กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยเริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับเปิดตัวแบรนด์คลัสเตอร์ผ้าพื้นเมืองอุบลฯ มุ่งเป้าส่งออกไปยุโรป
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภท ผ้าทอพื้นเมือง ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่คือ กลุ่มผู้ประกอบการหรือชุมชนมักผลิตสินค้ารูปแบบเดิม และผลิตเหมือน ๆ กัน ไม่มีความแตกต่างและความหลากหลาย ทำให้เกิดสินค้าล้นสต็อคจากการแข่งขันกันเอง นำไปสู่การขาดสภาพคล่อง และล้มเลิกกิจการไปในที่สุด
ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการพัฒนาคลัสเตอร์สิ่งทอในส่วนภูมิภาคขึ้น และสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้เลือกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดนำร่องในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
สำหรับการรวมตัวกันครั้งนี้ เพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าทอพื้นเมือง ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ โดยนำผลิตภัณฑ์หรือผ้าทอพื้นเมืองที่มีอยู่อย่างมากมาย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือผ้ากาบบัว ซึ่งถือเป็นผ้าที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดอุบลราชธานี มาพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
โดยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองนั้น ในเบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษาและสำรวจวัตถุดิบของกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอตระการพืชผล อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน อำเภอดอนมดแดง อำเภอเดชอุดม กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก และกิ่งอำเภอสว่างวีระวงค์ รวมจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 กลุ่มวิสาหกิจ แบ่งเป็น กลุ่มทอผ้า 16 กลุ่ม กลุ่มตัดเย็บ 8 กลุ่ม และกลุ่มร้านค้า 6 ร้าน
ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่มีสต็อกผ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ทราบแนวทางที่จะระบายสินค้า ผู้เชี่ยวชาญจึงได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์โดยนำผ้าค้างสต็อกมาใช้ พร้อมจัดอบรมความรู้ ทั้งเรื่องการตัดเย็บประยุกต์ เพื่อสร้างแนวทางการตัดเย็บแบบใหม่ ๆ และเทคนิคการทอผ้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบสำหรับใช้งานในอนาคต รวมทั้งสร้างความรู้ในการทำตลาดเชิงรุก เพื่อปูพื้นฐานความรู้แก่กลุ่มคลัสเตอร์ในการเปิดตลาดใหม่ ๆ สำหรับสินค้าที่กำลังผลิตออกมา
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้มีการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยมีรูปแบบและใช้สีสันแตกต่างไปจากเดิมซึ่งการออกแบบนั้น ได้เน้นเรื่องของเทรนด์สีที่กำหนดไว้ในสไตล์ยุโรป แบ่งเป็น 4 โทน คือ 1.Geometrical Manifest คือทรงเลขาคณิตที่ชัดเจน 2.White Gothic คือ สถาปัตยกรรมสีอ่อนทุกสีแต่สามารถมีสีแดงประการังมาตัดได้ 3.Riverside เป็นการออกแบบที่มีแนวคิดมาจากการใช้สีที่ออกแนวริมน้ำ เป็นการย้อนกลับไปหาธรรมชาติ 4.The Extantrics คือสีที่แสดงถึงความสูงศักดิ์ ร่ำรวย มั่งคั่ง
โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ได้แปรรูปนั้น แยกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทเคหะสิ่งทอ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้ากลางโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว ซึ่งแต่ละชิ้นก็มีหลากหลายขนาดแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลวดลายและสีสัน และประเภทเครื่องแต่งกาย เสื้อ กระโปรง และหมวก รวมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนาทั้งหมด 62 ชิ้น ซึ่งได้ก็มีการนำผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งไปจัดแสดงในงานสินค้าแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องหนัง 2551 (BIFF&BIL 2008) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน
“ นอกจากผลลัพธ์ที่ได้คือ เกิดกลุ่มคลัสเตอร์ที่แข็งแกร่งเป็นรูปธรรและผลิตภัณฑ์ของสมาชิกที่ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายแล้ว ในวันนี้ยังได้มีการสร้างตราสินค้าของกลุ่มภายใต้ชื่อ “คลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุบล” ซึ่งหากสมาชิกมีการผลิตสินค้าในนามกลุ่มไปจำหน่ายก็สามารถใช้แบรนด์นี้ได้ทันที โดยแบรนด์ดังกล่าวจะเป็นจุดเด่นที่สามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการมุ่งสู่ความเป็น อุบลเมืองแฟชั่น และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการส่งออกสู่ตลาดสากล ” นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภท ผ้าทอพื้นเมือง ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่คือ กลุ่มผู้ประกอบการหรือชุมชนมักผลิตสินค้ารูปแบบเดิม และผลิตเหมือน ๆ กัน ไม่มีความแตกต่างและความหลากหลาย ทำให้เกิดสินค้าล้นสต็อคจากการแข่งขันกันเอง นำไปสู่การขาดสภาพคล่อง และล้มเลิกกิจการไปในที่สุด
ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการพัฒนาคลัสเตอร์สิ่งทอในส่วนภูมิภาคขึ้น และสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้เลือกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดนำร่องในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
สำหรับการรวมตัวกันครั้งนี้ เพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าทอพื้นเมือง ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ โดยนำผลิตภัณฑ์หรือผ้าทอพื้นเมืองที่มีอยู่อย่างมากมาย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือผ้ากาบบัว ซึ่งถือเป็นผ้าที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดอุบลราชธานี มาพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
โดยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองนั้น ในเบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษาและสำรวจวัตถุดิบของกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอตระการพืชผล อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน อำเภอดอนมดแดง อำเภอเดชอุดม กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก และกิ่งอำเภอสว่างวีระวงค์ รวมจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 กลุ่มวิสาหกิจ แบ่งเป็น กลุ่มทอผ้า 16 กลุ่ม กลุ่มตัดเย็บ 8 กลุ่ม และกลุ่มร้านค้า 6 ร้าน
ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่มีสต็อกผ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ทราบแนวทางที่จะระบายสินค้า ผู้เชี่ยวชาญจึงได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์โดยนำผ้าค้างสต็อกมาใช้ พร้อมจัดอบรมความรู้ ทั้งเรื่องการตัดเย็บประยุกต์ เพื่อสร้างแนวทางการตัดเย็บแบบใหม่ ๆ และเทคนิคการทอผ้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบสำหรับใช้งานในอนาคต รวมทั้งสร้างความรู้ในการทำตลาดเชิงรุก เพื่อปูพื้นฐานความรู้แก่กลุ่มคลัสเตอร์ในการเปิดตลาดใหม่ ๆ สำหรับสินค้าที่กำลังผลิตออกมา
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้มีการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยมีรูปแบบและใช้สีสันแตกต่างไปจากเดิมซึ่งการออกแบบนั้น ได้เน้นเรื่องของเทรนด์สีที่กำหนดไว้ในสไตล์ยุโรป แบ่งเป็น 4 โทน คือ 1.Geometrical Manifest คือทรงเลขาคณิตที่ชัดเจน 2.White Gothic คือ สถาปัตยกรรมสีอ่อนทุกสีแต่สามารถมีสีแดงประการังมาตัดได้ 3.Riverside เป็นการออกแบบที่มีแนวคิดมาจากการใช้สีที่ออกแนวริมน้ำ เป็นการย้อนกลับไปหาธรรมชาติ 4.The Extantrics คือสีที่แสดงถึงความสูงศักดิ์ ร่ำรวย มั่งคั่ง
โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ได้แปรรูปนั้น แยกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทเคหะสิ่งทอ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้ากลางโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว ซึ่งแต่ละชิ้นก็มีหลากหลายขนาดแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลวดลายและสีสัน และประเภทเครื่องแต่งกาย เสื้อ กระโปรง และหมวก รวมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนาทั้งหมด 62 ชิ้น ซึ่งได้ก็มีการนำผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งไปจัดแสดงในงานสินค้าแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องหนัง 2551 (BIFF&BIL 2008) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน
“ นอกจากผลลัพธ์ที่ได้คือ เกิดกลุ่มคลัสเตอร์ที่แข็งแกร่งเป็นรูปธรรและผลิตภัณฑ์ของสมาชิกที่ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายแล้ว ในวันนี้ยังได้มีการสร้างตราสินค้าของกลุ่มภายใต้ชื่อ “คลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุบล” ซึ่งหากสมาชิกมีการผลิตสินค้าในนามกลุ่มไปจำหน่ายก็สามารถใช้แบรนด์นี้ได้ทันที โดยแบรนด์ดังกล่าวจะเป็นจุดเด่นที่สามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการมุ่งสู่ความเป็น อุบลเมืองแฟชั่น และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการส่งออกสู่ตลาดสากล ” นายวิรัตน์ กล่าว