xs
xsm
sm
md
lg

วช. ร่วมกับ สอศ. บ่มเพาะเยาวชนสายอาชีวะศึกษา เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่จังหวัดอุบลราชธานี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)จัดกิจกรรม“การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

วันนี้ (10 ม.ค.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)จัดกิจกรรม“การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovationประจำปี 2566ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”โดยดร.วิภารัตน์ดีอ่องผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นประธานเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พัฒนาคนพัฒนาอาชีวะ :เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิวช.และคณะผู้บริหารสอศ.ให้เกียรติเข้าร่วมงานเมื่อวันที่ 10มกราคม 2566โดยกิจกรรมจัดระหว่างวันที่ 10 - 12มกราคม 2566เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาสายอาชีวศึกษาให้เกิดแรงจูงใจในการคิดค้นผลงานประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อใช้ในประเทศณโรงแรมลายทองจังหวัดอุบลราชธานี

ดร.วิภารัตน์ดีอ่องผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวว่าวช.ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่เข้มแข็งของประเทศในการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้สู่การร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอาชีวศึกษาพ.ศ.2560 – 2579และแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560 – 2579ในการมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนด้วยการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศพร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพกำลังคนให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ โดยวช.และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ได้ร่วมวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรของสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลกสามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้การจะผลิตนักประดิษฐ์สายเทคนิคหรืออาชีวะให้เป็นนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพด้วยการบ่มเพาะให้ความรู้และเทคนิคแนวการคิดใช้ระยะเวลา 3วันโดยให้นักเรียนนักศึกษานำเอกสารเชิงแนวคิดหรือ Concept Paperมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมจะจัดในทุกภูมิภาคโดยจัดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่แรกภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ภาคกลางและภาคตะวันออกจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามลำดับต่อไป


ทั้งนี้รูปแบบในการจัดกิจกรรมบ่มเพาะในการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในหัวเรื่องการเปลี่ยนขยะให้เป็นสินค้าด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Creative Thinking for Creative Innovationเทคนิคการนำเสนอผลงานพร้อมกันนี้ได้มีกิจกรรมแบ่งกลุ่มการฝึกปฏิบัติตามกลุ่มเรื่องซึ่งได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมดังนี้ 1.ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 2.ด้านสาธารณสุขสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 3.ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ 4.ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและ BCG Economy Modelและ 5.ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติซึ่งท่านได้มาให้ความรู้ความเข้าใจการสร้างแรงบันดาลใจกับทีมนักศึกษาสายอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่จะเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนากำลังคนด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในอนาคตต่อไป


















กำลังโหลดความคิดเห็น