xs
xsm
sm
md
lg

เตรียมต้อนรับ! ดวงจันทร์บริวารดวงที่ 2 ของโลก แบบชั่วคราว “ดาวเคราะห์น้อย 2024 PT5”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นักวิทยาศาสตร์จาก Universidad Complutense de Madrid ได้เผยข้อมูลว่า ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2024 นี้ โลกของเราจะมีดวงจันทร์บริวารเพิ่มขึ้นหนึ่งดวง โดยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อว่า “2024 PT5” ซึ่งจะกลายเป็นดวงจันทร์บริวารของโลกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2 เดือน

“ดาวเคราะห์น้อย 2024 PT5” ได้รับการติดตามจากนักวิทยาศาสตร์ด้วยระบบ Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System ซึ่งเป็นระบบติดตามดาวเคราะห์น้อยที่ได้รับทุนจาก NASA โดยใช้อุปกรณ์ที่เมืองซัทเทอร์แลนด์ ประเทศแอฟริกาใต้


Carlos Marcos ศาสตราจารย์จาก Universidad Complutense de Madrid และหัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า ……

 “วัตถุที่จะมาเยือนโลกในครั้งนี้ คือดาวเคราะห์น้อยจากแถบดาวเคราะห์น้อยอาจูน่า (Arjuna) ซึ่งเป็นแถบดาวเคราะห์น้อยที่ประกอบด้วยหิน และมีวงโคจรคล้ายกับโลก โดยวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวัตถุที่อยู่ใกล้โลก เช่น ดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง”

สำหรับ ดาวเคราะห์น้อย 2024 PT5 มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,474 กิโลเมตร และมีเส้นทางการโคจรใกล้โลกมากพอจนโดนแรงโน้มถ่วงโลกจับไว้ ในช่วง 29 กันยายน - 25 พฤศจิกายน 2024 ในช่วงระยะเวลานี้ จะทำให้ 2024 PT5 กลายเป็นดวงจันทร์บริวารของโลกชั่วคราว ในระยะเวลาประมาณ 56 วัน โดยมีลักษณะวิถีโคจรคล้ายเกือกม้า ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะหลุดพ้นจากอิทธิผลแรงดึงดูดของโลก และกลับไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามเส้นทางเดิมอีกครั้ง


“ดวงจันทร์บริวาร” ตามนิยามดาราศาสตร์สากลคือ “วัตถุดาราศาสตร์ที่เป็นของแข็งที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย”

การที่มีดวงจันทร์บริวารชั่วคราวของโลกในครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการบันทึกไว้ โลกเคยดึงดูดดาวเคราะห์น้อยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ดวง เช่น ดาวเคราะห์น้อย 2006 RH120 ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 เมตร โคจรรอบโลกห่างถึง 1.74 ล้านกม. ระหว่างเดือน ก.ค. 2006 – ก.ค. 2007

แม้หลายคนจะเฝ้ารอชมดวงจันทร์บริวารดวงใหม่ แต่ด้วยขนาดที่เล็ก ดาวเคราะห์น้อยจึงมีค่าความสว่างเพียงระดับ 27.6 เท่านั้น การจะดูต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 เมตร เปิดรับแสงทั้งคืน ทำให้ผู้ที่อยากชมไม่สามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยอุปกรณ์ของตนเอง


ข้อมูล – รูปอ้างอิง 

- space.com (Earth will get another moon this month  — but not for long)

- cbsnews.com (U.S. Earth will get a second "mini-moon" for 2 months this year)


กำลังโหลดความคิดเห็น