ในช่วงที่ผ่านมาเราได้รู้กันว่า ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนมีสีสันที่แตกต่างกัน เนื่องจากภาพถ่ายความละเอียดสูงที่ถูกส่งมาจาก ยาน Voyager 2 ยานอวกาศลำแรกและลำเดียวในปัจจุบันบัน ที่สามารถเดินทางไปถึงวงโคจรของดาวทั้งสองและบันทึกภาพดาวเคราะห์เพราะลำดับที่ 7 และ 8 ของระบบสุริยะจักรวาลได้
แต่ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้เผยข้อมูลใหม่ในเรื่องสีที่แท้จริงของดาวเนปจูน ซึ่งการศึกษาได้พบว่าดาวเคราะห์ดวงใหญ่อันดับที่ 4 ของระบบสุริยะ มีสีฟ้าอ่อนคล้ายดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์ดวงใหญ่อันดับที่ 3 ทำให้ภาพที่เห็นปัจจบุันจะแตกต่างจากภาพที่คุ้นตา
นักดาราศาสตร์ได้เผยเหตุผลในการศึกษานี้ เพราะภาพถ่ายดาวเนปจูนและดาวยูเรนัส มาจากอุปกรณ์ ISS ที่ติดตั้งในยาน Voyager 2 ยานลำนี้ ได้เดินทางถึงดาวเนปจูนในวันที่ เดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. ค.ศ. 1989 และได้ส่งภาพกลับมายังโลก โดยทางทีมประมวลผลได้รวมเป็นภาพสี ซึ่งรูปดาวเนปจูนทางทีมได้มีการเพิ่ม Contrast เพื่อให้เห็นรายละเอียดของแถบต่างๆ บนบรรยากาศของดาว รวมถึงลักษณะของเมฆในชั้นบรรยากาศ และการประมวลผลภาพดาวเนปจูน NASA ได้ระบุว่าการแต่งภาพดังกล่าวได้แลกมาด้วยความถูกต้องของสีดาวที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
จนกระทั่งในปัจจุบัน Patrick Irwin และ คณะนักดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้มีการศึกษาภาพถ่ายดาวเนปจูนและดาวยูเรนัสใหม่ ด้วยการนำข้อมูลสเปกตรัมของกล้องฮับเบิล และกล้อง VLT มาประมวลค่าหาสีที่แท้จริงของดาวทั้งสองดวง การศึกษาพบว่า “ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงมีโทนสีคล้ายกันกว่าที่คิด แต่สีของดาวเนปจูนมีมีชั้นหมอกที่เบาบางกว่าดาวยูเรนัส จึงมีสีโทนน้ำเงินมากกว่าเล็กน้อย
การศึกษาในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน Monthly Notices of the Royal Astronomical Society เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2024 ที่ผ่านมา และยังได้ระบุเพิ่มเติมว่า สีของดาวยูเรนัสจะเปลี่ยนเล็กน้อยในการโคจร โดยจะมีโทนสีเขียวในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว หรือตอนที่ขั้วหนึ่งของดาวยูเรนัสหันเข้าหาดวงอาทิตย์ และจะมีสีฟ้าเข้มขึ้นในช่วงวสันตวิษุวัต และศารทวิษุวัต ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับเส้นศูนย์สูตรของดาว ซึ่งนักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าอาจเกิดจากอนุภาคของมีเทนในบรรยากาศของดาวยูเรนัส
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : BBC / Monthly Notices of the Royal Astronomical Society
ภาพ : Patrick Irwin / University of Oxford / NASA