โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ คัดเลือกโรงงานต้นแบบเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้รายอื่นๆ พัฒนามาตรฐานเพื่อก้าวสู่สากล แจง 4 ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ในฐานะผู้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เปิดเผยว่า โครงการฯ ได้คัดเลือกต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ผ่านการประเมินผลอย่างเป็นระบบ 4 โรงงาน ได้แก่ โรงงานผลิตแม่พิมพ์ของบริษัท อาปิโกไฮเทค จำกัด (มหาชน), บริษัท อาภากรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท สยามโมลด์แอนด์พาร์ท จำกัด และ บริษัทนำยงอุตสาหกรรมเคมี จำกัด
ทั้งนี้ ทุกโรงงานที่ได้รับรางวัลจะต้องมีการพัฒนาจนได้ระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ในทุกด้าน ตั้งแต่การบัญชีและการเงิน การตลาด การบริหารการผลิต การจัดการองค์กร และการพัฒนาบุคลากร โดยเมื่อวิเคราะห์แล้วจะส่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไข และปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงเป็นโครงการที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างการยอมรับ ดังนั้น รางวัลต้นแบบฯ จึงไม่ใช่รางวัลที่บ่งบอกถึงชัยชนะเหนือคู่แข่งขันแต่เป็นรางวัลที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการตื่นตัวเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของ “แม่พิมพ์ไทย” ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Mould and Die Best Practice Factory) เป็นกิจกรรมบูรณาการเชิงรุก โดยรวมการดำเนินงานพัฒนาและให้คำปรึกษา ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการเชื่อมโยง และการพัฒนาสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ขับเคลื่อนเครือข่าย สู่กลไกหลักการพัฒนา
สำหรับเป้าหมายจากนี้จะกระตุ้นผู้ประกอบการในการผลิตแม่พิมพ์ให้มีคุณภาพ เสร็จตามเวลา เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงและสามารถส่งมอบได้เร็วขึ้น ในราคาที่เหมาะสม โดยจะต้องเริ่มที่การพัฒนาคนในเชิงคุณภาพ กระตุ้นให้เจ้าของผู้ประกอบการ พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ และส่งเสริมให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการผลิตมากขึ้น พร้อมกับสร้างบรรยากาศในการทำงานระหว่างนักวิชาการกับสถานประกอบการให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ในฐานะผู้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เปิดเผยว่า โครงการฯ ได้คัดเลือกต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ผ่านการประเมินผลอย่างเป็นระบบ 4 โรงงาน ได้แก่ โรงงานผลิตแม่พิมพ์ของบริษัท อาปิโกไฮเทค จำกัด (มหาชน), บริษัท อาภากรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท สยามโมลด์แอนด์พาร์ท จำกัด และ บริษัทนำยงอุตสาหกรรมเคมี จำกัด
ทั้งนี้ ทุกโรงงานที่ได้รับรางวัลจะต้องมีการพัฒนาจนได้ระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ในทุกด้าน ตั้งแต่การบัญชีและการเงิน การตลาด การบริหารการผลิต การจัดการองค์กร และการพัฒนาบุคลากร โดยเมื่อวิเคราะห์แล้วจะส่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไข และปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงเป็นโครงการที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างการยอมรับ ดังนั้น รางวัลต้นแบบฯ จึงไม่ใช่รางวัลที่บ่งบอกถึงชัยชนะเหนือคู่แข่งขันแต่เป็นรางวัลที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการตื่นตัวเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของ “แม่พิมพ์ไทย” ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Mould and Die Best Practice Factory) เป็นกิจกรรมบูรณาการเชิงรุก โดยรวมการดำเนินงานพัฒนาและให้คำปรึกษา ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการเชื่อมโยง และการพัฒนาสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ขับเคลื่อนเครือข่าย สู่กลไกหลักการพัฒนา
สำหรับเป้าหมายจากนี้จะกระตุ้นผู้ประกอบการในการผลิตแม่พิมพ์ให้มีคุณภาพ เสร็จตามเวลา เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงและสามารถส่งมอบได้เร็วขึ้น ในราคาที่เหมาะสม โดยจะต้องเริ่มที่การพัฒนาคนในเชิงคุณภาพ กระตุ้นให้เจ้าของผู้ประกอบการ พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ และส่งเสริมให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการผลิตมากขึ้น พร้อมกับสร้างบรรยากาศในการทำงานระหว่างนักวิชาการกับสถานประกอบการให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น