xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทฯ เดนมาร์กเผย สิ่งมีชีวิตแรกของระบบสุริยะ เกิดขึ้นที่ “ดาวอังคาร” ไม่ใช่โลก จากอุกกาบาตที่ตกลงบนดาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ได้เผยผลการศึกษาหินอุกกาบาตที่มาจากดาวอังคารชี้ว่า ดาวเคราะห์สีแดงในยุคเริ่มก่อตัว 4,500 ล้านปีก่อน เต็มไปด้วยสารอินทรีย์และน้ำที่สามารถให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตแรกของระบบสุริยะได้ ในขณะที่เวลาเดียวกันโลกยังคงมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าได้วิเคราะห์หินอุกกาบาต 31 ก้อน รวมถึงอุกกาบาต NWA 7034 หรือ “ความงามสีดำ” (Black Beauty) ซึ่งถูกค้นพบที่ภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาด้วย ที่ตีพิมพ์รายละเอียดของงานวิจัยข้างต้นลงในวารสาร Science Advances ซึ่งหินอุกกาบาตที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นชิ้นส่วนของดาวอังคารในยุคโบราณ พื้นผิวของดาวกระเด็นหลุดออกสู่ห้วงอวกาศ หลังถูกดาวเคราะห์น้อยจากรอบนอกของระบบสุริยะพุ่งชน และได้ตกลงมายังพื้นโลกในที่สุด


ในการศึกษาได้มีการใช้ธาตุไอโซโทปของโครเมียมตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของหินอุกกาบาตดังกล่าว จนพบว่ามันคืออุกกาบาตจำพวก Carbonaceous chondrites ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของระบบสุริยะ และมีต้นกำเนิดมาจากแถบดาวเคราะห์น้อยอันไกลโพ้น ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า ดาวอังคารในยุคเริ่มก่อตัว 100 ล้านปีแรก ถูกกระหน่ำพุ่งชนด้วยอุกกาบาตชนิดดังกล่าวจำนวนมหาศาล ซึ่งอุกกาบาตนี้ได้นำพาสารอินทรีย์ที่สำคัญต่อการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตมายังดาวอังคารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นของการผลิตสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ

นอกจากนี้อุกกาบาตประเภท Carbonaceous chondrites ยังมีน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบอยู่ราว 10% เสมอ ทำให้ประมานการได้ว่าอุกกาบาตที่พุ่งชนดาวอังคารยุคโบราณ สามารถจะให้กำเนิดห้วงน้ำขนาดใหญ่ที่แผ่ปกคลุมพื้นผิวดาวทั้งหมด โดยมีความลึกถึง 307 เมตร มีการใช้ธาตุไอโซโทปของโครเมียมตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของหินอุกกาบาตดังกล่าว จนพบว่ามันคืออุกกาบาตจำพวก Carbonaceous chondrites ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของระบบสุริยะ และมีต้นกำเนิดมาจากแถบดาวเคราะห์น้อยอันไกลโพ้น

อุกกาบาต NWA 7034 หรือ “ความงามสีดำ” (Black Beauty)
ดาวอังคารในยุคเริ่มก่อตัว 100 ล้านปีแรก ถูกพุ่งชนด้วยอุกกาบาตชนิดดังกล่าวในจำนวนมหาศาล ซึ่งอุกกาบาตนี้ได้นำพาสารอินทรีย์ที่สำคัญต่อการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตมายังดาวอังคารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นของการผลิตสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ

นอกจากนี้อุกกาบาตประเภท Carbonaceous chondrites ยังมีน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบอยู่ราว 10% เสมอ ทำให้ประมานการได้ว่าอุกกาบาตที่พุ่งชนดาวอังคารยุคโบราณ สามารถจะให้กำเนิดห้วงน้ำขนาดใหญ่ที่แผ่ปกคลุมพื้นผิวดาวทั้งหมด โดยมีความลึกถึง 307 เมตร


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : Science Think/ BBC Thai / Science Advances


กำลังโหลดความคิดเห็น