การก่อสร้างโดนใช้ “คอนกรีต” เป็นวัสดุก่อสร้างได้มีการใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีการบันทึกไว้ว่าได้มีการใช้มายาวนานนับพันปี เนื่องจากเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างที่มีราคาถูก สามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
แม้จะทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี แต่โครงสร้างคอนกรีตก็สามารถเกิดรอยร้าวได้ เนื่องมาจากการหดตัวของคอนกรีต หรือรอยร้าวอันเนื่องมากจากการรับน้ำหนักที่มากเกินไป เป็นต้นทำให้ความชื้น สิ่งสกปรก หรือไอออนต่างๆ สามารถซึมผ่านรอยร้าวของคอนกรีตเข้าไปได้ เมื่อถึงระดับของเหล็กเสริมจะทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิมทำให้โครงสร้างไม่สามารถต้านทานแรงกระทำที่ได้ออกแบบไว้ได้ อาจเป็นอันตรายต่ออาคารนั้นตามมา
ดังนั้นการซ่อมแซมรอยร้าวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ วิธีการซ่อมแซมรอยร้าวมีหลากหลายวิธีในปัจจุบัน เช่น การใช้ปูนฉาบ การใช้อะคริลิก การใช้โพลียูรีเทนหรือพียู แต่วิธีที่กล่าวมานั้น สามารถสร้างมลพิษและขยะได้เป็นอย่างมาก เพราะอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีต เป็นหนึ่งในหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษมากอันดับต้นๆ ให้กับสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา ม.ธรรมศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.ชนะชัย ทองโฉม จึงได้มีการทำการวิจัย ด้วยการวิจัยด้วยการร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญด้านเชื้อแบคทีเรียนำมาประยุกต์กับคอนกรีตในงานวิศวกรรมโยธา เพื่อสร้างวัสดุก่อสร้างในการซ่อมแซมคอนกรีตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำภายใต้หลักสูตรใหม่ที่ชื่อว่า “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ” (TSE) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยหลักสูตรใหม่ TSE ของทางคณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ในการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตนั้น ทางทีมวิจัยได้นำแบคทีเรียที่มีพบได้ในประเทศไทยมาใช้ คือ แบคทีเรียชนิด "Bacillus subtilis" ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ รวมทั้งไม่ก่อโรคในมนุษย์ เข้ามาช่วยในการซ่อมแซมรอยร้าวของปูนมอร์ตาร์ซึ่งแบคทีเรียที่นำมาศึกษาสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ เป็นการช่วยลดมลพิษและขยะอุตสาหกรรมการก่อสร้าง