xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) อุกกาบาตกำลังพุ่งชนดวงจันทร์ จากฝีมือนักดาราศาสตร์ญี่ปุ่น สร้างหลุมใหม่บนดาวบริวารของโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในช่วงที่ผ่านการพบเจอดาวเคราะห์น้อยใกล้วงโคจรโลกนั้น นับได้ว่ามีข่าวให้ได้เห็นในเกือบทุกๆ สัปดาห์ และนอกจากโคจรใกล้โลกแล้ว ดวงจันทร์อันเป็นดาวบริวารของโลก ก็มีความเสี่ยงเหมือนกันที่จะถูกชนเหมือนโลกของเรา โดยสามารถเห็นได้จากร่องรอยของหลุมมากมายเมื่อเรามองดวงจันทร์

อย่างเช่นในช่วงที่ผ่านมา เมื่อ Daichi Fujii นักดาราศาสตร์ญี่ปุ่น จากพิพิธภัณฑ์เมือง Hiratsuka ได้บันทึกวิดีโอในขณะที่อุกกาบาตกำลังพุ่งชนดวงจันทร์ได้ ผลจากการชนทำให้สร้างแสงสว่างสั้นๆ ขึ้นมาวาบหนึ่งบนผิวดวงจันทร์

ตามข้อมูลรายงานเบื้องต้น การพุ่งชนน่าจะมีความเร็วเคลื่อนที่ประมาณ 48,280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 13.4 กิโลเมตรต่อวินาที และอาจสร้างหลุมอุกกาบาตขึ้นมาใหม่ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เมตร ให้กับดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลก หลุมใหม่นี้อาจถูกถ่ายภาพได้โดยยาน Lunar Reconnaissance Orbiter ของ NASA หรือยานสำรวจดวงจันทร์ Chandrayaan 2 ของอินเดีย


เมื่อเปรียบเทียบกับโลก หากอุกกบาตลูกนี้พุ่งชนโลก มันจะถูกเผาไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศ แต่ด้วยดวงจันทร์มีชั้นบรรยากาศที่บางเบา จึงทำให้อุกาบาตขนาดเล็กๆ สามารถสร้างความเสียหายได้ ข้อมูลการบันทึกเหล่านี้มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสามารถเรียนรู้ผลกระทบที่มีต่อผิวดวงจันทร์ในอนาคตที่มนุษย์จะขึ้นไปตั้งถิ่นฐานบนนั้น

อุกกาบาต คือ หินอวกาศที่ตกลงมาสู่ผิวโลกหรือผิวดาวเคราะห์แล้ว ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) หรือสะเก็ดดาว พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที เกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆ ลุกไหม้เป็นแสงสว่างเรียกว่า ดาวตก (Meteor) จวบจนลงถึงพื้นแล้วจึงเรียก “อุกกาบาต”


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง – VDO จาก : space.com / Environman / WONDER WORLD




กำลังโหลดความคิดเห็น