xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) "เทคโนโลยีไมซีเลี่ยม” เส้นใยเห็ดราผสานวัสดุเหลือทิ้งให้กลายเป็นวัสดุมีมูลค่า ตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้ผลจริง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"เทคโนโลยีไมซีเลี่ยม” หรือ เทคโนโลยีเส้นใยเห็ดรา หนึ่งในงานวิจัยของ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ที่สามารถตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้ง ให้กลายเป็นวัสดุที่มีมูลค่าใช้งานได้จริง

ดร.นัฐวุฒิ บุญยืน นักวิจัยไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า ไมซีเลี่ยมคือกลุ่มของเส้นใยของเห็ดรา สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ นำมาผสานกับวัสดุต่างให้กลายเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่แตกต่างจากเดิมและมีความหลากหลาย มีต้นทุนในการต่ำ การย่อยสลายทางชีวภาพที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย




เทคโนโลยีไมซีเลี่ยมทางทีมนักวิจัยไบโอเทค สวทช. ได้ร่วมกับนักวิจัยจากหน่วยงานต่างนำงานวิจัยเทคโนโลยีไมซีเลี่ยมไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยได้ร่วมมือกับ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และ เครือข่ายเพื่อนสวนพฤกษ์ อ.แม่สอด จ.ตาก ภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เหมืองผาแดง) อ.แม่สอด จ.ตาก

ที่นำโดย ดร.นัฐวุฒิ บุญยืน และทีมวิจัย (นางสาวจารุวรรณ เชื้อสีหะรณชัย นางสาวสลิลาพร นวลแก้ว และ นางสาวปพิชญา ขวานทอง) จากไบโอเทค สวทช. ร่วมมือกับ ผศ.ดร.ปรียาพร เกิดฤทธิ์ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.ดร.หนึ่งนิตย์ วัฒนวิเชียร จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ไมซีเลี่ยมรูปหัวใจสำหรับฟื้นฟูป่าธรรมชาติ” และ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ไมโค-บล็อกมวลเบาจากกากกาแฟ” เพื่อสังคมคาร์บอนต่ำและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ของ อ.แม่สอด จ.ตาก


การปลูกป่าด้วยหัวใจไมซีเลี่ยม ได้ถูกนำไปสาธิตและนำไปประยุกต์ ภายใต้งาน “KIT CAMP 2024” และ “ไมโค-บล็อกมวลเบาจากเห็ดผสมกากกาแฟ” ได้ถูกนำไปสาธิตและลงมือจริง ภายใต้งาน “ก็มาดิ... CRAFT” โดยการอบรมเชิงปฏิบัติทั้งสองถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการ “การอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในพื้นที่เหมืองผาแดง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดตาก ตามโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG” ภายใต้ความร่วมมือกับ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดตาก

การปลูกต้นไม้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างหนึ่ง การสร้างป่าไม่เท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ซึ่งเป็นก๊าซนี้เป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน และการปลูกต้นไม้ยังมีการดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศอีกด้วย เนื่องจากต้นไม้ก็เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ดีโดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง อีกทั้งเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว ในการเพิ่มการดูดซับคาร์บอน รักษาระบบนิเวศ และปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าด้วย


“หัวใจไมซีเลี่ยมปลูกป่า” เปรียบเสมือนการใส่ใจ (หัวใจ) ลงไปด้วย ซึ่งหลังจากผ่านกิจกรรมปลูกป่าเสร็จ คาดว่าผู้ร่วมกิจกรรมจะกลับไปติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ชิ้นงาน “ไมซีเลี่ยมปลูกป่ารูปหัวใจ” จะถูกนำไปประยุกต์ในด้านการอนุรักษ์ป่า ภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เหมืองผาแดง) อ.แม่สอด จ.ตาก ต่อไปในอนาคต โดยต้นไม้ที่โตขึ้นจาก“หัวใจไมซีเลี่ยม” จะถูกนำไปสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เหมืองผาแดง ภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เหมืองผาแดง) อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเน้นการส่งเสริมพื้นที่เกษตรและป่าชุมชนเพื่อต่อยอดโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ชุมชนแนวใหม่ ก่อให้เกิดช่องรายได้เพิ่ม สร้างความตระหนักรู้ของคุณค่าพื้นที่บ้านเกิด และสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันกับระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างยั่งยืน (Nature-Based Solution) อีกทั้งคาดว่าจะช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดโลกร้อน และในอนาคตต้นไม้ที่สามารถนำมาสร้างคาร์บอนเครดิตได้ด้วยในการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับพื้นที่ ถือว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบด้านโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG model ของประเทศ


ในขณะที่ “ไมโค-บล็อกมวลเบาจากกากกาแฟ” โดยใช้กากกาแฟ (หนึ่งในของเหลือทิ้งในท้องทิ้งในจังหวัดตาก) ผ่านเทคโนโลยีทางชีวภาพ วัสดุศาสตร์ และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จะถูกนำไปใช้จริงในสถานการณ์จำลอง หรือในสภาวะเลียนแบบที่ใกล้เคียงสภาวะแวดล้อมจริงของกลุ่มพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ให้สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่ ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ BCG model และสามารถประยุกต์ต่อยอดและพัฒนาต่อไปในอนาคต

ในปัจจุบัน ไมโค-บล็อกมวลเบาจากกากกาแฟ ถือว่าเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาวัสดุและอาคารที่พัก (Homestay) ต้นแบบจากเศษวัสดุทางการเกษตรโดยนำไปผสมกับกลุ่มพืชไร่ข้าวโพด โดยชุมชนและโรงเรียนด้านสิ่งแวดล้อมของ จ.ตาก ในการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ชุมชนแนวใหม่ ที่เปิดโอกาสให้คนได้อยู่ร่วมกับพืชและสัตว์ ช่วยให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ ให้คนดูเเลธรรมชาติจากใจมากขึ้น โดยสอดแทรกทั้งกิจกรรมและนวัตกรรมวัสดุเพื่อเป็นบ้านที่ปลอดภัยของต้นไม้ เช่น กลุ่มกล้วยไม้ป่า กลุ่มไม้ยาง กลุ่มเห็ดป่าเป็นต้น รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ในพื้นที่ร่วมกับนวัตกรรมวัสดุเพื่อเป็นบ้านที่ปลอดภัยของแมลงและนก เช่น ผึ้ง ชันโรง และนกโพรงบางประเภท เป็นต้น จึงเป็นการพัฒนาแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับธรรมชาติรูปแบบใหม่ของประเทศไทย








กำลังโหลดความคิดเห็น