"เอสเอ็มอี แบงก์” เผยผลสำรวจผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในพื้นที่ 15 จังหวัดภาคเหนือ ชี้ผู้ประกอบการสูงถึง 94.5% ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ระบุสาเหตุหลักมาจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่รายได้ลดลง แนะขณะนี้ต้องการความช่วยเหลือด้านการตลาดมากที่สุด และต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในธุรกิจ
นายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดทำโครงการ “สำรวจสถานการณ์ SMEs ไทย ครั้งที่ 3” ของผู้ประกอบการพื้นที่ภาคเหนือ 15 จังหวัด (หลังจากที่ได้สำรวจ SMEs ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว) โดยมี SMEs กลุ่มตัวอย่าง 507 ราย พบว่าในจำนวนนี้มีกิจการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก 2551 สูงถึง 479 รายหรือคิดเป็น 94.5%โดยผู้ประกอบการภาคการผลิตได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากที่สุดคิดเป็น57.1%
ทั้งนี้ สาเหตุหลักของผลกระทบที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการมาจากปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นคิดเป็น 87.8% โดยทั้งเรื่องวัตถุดิบที่แพงขึ้น ค่าขนส่ง ค่าแรง และต้นทุนด้านอื่น ๆ สูงขึ้น ในขณะที่ด้านรายได้จะเห็นว่าได้รับผลกระทบรายได้ลดลงสูงถึง 60.2% โดยสาเหตุหลักมาจากจำนวนลูกค้าลดลงมากที่สุดถึง 45.2% นอกนั้นเป็นเรื่องของสินค้าขายยากขึ้นและมีคู่แข่งขันตัดราคาคิดเป็น 22.7% และ 10.1% ตามลำดับ
รักษาการกรรมการผู้จัดการ กล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องการความช่วยเหลือในขณะนี้ คือ ต้องการความช่วยเหลือด้านการตลาดมากที่สุดคิดเป็น 31.2% ของผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามทั้งหมด รองลงมาคือ ด้านการเงินและด้านปัจจัยการผลิตคิดเป็น 17.9% และ 10.7% ตามลำดับโดยผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนดำเนินกิจการเป็นอันดับแรก ซึ่งหลังจากนี้ธนาคารจะเร่งสำรวจ SMEs ในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งจะทำให้ธนาคารจะได้ข้อมูลครบทุกภาคทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์และวางแผนปฏิบัติงานของธนาคารในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างตรงจุดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เอสเอ็มอีแบงก์อยู่ระหว่างกำหนดมาตรการและแนวทางเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าเอสเอ็มอีแบงก์จะต้องดูแลให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
นายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดทำโครงการ “สำรวจสถานการณ์ SMEs ไทย ครั้งที่ 3” ของผู้ประกอบการพื้นที่ภาคเหนือ 15 จังหวัด (หลังจากที่ได้สำรวจ SMEs ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว) โดยมี SMEs กลุ่มตัวอย่าง 507 ราย พบว่าในจำนวนนี้มีกิจการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก 2551 สูงถึง 479 รายหรือคิดเป็น 94.5%โดยผู้ประกอบการภาคการผลิตได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากที่สุดคิดเป็น57.1%
ทั้งนี้ สาเหตุหลักของผลกระทบที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการมาจากปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นคิดเป็น 87.8% โดยทั้งเรื่องวัตถุดิบที่แพงขึ้น ค่าขนส่ง ค่าแรง และต้นทุนด้านอื่น ๆ สูงขึ้น ในขณะที่ด้านรายได้จะเห็นว่าได้รับผลกระทบรายได้ลดลงสูงถึง 60.2% โดยสาเหตุหลักมาจากจำนวนลูกค้าลดลงมากที่สุดถึง 45.2% นอกนั้นเป็นเรื่องของสินค้าขายยากขึ้นและมีคู่แข่งขันตัดราคาคิดเป็น 22.7% และ 10.1% ตามลำดับ
รักษาการกรรมการผู้จัดการ กล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องการความช่วยเหลือในขณะนี้ คือ ต้องการความช่วยเหลือด้านการตลาดมากที่สุดคิดเป็น 31.2% ของผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามทั้งหมด รองลงมาคือ ด้านการเงินและด้านปัจจัยการผลิตคิดเป็น 17.9% และ 10.7% ตามลำดับโดยผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนดำเนินกิจการเป็นอันดับแรก ซึ่งหลังจากนี้ธนาคารจะเร่งสำรวจ SMEs ในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งจะทำให้ธนาคารจะได้ข้อมูลครบทุกภาคทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์และวางแผนปฏิบัติงานของธนาคารในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างตรงจุดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เอสเอ็มอีแบงก์อยู่ระหว่างกำหนดมาตรการและแนวทางเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าเอสเอ็มอีแบงก์จะต้องดูแลให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