สสว. ชี้ผลสำรวจ เตือนภัย SMEs ในเดือน กันยายน พบ สถานการณ์การเมืองและความขัดแย้ง บั่นทอนความเชื่อมั่น ด้านผลงานรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ยังไม่สามารถช่วยเหลือขับเคลื่อน SMEsได้ ส่วนการประเมินผลกำไร SMEs ลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ปีนี้ทำกำไรได้เพียง 3.69% ด้านส่งออก SMEs ลดฮวบจาก 10.69% เหลือ 7.69% มูลค่าลดลงจาก 1.75 ล้านล้านบาท เหลือ 1.71 ล้านล้านบาท
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายงานวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW) ประจำเดือนกันยายน 2551 โดยการสำรวจความคิดเห็นจาก SMEs จำนวน 4,200 กิจการทั่วประเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่า สถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งต่างๆ จะบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดย SMEs มีความกังวลว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ยังไม่สามารถขับเคลื่อนงานในบางเรื่องได้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการช่วยเหลือ SMEs
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า และการบริการ อาจจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (ปัญหาต่อเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ) สถานการณ์ทางการเมือง ความเชื่อมั่นในการลงทุน ราคาน้ำมันที่อาจจะกลับมาผันผวนในช่วงสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น การขาดดุลการค้า การว่างงาน ภัยธรรมชาติจากไต้ฝุ่นและน้ำท่วม ตลอดจนการแข่งขันทางการค้าและภาวะโลกร้อน ตามลำดับ
ทั้งนี้ การประเมินสถานการณ์ SMEs พบว่าแม้ว่าการจ้างงาน จำนวนกิจการเปิดใหม่ การส่งออก รายได้สุทธิ จะมีอัตราการขยายตัวในระดับที่น่าพึงพอใจก็ตาม แต่ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงส่งผลกระทบต่อ SMEs ในการประกอบการ จนอาจจะทำให้กำไรสุทธิในปี 2551 นี้ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน และส่งผลถึงอัตราผลตอบแทนที่อาจจะทำได้เพียงร้อยละ 3.69 เท่านั้น
ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มาตรการช่วยเหลือและส่งเสริม SMEs ในด้านการตลาด การผลิต (ผลิตภาพ) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงฟื้นฟูเครื่องจักร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการส่งเสริม SMEs ในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน และเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยไม่ให้ SMEs ที่กำลังประสบปัญหา หรือ SMEs ที่เพิ่งเริ่มกิจการ ต้องปิดกิจการลงอย่างไม่ควรจะเป็น โดยเฉพาะ SMEs ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ และกลุ่มเฝ้าระวัง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า การต่อเรือ สิ่งทอ ฯลฯ เขตเฝ้าระวัง ได้แก่ รีไซเคิล น้ำมันพืช และไขมันจากสัตว์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ
ทั้งนี้การช่วยเหลือ ระยะเร่งด่วน เน้นการแก้ไขเฉพาะหน้าเกี่ยวกับ ปัญหาต้นทุนของ SMEs ควบคู่การสร้างความเชื่อมั่นทั้งของนักลงทุนและของผู้บริโภค และ การช่วยเหลือระยะกลาง เน้นการเตรียมพร้อมเพื่อการแข่งขัน โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเพิ่มมูลค่า ผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจ การเพิ่มผลิตภาพทุน ผลิตภาพแรงงาน การขยายตลาดด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง SMEs และ LEs ประกอบกับการพัฒนาวิธีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการรองรับมาตรการต่างๆ จากปัญหาโลกร้อน
ในระยะยาว เน้นการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้กับ SMEs ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้าและการบริการเป็นรายสาขาแบบเฉพาะเจาะจงให้ครบวงจร ประกอบด้วย ต้นทุน การตลาด การเงิน R&D การพัฒนาแรงงาน เทคโนลยีสารสนเทศ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การค้าระหว่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรม ปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ควบคู่การกำกับ แนวทางอย่างใกล้ชิด
