xs
xsm
sm
md
lg

รู้หรือไม่? “ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ” ที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน เป็นผลงานของ นิโคลา เทสลา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



10 กรกฎาคม : เป็นวันคล้ายวันเกิดของผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสุดยิ่งใหญ่แห่งยุค นิโคลา เทสลา - Nikola Tesla (10 ก.ค. 1856 – 7 ม.ค.1943) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์เลื่องชื่อ ผู้พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมาย เช่น ขดลวดเทสลา มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ รีโมตคอนโทรล เครื่องเรดาร์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และอีกมากมาย

และ "ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ" - Alternating Current (AC) ที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ก็ยังเป็นผลงานการคิดค้นของ นิโคลา เทสลา ด้วยเหมือนกัน 


เกร็ดน่ารู้ : โคลา เทสลาผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสุดยิ่งใหญ่แห่งยุค

-  เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1856 ที่ชายแดนออสเตรีย

- นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และมีจินตนาการก้าวไกลเกินกว่าผู้คนยุคเดียวกันมาก

- อายุ 28 ปี เทสลาย้ายไปทำงานกับบริษัทของโทมัส เอดิสัน ที่อเมริกา แต่ทำงานได้เพียง 6 เดือนก็ลาออก

-  อายุ 31 ปี เทสลาได้จัดตั้ง Tesla Electric Company และสร้างห้องแล็บในนิวยอร์ก ได้พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมมากมาย เช่น ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current System) มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motors) ขดลวดเทสลา (Tesla Coil)

- อายุ 39 ปี เทสลาพัฒนาอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุที่มีวงจรซับซ้อนและสัญญาณแข็งแรงส่งไปได้ไกล

- อายุ 40 ปี เทสลาสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่น้ำตกไนแอการา

- อายุ 42 ปี เทสลาประดิษฐ์รีโมตคอนโทรล (Remote Control) โดยใช้สัญญาณวิทยุ สร้างเรือบังคับวิทยุ เรียกว่า Teleautomaton ซึ่งเป็นต้นแบบของรีโมตคอนโทรลโดยใช้สัญญาณวิทยุ พัฒนาหลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดนีออนให้พับโค้งงอได้ทำเป็นป้ายไฟตัวอักษรและสัญลักษณ์

- อายุ 43 ปี เทสลาสร้างสถานีทดลองที่เมือง Colorado Springs ด้วยขดลวดขนาดใหญ่สร้างความดันไฟฟ้าหลายล้านโวลต์

- อายุ 45 ปี เทสลาทำโครงการสร้างหอคอยสูง 57 เมตร เรียกว่า Wardenclyffe Tower เพื่อทดลองส่งพลังงานไฟฟ้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

- เทสลาเสียชีวิตเมื่ออายุ 86 ปี

- ในปี 1960 (หลังเสียชีวิต 17 ปี) ชื่อของ Tesla ได้รับเกียรติให้เป็นชื่อหน่วยความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (สนามแม่เหล็ก B)


ข้อมูลอ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.


อ่าน : ปฏิทินวันสำคัญทางวิทยาศาสตร์ เดือนกรกฎาคม


กำลังโหลดความคิดเห็น