อดีตเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น แนะตลาดนักลงทุนญี่ปุ่นไม่ได้เปิดเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ โอกาสยังเปิดช่องให้เอสเอ็มอีไทยเข้าไปลงทุน แต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมศึกษาแบบเจาะลึก ตั้งแต่สังคม วิถีชีวิต จิตใจ อาหารการกิน และการปรับตัว ชี้ เมื่อใดนักธุรกิจญี่ปุ่นชวนเข้าร้านเหล้า แสดงว่าประสบความสำเร็จ
นายครรชิต ศิริภักดี อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยถึงแนวทางการลงทุนของเอสเอ็มอีไทยในประเทศญี่ปุ่น ว่า ที่ผ่านมานักลงทุนไทยมักจะมองว่า การลงทุนในประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากๆ อย่างประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องยาก โอกาสของผู้ที่จะเข้าไปลงทุนได้จะต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไป การเปิดเสรีการค้า หรือ การร่วมทุนตามโครงการJTEPA เปิดช่องให้โอกาสของเอสเอ็มอีไทยไปลงทุนในญี่ปุ่นได้ไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งเอสเอ็มอีจะต้องมีความระมัดระวัง และต้องพร้อมในการเตรียมตัว เพราะมีเรื่องแปลกให้ต้องศึกษาอีกเยอะมาก และ 3 สิ่งที่เอสเอ็มอีจะต้องศึกษาก่อนคิดจะเข้าไปเปิดตลาดในญี่ปุ่น ได้แก่ สังคม วิถีชีวิต จิตใจ อาหาร การกินอยู่แบบญี่ปุ่น และการปรับตัว คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับการติดต่อสื่อสารที่มีความเข้าใจกัน มากกว่าที่จะมาดูว่าบริษัทนั้นมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ มีคนงานเท่าไหร่
ดังนั้น การเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นต้องเข้าใจภาษาและวัฒนธรรม และวิธีในการนำเข้าสินค้าจะมีขั้นตอนมาก สิ่งสำคัญที่นึกถึงความรับผิดชอบ เมื่อเกิดอะไรขึ้นต้องหาผู้รับผิดชอบได้ ทำให้ที่ผ่านมาเอสเอ็มอีที่เข้าไปลงทุนญี่ปุ่น มักจะผ่านเทรดเดอร์เสียเป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุผลที่ในญี่ปุ่นเกิดเทรดเดอร์เป็น 100 บริษัท
สำหรับนักลงทุนสนใจทำธุรกิจกับญี่ปุ่น การสร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกันเป็นสำคัญ เพราะเมื่อชวนไปกิน Takasakil ร้านเหล้าของคนญี่ปุ่น เมื่อนั้นเรียกว่าประสบความสำเร็จ แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นต้องผ่านการทดสอบสร้างความเชื่อมั่นให้กับเขาได้ในระดับหนึ่ง
การปรับตัวเพื่อบุกตลาด ญี่ปุ่น ผู้บริโภคญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับสัมผัสทั้งห้า โดยเฉพาะความโดดเด่นสินค้าเรื่องความสวยงาม น่าสนใจ การออกแบบเพคเกจจิง จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการเข้าไปเปิดตลาดในญี่ปุ่น แม้เต่เรื่องของอาหาร รสชาติอาหารของคนญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่ากับเรื่องความสวยงาม และ เรื่องความ และความสะอาด ทุกอย่างต้องสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต ความปลอดภัย และคุณภาพ มาตรฐาน เป็นเครื่องการันตีได้ถึงความสะอาดและปลอดภัย ในขณะที่โรงงานไม่จำเป็นต้องใหญ่
นายครรชิต ศิริภักดี อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยถึงแนวทางการลงทุนของเอสเอ็มอีไทยในประเทศญี่ปุ่น ว่า ที่ผ่านมานักลงทุนไทยมักจะมองว่า การลงทุนในประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากๆ อย่างประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องยาก โอกาสของผู้ที่จะเข้าไปลงทุนได้จะต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไป การเปิดเสรีการค้า หรือ การร่วมทุนตามโครงการJTEPA เปิดช่องให้โอกาสของเอสเอ็มอีไทยไปลงทุนในญี่ปุ่นได้ไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งเอสเอ็มอีจะต้องมีความระมัดระวัง และต้องพร้อมในการเตรียมตัว เพราะมีเรื่องแปลกให้ต้องศึกษาอีกเยอะมาก และ 3 สิ่งที่เอสเอ็มอีจะต้องศึกษาก่อนคิดจะเข้าไปเปิดตลาดในญี่ปุ่น ได้แก่ สังคม วิถีชีวิต จิตใจ อาหาร การกินอยู่แบบญี่ปุ่น และการปรับตัว คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับการติดต่อสื่อสารที่มีความเข้าใจกัน มากกว่าที่จะมาดูว่าบริษัทนั้นมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ มีคนงานเท่าไหร่
ดังนั้น การเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นต้องเข้าใจภาษาและวัฒนธรรม และวิธีในการนำเข้าสินค้าจะมีขั้นตอนมาก สิ่งสำคัญที่นึกถึงความรับผิดชอบ เมื่อเกิดอะไรขึ้นต้องหาผู้รับผิดชอบได้ ทำให้ที่ผ่านมาเอสเอ็มอีที่เข้าไปลงทุนญี่ปุ่น มักจะผ่านเทรดเดอร์เสียเป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุผลที่ในญี่ปุ่นเกิดเทรดเดอร์เป็น 100 บริษัท
สำหรับนักลงทุนสนใจทำธุรกิจกับญี่ปุ่น การสร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกันเป็นสำคัญ เพราะเมื่อชวนไปกิน Takasakil ร้านเหล้าของคนญี่ปุ่น เมื่อนั้นเรียกว่าประสบความสำเร็จ แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นต้องผ่านการทดสอบสร้างความเชื่อมั่นให้กับเขาได้ในระดับหนึ่ง
การปรับตัวเพื่อบุกตลาด ญี่ปุ่น ผู้บริโภคญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับสัมผัสทั้งห้า โดยเฉพาะความโดดเด่นสินค้าเรื่องความสวยงาม น่าสนใจ การออกแบบเพคเกจจิง จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการเข้าไปเปิดตลาดในญี่ปุ่น แม้เต่เรื่องของอาหาร รสชาติอาหารของคนญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่ากับเรื่องความสวยงาม และ เรื่องความ และความสะอาด ทุกอย่างต้องสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต ความปลอดภัย และคุณภาพ มาตรฐาน เป็นเครื่องการันตีได้ถึงความสะอาดและปลอดภัย ในขณะที่โรงงานไม่จำเป็นต้องใหญ่