สสว.เผยการเป็นเอสเอ็มอีมืออาชีพ พร้อมแข่งขัน ต้องใช้ความรู้ทุกด้านบริหารธุรกิจ ควบคู่การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าช่วย เล็งต่อยอดตลาดส่งออก เผยที่ผ่านมาเอสเอ็มอีไทย ยังด้อยเรื่องเทคโนโลยีการตลาด และระบบบัญชีที่ได้มาตรฐาน รวมถถึงระบบธรรมาภิบาล ที่ถือเป็นรากฐานสำคัญในการต่อยอดการส่งออกของไทย
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ในการสร้างผู้ปะกอบการเอสเอ็มอีมืออาชีพ ในงาน Smart Business Day ครั้งที่ 7 ว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย หวังต่อยอดไปสู่การส่งออก โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ได้มีอัตราการส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่ยังประสบปัญหาในเรื่องของปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เช่น ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเสียเปรียบด้านการแข่งขันกับเอสเอ็มอีไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว การที่เอสเอ็มอีไทย จะเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพได้นั้น จะต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นอุปสรรคในการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ไปสู่การแข่งขันที่ยั่งยืน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการจะแข่งขันในเรื่องของราคา แต่ในปัจจุบันนี้ ต้องยึดหลัก การส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคที่ใช้เวลาน้อยกว่า ส่วนภาคการผลิตจะต้องมีการนำเทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายเข้ามาช่วย ดังนั้นการคิดริเริ่มสร้างสรรของเอสเอ็มอีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแข่งขันที่เหมาะสมกับยุคนี้
“การพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยให้เป็นมืออาชีพได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำทุกอย่าง โดยอาศัยความรู้เป็นหลัก และการบริหารจัดการที่ใช้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันผู้ประกอบการจะต้องใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างเต็มความสามารถ พยายามมองปัญหาในเชิงบวก และหาทางแก้ไข มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ รวมถึงสินค้าและบริการต้องมีความแตกต่าง เพื่อปูทางความพร้อมด้านการแข่งขันในอนาคต” ผอ.สสว. กล่าว
นางจิตราภรณ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ยังมีจุดอ่อนอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะระดับการใช้เทคโนโลยีที่ยังอยู่ในอัตราต่ำ และล้าหลังอยู่ประมาณ 47% รวมถึงยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมาได้เอง เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตเท่านั้น และยังขาดความรู้ด้านการตลาดและระบบบัญชีที่ได้มาตรฐาน ในขณะที่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี ตามระบบธรรมาภิบาลที่ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เพื่อเป็นรากฐานที่ดีต่อภาคการส่งออกในอนาคต
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ในการสร้างผู้ปะกอบการเอสเอ็มอีมืออาชีพ ในงาน Smart Business Day ครั้งที่ 7 ว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย หวังต่อยอดไปสู่การส่งออก โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ได้มีอัตราการส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่ยังประสบปัญหาในเรื่องของปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เช่น ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเสียเปรียบด้านการแข่งขันกับเอสเอ็มอีไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว การที่เอสเอ็มอีไทย จะเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพได้นั้น จะต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นอุปสรรคในการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ไปสู่การแข่งขันที่ยั่งยืน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการจะแข่งขันในเรื่องของราคา แต่ในปัจจุบันนี้ ต้องยึดหลัก การส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคที่ใช้เวลาน้อยกว่า ส่วนภาคการผลิตจะต้องมีการนำเทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายเข้ามาช่วย ดังนั้นการคิดริเริ่มสร้างสรรของเอสเอ็มอีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแข่งขันที่เหมาะสมกับยุคนี้
“การพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยให้เป็นมืออาชีพได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำทุกอย่าง โดยอาศัยความรู้เป็นหลัก และการบริหารจัดการที่ใช้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันผู้ประกอบการจะต้องใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างเต็มความสามารถ พยายามมองปัญหาในเชิงบวก และหาทางแก้ไข มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ รวมถึงสินค้าและบริการต้องมีความแตกต่าง เพื่อปูทางความพร้อมด้านการแข่งขันในอนาคต” ผอ.สสว. กล่าว
นางจิตราภรณ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ยังมีจุดอ่อนอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะระดับการใช้เทคโนโลยีที่ยังอยู่ในอัตราต่ำ และล้าหลังอยู่ประมาณ 47% รวมถึงยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมาได้เอง เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตเท่านั้น และยังขาดความรู้ด้านการตลาดและระบบบัญชีที่ได้มาตรฐาน ในขณะที่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี ตามระบบธรรมาภิบาลที่ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เพื่อเป็นรากฐานที่ดีต่อภาคการส่งออกในอนาคต