โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ มอบ 4 รางวัลต้นแบบโรงงานแม่พิมพ์ ลุยผลักดันสู่โชว์เคสมาตรฐานโรงงานไทยในระดับสากล หวังกระตุ้นผู้ประกอบการไทยพัฒนาโรงงาน-สร้างศักยภาพการแข่งขัน เน้นคุณภาพการพัฒนาใน “4 ยุทธศาสตร์” ขับเคลื่อนประเทศสู่ผู้นำอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในภูมิภาค
รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ในฐานะผู้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Mould and Die Best Practice Factory) ถือเป็นกิจกรรมบูรณาการเชิงรุก โดยรวมการดำเนินงานพัฒนา และให้คำปรึกษาจาก 4 ยุทธศาสตร์หลักของโครงการฯ ตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการเชื่อมโยง และการพัฒนาสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยให้มีระบบการบัญชี การเงินการตลาด การบริหารการผลิต การจัดการองค์กร และการพัฒนาบุคลากร ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างในการพัฒนามาตรฐานให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อื่นๆ ต่อไป
ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมการดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ได้ร่วมกับเครือข่ายภายใต้แนวคิด “BE PART OF YOU…BE PART OF THE FUTURE ขับเคลื่อนเครือข่ายสู่กลไกหลักการพัฒนา” ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับระยะเวลาในการทำงาน และวิกฤติอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่สะสมมาเป็นเวลายาวนาน ที่น่าสนใจ คือ ตัวเลขการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศลดลง ในขณะที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยโครงการฯ ได้พยายามวางรากฐานการพัฒนาให้มั่นคง และยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร สร้างกลไกการพัฒนาบุคลากรในสถาบันศึกษา
“รวมทั้งพัฒนาโรงงานแม่พิมพ์ การจัดตั้งศูนย์ Excellence Center 7 แห่งเพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมการรวมกลุ่ม Cluster ที่เกิดขึ้นแล้ว 4 กลุ่ม ตลอดจนการให้บริการสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ผ่านเว็บไซต์ www.thaimould.com โดยในวันที่ 19 มีนาคม 2551 เวลา 09.30 น. จะแถลงผการดำเนินงานในโครงการฯ ที่ ห้องชารอนเอ โรงแรมสวิสโซเทล ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ และพิธีมอบรางวัล Mould & Die Best 2007”รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร กล่าว
รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ในฐานะผู้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Mould and Die Best Practice Factory) ถือเป็นกิจกรรมบูรณาการเชิงรุก โดยรวมการดำเนินงานพัฒนา และให้คำปรึกษาจาก 4 ยุทธศาสตร์หลักของโครงการฯ ตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการเชื่อมโยง และการพัฒนาสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยให้มีระบบการบัญชี การเงินการตลาด การบริหารการผลิต การจัดการองค์กร และการพัฒนาบุคลากร ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างในการพัฒนามาตรฐานให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อื่นๆ ต่อไป
ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมการดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ได้ร่วมกับเครือข่ายภายใต้แนวคิด “BE PART OF YOU…BE PART OF THE FUTURE ขับเคลื่อนเครือข่ายสู่กลไกหลักการพัฒนา” ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับระยะเวลาในการทำงาน และวิกฤติอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่สะสมมาเป็นเวลายาวนาน ที่น่าสนใจ คือ ตัวเลขการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศลดลง ในขณะที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยโครงการฯ ได้พยายามวางรากฐานการพัฒนาให้มั่นคง และยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร สร้างกลไกการพัฒนาบุคลากรในสถาบันศึกษา
“รวมทั้งพัฒนาโรงงานแม่พิมพ์ การจัดตั้งศูนย์ Excellence Center 7 แห่งเพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมการรวมกลุ่ม Cluster ที่เกิดขึ้นแล้ว 4 กลุ่ม ตลอดจนการให้บริการสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ผ่านเว็บไซต์ www.thaimould.com โดยในวันที่ 19 มีนาคม 2551 เวลา 09.30 น. จะแถลงผการดำเนินงานในโครงการฯ ที่ ห้องชารอนเอ โรงแรมสวิสโซเทล ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ และพิธีมอบรางวัล Mould & Die Best 2007”รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร กล่าว