการของตลาด ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สำหรับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองนั้น ในเบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษาและสำรวจวัตถุดิบของกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอตระการพืชผล อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน อำเภอดอนมดแดง อำเภอเดชอุดม กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก และกิ่งอำเภอสว่างวีระวงค์ รวมจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 กลุ่มวิสาหกิจ แบ่งเป็น กลุ่มทอผ้า 16 กลุ่ม กลุ่มตัดเย็บ 8 กลุ่ม และกลุ่มร้านค้า 6 ร้าน โดยสมาชิกส่วนใหญ่มีสต็อกผ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ทราบแนวทางที่จะระบายสินค้า
ผลจากการดำเนินการได้พัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งรูปแบบและสีสัน เน้นเทรนด์สีสไตล์ยุโรป ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ แบ่งเป็น 4 โทน คือ 1.Geometrical Manifest คือทรงเลขาคณิตที่ชัดเจน 2.White Gothic คือ สถาปัตยกรรมสีอ่อนทุกสีแต่สามารถมีสีแดงประการังมาตัดได้ 3.Riverside เป็นการออกแบบที่มีแนวคิดมาจากการใช้สีที่ออกแนวริมน้ำ เป็นการย้อนกลับไปหาธรรมชาติ 4.The Extantrics คือสีที่แสดงถึงความสูงศักดิ์ ร่ำรวย มั่งคั่ง รวมผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนา 62 ชิ้น เช่น ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้ากลางโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งไปจัดแสดงโชว์ในงานสินค้าแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องหนัง 2551 (BIFF&BIL 2008) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นอกจากนั้น ได้ต่อยอดโดยสร้างตราสินค้าของกลุ่มภายใต้ชื่อ “คลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุบล” ซึ่งหากสมาชิกมีการผลิตสินค้าในนามกลุ่มไปจำหน่ายก็สามารถใช้แบรนด์นี้ได้ทันที โดยแบรนด์ดังกล่าวจะเป็นจุดเด่นที่สามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการมุ่งสู่ความเป็น อุบลเมืองแฟชั่น และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการส่งออกสู่ตลาดสากล
นายวิโรฐ มีแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ผ่านการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน
ด้านนายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า การจัดทำโครงการพัฒนาคลัสเตอร์สิ่งทอในส่วนภูมิภาคขึ้น ในส่วนภาคอีสานใช้จังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานีเป็นจังหวัดนำร่องในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เน้นนำผลิตภัณฑ์หรือผ้าทอพื้นเมืองที่มีอยู่อย่างมากมาย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น มาพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตรงกับความต้องการของตลาด ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สำหรับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองนั้น ในเบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษาและสำรวจวัตถุดิบของกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอตระการพืชผล อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน อำเภอดอนมดแดง อำเภอเดชอุดม กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก และกิ่งอำเภอสว่างวีระวงค์ รวมจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 กลุ่มวิสาหกิจ แบ่งเป็น กลุ่มทอผ้า 16 กลุ่ม กลุ่มตัดเย็บ 8 กลุ่ม และกลุ่มร้านค้า 6 ร้าน โดยสมาชิกส่วนใหญ่มีสต็อกผ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ทราบแนวทางที่จะระบายสินค้า
ผลจากการดำเนินการได้พัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งรูปแบบและสีสัน เน้นเทรนด์สีสไตล์ยุโรป ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ แบ่งเป็น 4 โทน คือ 1.Geometrical Manifest คือทรงเลขาคณิตที่ชัดเจน 2.White Gothic คือ สถาปัตยกรรมสีอ่อนทุกสีแต่สามารถมีสีแดงประการังมาตัดได้ 3.Riverside เป็นการออกแบบที่มีแนวคิดมาจากการใช้สีที่ออกแนวริมน้ำ เป็นการย้อนกลับไปหาธรรมชาติ 4.The Extantrics คือสีที่แสดงถึงความสูงศักดิ์ ร่ำรวย มั่งคั่ง รวมผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนา 62 ชิ้น เช่น ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้ากลางโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งไปจัดแสดงโชว์ในงานสินค้าแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องหนัง 2551 (BIFF&BIL 2008) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นอกจากนั้น ได้ต่อยอดโดยสร้างตราสินค้าของกลุ่มภายใต้ชื่อ “คลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุบล” ซึ่งหากสมาชิกมีการผลิตสินค้าในนามกลุ่มไปจำหน่ายก็สามารถใช้แบรนด์นี้ได้ทันที โดยแบรนด์ดังกล่าวจะเป็นจุดเด่นที่สามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการมุ่งสู่ความเป็น อุบลเมืองแฟชั่น และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการส่งออกสู่ตลาดสากล