xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันวิจัยวิทย์ฯ หารือ SIRIM Berhad มาเลเซีย ผลักดันความร่วมมืองานบริการวิเคราะห์ทดสอบระบบราง และ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ ประกอบด้วย ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง และ น.ส. พิมประไพ ศุภรรัตน์ นักวิเทศสัมพันธ์อาวุโส กองวิเทศสัมพันธ์ วว. เข้าพบหารือกับหน่วยงาน SIRIM Berhad โดยได้รับเกียรติจาก DATO' INDERA Dr. AHMAD SABIRIN BIN ARSHAD FASc (PRESIDENT AND GROUP CHIEF EXECUTIVE OFFICER, SIRIM Berhad) และคณะให้การต้อนรับ ณ ประเทศมาเลเซีย เพื่อผลักดันความร่วมมืองานบริการวิเคราะห์ทดสอบ โดยมีสาขาเป้าหมายที่จะเป็น Quick Win ให้กับ 2 หน่วยงาน ได้แก่ งานบริการทดสอบทางรางและงานบริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถและโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยและมาเลเซีย


ทั้งนี้ SIRIM Berhad เป็นองค์กรระดับชาติด้านมาตรฐานและคุณภาพ ส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมมาเลเซีย มีความสนใจงานทดสอบทางรางของ วว. ซึ่งมีศักยภาพสูง สามารถรองรับงานทดสอบในปริมาณมากได้ โดยเฉพาะสามารถรองรับการขยายเส้นทางรถไฟ Eastern Coast Rail Link ของมาเลเซีย

ในขณะเดียวกัน วว. มีความสนใจงานบริการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือการผลิตตามมาตรฐานฮาลาลของมาเลเซีย ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทยที่มาใช้บริการ วว.


จากการหารือในครั้งนี้ มีรูปแบบความร่วมมือที่คาดหวังของทั้งสองหน่วยงาน เช่น การร่วมให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ลูกค้าของทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งความร่วมมือจะช่วยขยายขีดจำกัดการทดสอบให้กว้างขึ้น สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น โดยผ่านความสามารถและศักยภาพของทั้ง 2 หน่วยงาน ที่จะเติมเต็มซึ่งกันและกัน และเป็นการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการงานบริการทดสอบระหว่างเครือข่ายความร่วมมือในอาเซียนให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น


จากการหารือในครั้งนี้ มีรูปแบบความร่วมมือที่คาดหวังของทั้งสองหน่วยงาน เช่น การร่วมให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ลูกค้าของทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งความร่วมมือจะช่วยขยายขีดจำกัดการทดสอบให้กว้างขึ้น สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น โดยผ่านความสามารถและศักยภาพของทั้ง 2 หน่วยงาน ที่จะเติมเต็มซึ่งกันและกัน และเป็นการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการงานบริการทดสอบระหว่างเครือข่ายความร่วมมือในอาเซียนให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น






กำลังโหลดความคิดเห็น