สำหรับในเรื่องของการส่งออก ผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะทำให้การส่งออกที่เคยคาดการณ์ในไตรมาสที่ 2/2551 ว่า SMEs จะมีการขยายตัวได้ถึงร้อยละ +10.69 yoy จากปีก่อน อาจจะเหลือเพียงร้อยละ +7.96 yoy โดยมีมูลค่าจาก 1.75 ล้านล้านบาท เป็น 1.71 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2551
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายงานวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW) ประจำเดือนกันยายน 2551 โดยการสำรวจความคิดเห็นจาก SMEs จำนวน 4,200 กิจการทั่วประเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่า สถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งต่างๆ จะบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดย SMEs มีความกังวลว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ยังไม่สามารถขับเคลื่อนงานในบางเรื่องได้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการช่วยเหลือ SMEs
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า และการบริการ อาจจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (ปัญหาต่อเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ) สถานการณ์ทางการเมือง ความเชื่อมั่นในการลงทุน ราคาน้ำมันที่อาจจะกลับมาผันผวนในช่วงสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น การขาดดุลการค้า การว่างงาน ภัยธรรมชาติจากไต้ฝุ่นและน้ำท่วม ตลอดจนการแข่งขันทางการค้าและภาวะโลกร้อน ตามลำดับ
ทั้งนี้ การประเมินสถานการณ์ SMEs พบว่าแม้ว่าการจ้างงาน จำนวนกิจการเปิดใหม่ การส่งออก รายได้สุทธิ จะมีอัตราการขยายตัวในระดับที่น่าพึงพอใจก็ตาม แต่ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงส่งผลกระทบต่อ SMEs ในการประกอบการ จนอาจจะทำให้กำไรสุทธิในปี 2551 นี้ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน และส่งผลถึงอัตราผลตอบแทนที่อาจจะทำได้เพียงร้อยละ 3.69 เท่านั้น
ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มาตรการช่วยเหลือและส่งเสริม SMEs ในด้านการตลาด การผลิต (ผลิตภาพ) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงฟื้นฟูเครื่องจักร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการส่งเสริม SMEs ในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน และเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยไม่ให้ SMEs ที่กำลังประสบปัญหา หรือ SMEs ที่เพิ่งเริ่มกิจการ ต้องปิดกิจการลงอย่างไม่ควรจะเป็น โดยเฉพาะ SMEs ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ และกลุ่มเฝ้าระวัง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า การต่อเรือ สิ่งทอ ฯลฯ เขตเฝ้าระวัง ได้แก่ รีไซเคิล น้ำมันพืช และไขมันจากสัตว์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ
ทั้งนี้การช่วยเหลือ ระยะเร่งด่วน เน้นการแก้ไขเฉพาะหน้าเกี่ยวกับ ปัญหาต้นทุนของ SMEs ควบคู่การสร้างความเชื่อมั่นทั้งของนักลงทุนและของผู้บริโภค และ การช่วยเหลือระยะกลาง เน้นการเตรียมพร้อมเพื่อการแข่งขัน โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเพิ่มมูลค่า ผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจ การเพิ่มผลิตภาพทุน ผลิตภาพแรงงาน การขยายตลาดด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง SMEs และ LEs ประกอบกับการพัฒนาวิธีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการรองรับมาตรการต่างๆ จากปัญหาโลกร้อน
ในระยะยาว เน้นการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้กับ SMEs ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้าและการบริการเป็นรายสาขาแบบเฉพาะเจาะจงให้ครบวงจร ประกอบด้วย ต้นทุน การตลาด การเงิน R&D การพัฒนาแรงงาน เทคโนลยีสารสนเทศ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การค้าระหว่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรม ปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ควบคู่การกำกับ แนวทางอย่างใกล้ชิด
สำหรับในเรื่องของการส่งออก ผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะทำให้การส่งออกที่เคยคาดการณ์ในไตรมาสที่ 2/2551 ว่า SMEs จะมีการขยายตัวได้ถึงร้อยละ +10.69 yoy จากปีก่อน อาจจะเหลือเพียงร้อยละ +7.96 yoy โดยมีมูลค่าจาก 1.75 ล้านล้านบาท เป็น 1.71 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2551